บทสัมภาษณ์ หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อปี 2516 ปี2554 ก็ยังเห็นด้วยกับท่าน


“คน ที่พูดอย่างนั้น ไม่รู้จักคำสอนของศาสนาพุทธ ความจริงศาสนาพุทธสอนให้คนประกอบการงานด้วยความสุจริตและความขยันขันแข็ง สอนให้ใช้จ่ายทรัพย์ด้วยความระมัดระวัง สอนมิให้เบียดเบียนประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ผู