ความคิดเห็นต่อเนื่องจากการไปพม่า


     คนไทยควรสนใจประเทศพม่ามากขึ้น

1.  ผมทำงานให้มูลนิธิฯ มีโอกาสรู้จักพม่ามากกว่า 10 ปี มีงานทำกับพม่าเรื่อง ทุนมนุษย์หลายเรื่อง

        2.  พม่าคราวนี้ Change จริง หลังจากรัฐบาลทหารครองมานานก็เริ่มเปิดประเทศอย่างเป็นรูปธรรมขึ้น

        3.  ครั้งนี้ผมเดินทางไปพุกาม ซึ่งต้องนั่งเครื่องบินไปย่างกุ้งและต่อไปอีก 1 ชั่วโมง เดินทางลำบากมาก

        4. แต่ถึงเมืองพุกามก็คุ้มค่าเป็นเมืองเก่าทางวัฒนธรรมและเต็มไปด้วยกลิ่นไอของศาสนาพุทธ มีเจดีย์เริ่มต้นกว่า 900 ปี เคยนับได้ 4,000  ปัจจุบันที่มีขึ้นทะเบียนแล้ว 2,400

        5.  ข้อแรกก็คือ มองจากมุมท่องเที่ยว คนไทยก็มี โอกาสควรจะมาดูและศึกษา ได้เห็นเปรียบเทียบไทยเมือ 50 ปี ที่แล้วเป็นอย่างนี้

        6.  คนไทยต้องใช้เวลาเดินทางไปเรียนรู้จากประเทศในกลุ่ม ASEAN ด้วยกันให้ถ่องแท้ รู้จริง

        7.  การขยายการท่องเที่ยวของพม่า แปลว่าประเทศไทยได้ เพราะนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาพม่าทางเครื่องบิน ขณะนี้เข้าให้ไทยเป็นทางผ่าน 62% แต่คู่แข่งในอนาคตคือ เวียดนาม ขณะนี้ผ่านเวียดนามมาถึง 22% และ

เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

        8.  พม่าต้องการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการท่องเที่ยวอย่างมาก รัฐบาลไทยและมูลนิธิเคยช่วยดูแลบ้างแล้ว แต่ยังไม่พอ

        9. ขณะนี้ทางกระทรวงการท่องเที่ยวของพม่าได้ขอให้มูลนิธิและผมส่ง

ทีมไปฝึกและสร้างทุนมนุษย์ให้แก่ทรัพยากรมนุษย์ในพม่าเรื่องการท่องเที่ยว ผมยังหาทรัพยากรไม่ได้ แต่ไปคราวนี้เขาขออีก คงต้องหาทางช่วยเขาแน่นอน ภูมิใจที่เป็นคนไทยแต่คนพม่าเห็นคุณค่าของการเรียนรู้

        10.  ปัจจุบันจำนวนนักท่องเที่ยวมาในพม่าทั้งหมดประมาณ 6 – 7 แสนคนเท่านั้น แต่อัตราเพิ่มประมาณปีนี้ 25% ซึ่งภายใน 5 ปี ก็คงจะขึ้นเป็น 1 ล้าน 5 แสนคนแน่นอน

        11.  นักธุรกิจไทยก็ต้องคิดที่จะมาทำการลงทุนร่วมกับพม่าอย่างจริงใจและระยะยาวอย่าหวังผลสั้นๆ ต้องรู้จักระบบของพม่าอย่างดี ผมคิดว่าผมคงจะช่วยได้

        มูลนิธิต้องทำเป็น Knowledge Center เรื่อง HR กับ Tourism + การเงินกับ Tourism การตลาดกับ Tourism การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกับ Tourism ในพม่าอย่างแท้จริง

        12.  ไปคราวนี้ทางผู้จัด Mekong Tourism Forum ให้เกียรติผมเป็น Speaker ด้วย ผมได้เน้นว่าพม่าเป็นผู้มาที่หลังได้ บทเรียนที่ดี จากความล้มเหลวของไทย เช่น การเสื่อมโทรมของทรัพยากรท่องเที่ยวในภูเก็ตหรือสมุย แต่ก็ต้องใช้ทฤษฎี 2R’s มาจับตาดูว่า

  • อะไรคือสิ่งที่การท่องเที่ยวพม่าเหมาะสมและมีจุดแข็ง

  • ใช้จุดแข็งและดูบทเรียน แต่ต้องให้ตรงประเด็น (Relevance)

  • Research (วิชาการ) และ Planning

  • Private /Public participation

  • ภาคประชาชนให้มีส่วนร่วม

        คืออย่า Top down แต่ Bottom up  ด้วยคือพบกันครึ่งทาง ซึ่งคงทำยากในช่วงแรกเพราะรัฐบาลมีการควบคุมมากไป

13. สุดท้าย ทางวิชาการ ไทยมีประสบการณ์มากกว่าในการผลิตบุคลากร ระดับอาชีวะและปริญญาตรี ซึ่งบางส่วนไทยต้องปรับปรุง

        แต่ ตัวแทนมหาวิทยาลัยในพม่าต้องการมาดูงาน Study Tour  ซึ่งเรื่องนี้ทางกระทรวงท่องเที่ยวพม่าได้ขอแล้วว่าจะส่งอาจารย์มหาวิทยาลัยของพม่ามาดูงานของมหาวิทยาลัยไทย ซึ่งก็จะได้ประโยชน์ทั้ง 2 ประเทศ เพราะพม่าเก่งกว่าไทยมาก เรื่องภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ไทยเก่งเรื่อง การตลาด สร้าง Brand และอาจจะช่วยร่วมมือกันได้แบบ Mutual Benefits

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 469672เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2011 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พม่าตอน 2

1.รูปชุดแรกที่ผู้อ่านเห็นผมยังอยู่ที่ย่างกุ้ง ไกด์พม่าพาไปดู ถนนนี้ติดกับแม่น้ำเห็นตึกเก่าๆ ที่อังกฤษได้สร้างไว้ในช่วงปกครอง ซึ่งในอนาคตถ้ามีการบูรณะขึ้นมาจะสวยงามมากและได้เรียนรู้พม่ามาก

2. ซึ่งก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้เห็นอดีตที่งดงามและเจ็บปวดพร้อมกันไป

3.  อังกฤษปกครองพม่าอยู่กว่า 100 ปี 1824 – 1948

4.  ผมถามคนพม่าว่ามีความเห็นอย่างไร

  • คนอายุเกิน 50 ปี ไม่ชอบอังกฤษ
  • คนรุ่นใหม่ ไม่สน สนแต่ IT , BB , ดารา กีฬาบ้าง
  • คงคล้ายๆ สังคมวัยรุ่นทั่วโลก ไม่คิดอดีต ซึ่งน่ากลัว จะเป็นสังคมแบ่งแยก มากกว่าสังคมบูรณาการ

 

พม่า ตอน 3

1. ช่วงอังกฤษปกครอง มีคุณประโยชน์ตรงที่ว่า กลุ่มชนต่างๆไม่รบกัน

2.หลัง 1948 ถือว่ามีสงครามกลางเมือง (Civil Wars) คือแต่ละเผ่าไม่ยอมกัน

3. ผมเองจะต้อง ศึกษาภูมิศาสตร์พม่ามากขึ้น เพราะบางส่วนติดจีน บางส่วนติดอินเดีย บางส่วนติดลาว และบางส่วนติดไทย

4 ผมและคณะที่มูลนิธิจะศึกษาชนกลุ่มต่างๆ และติดตามดูว่าหลังจากเปิดประเทศ ผ่อนคลายกฎระเบียบ อาจจะให้มีการเลือกตั้งเสรี ทหารกล้าแบ่งปันอำนาจให้อองซานจะแก้ชนกลุ่มน้อยอย่างไร?

5.  เนื่องจากเป็นผู้อยากรู้ อยากเห็น จึงถามคนพม่าตรงๆ หลายเรื่อง

  • ชอบอองซานไหม?
  • อนาคตจะเป็นอย่างไร?

6.  ก็มีคำตอบว่า

  • อองซาน ซูจี ต้องมีทีมงานที่หลากหลาย
  • มีกลุ่มเก่าและกลุ่มใหม่ช่วยงาน มองพม่า 2R’s

 

 

 

สวัสดีค่ะทุกท่านที่ติดตาม Blog ของ อ.จีระ

การเดินทางไปพม่าในครั้งนี้ ท่าน อ.จีระ ได้ ให้โอกาสดิฉันเดินทางไปเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการร่วมประชุมในครั้งนี้และยังได้ไปเรียนรู้ สังคมวัฒนธรรมของประเทศพม่าด้วย

โดยส่วนตัวแล้วดิฉันชอบศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ พม่าเป็นประเทศที่น่าสนใจเป็นอย่างมากเพราะนอกจากที่เรารู้กันดีว่าพม่าเป็นประเทศคู่สงครามในอดีตกลับไทยมายาวนาน และไทยเองก็เสียเอกราชให้พม่าถึง 2 ครั้ง ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่าศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม มีความคล้ายคลึง ผสมผสานกัน แต่สิ่งที่พม่าโดดเด่นคือเรื่องการนับถือศาสนาพุทธ ชาวพม่าไม่ว่าจะเชื้อชาติไหนสิ่งที่เหมือนกันคือเรื่องความศรัทธาอันแรงกล้าในคำสอนของพระพุทธเจ้า

ดิฉันเองได้เคยอ่านหนังสือพระราชประวัติของสมเด็จพระพระนเรศวรมหาราช ท่านซึมซับและฝึกฝนเรื่องการเป็นผู้นำผ่านศาสนาพุทธมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์เมื่อครั้งที่เป็นองค์ประกันอยู่ที่ประเทศพม่า โดยได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าบุเรงนองซึ่งตัวท่านเองก็มีความศรัทธาในพระศาสนาอย่างมาก นอกจากประวัติศาสตร์ ประเพณีปฏิบัติแล้วสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาอีกอย่างคือสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะเจดีย์

การเดินทางมาเยือนพม่าครั้งนี้เป็นครั้งแรกของดิฉัน นอกจากการตื่นตาตื่นใจกับสถานที่ สังคม ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพม่าแล้ว ดิฉันยังได้ประสบการณ์จากการเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ โครงการนี้จัดขึ้นในความร่วมมือระหว่าง Tourism and Hotel Ministry ประเทศพม่า Mekong Tourism และ Myanmar Tourism Broad เพื่อระดมความคิดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศพม่าให้ยั่งยืน

สิ่งแรกที่เรียนรู้คือรูปแบบการจัดงาน International ในระดับภูมิภาค เป็นการระดมสมองโดยใช้เครือข่ายจากผู้มีประสบการณ์

อีกเรื่องที่ได้เรียนรู้คือพม่าต้องเกิดการพัฒนาก่อนเกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยเฉพาะการพัฒนาคนให้เข้าใจว่าประเทศกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การพัฒนาระบบโครงสร้างต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกกับนักท่องเที่ยว

แต่อย่างไรก็ตาม ดิฉันคิดว่าประเทศพม่ากำลังเป็นขนมหวานที่ใครๆก็อยากเข้าไปลิ้มลอง ทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติ ทั้งเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพม่า ซึ่งตอนนี้ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนก็เข้าไปมีอิทธิพลในประเทศพม่าแล้ว การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในพม่าได้รับการช่วยเหลือจากประเทศจีนแต่แรงงานที่ทำนั้นเป็นแรงงานจีนทั้งสิ้น สิ่งที่น่ากลัวคือคนพม่ายังคงใช้ชีวิตแบบเดิม รายได้เท่าเดิม แต่ค่าครองชีพสูงขึ้น ประเทศยิ่งโตช่องว่างระหว่างชนชั้นก็จะเกิดมากขึ้น

แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ พม่าค่อยๆฉายแววแจ่มจรัลขึ้นในเวทีนานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ASEAN เพราะนอกจากพม่าได้รับโหวตเป็นประธานอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 27 พม่าที่ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในอีก 2 ปี

พม่า กำลังเติบโตเป็นสังคมประชาธิปไตย มีการผ่อนปนในเรื่องกฎระเบียบต่างๆเพื่อเตรียมการเปิดประเทศ ในปี 2558 พม่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ดิฉันก็คิดว่าพม่ายังคงมีอะไรที่น่าค้นหา น่าติดตามอีกมาก แต่สิ่งที่สำคัญคือถ้าพม่าก้าวขึ้นมาเมื่อไหร่ สมุทรสาครที่ว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลแช่แข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก คงต้องร้างเป็นแน่ เพราะแรงงานต่างด้าวที่ทำงานอยู่คงย้ายกลับถิ่นฐาน ไปสร้างรายได้เข้าประเทศแผ่นดินเกิดเป็นแน่

สุดท้ายนี้ต้องขอบพระคุณอาจารย์จีระ ที่ให้โอกาสในการเติมความรู้ เติมประสบการณ์ให้ชีวิต แต่ที่น่าเสียดายคือดิฉันไม่ได้ร่วมทริปบอลลูนชมทะเลเจดีย์ที่พุกามกับอาจารย์จีระ แต่ดิฉันบอกกลับตัวเองว่าจะต้องกลับไปพม่าอีกครั้งแต่ไม่ใช่เพื่อชมทะเลเจดีย์ที่พุกามอย่างเดียว แต่เพื่อดูว่าเมื่อพม่าเปลี่ยนแปลง จะเป็นแปลงอย่างไร ไปสู่ความยั่งยืนหรือไม่

จงกลกร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท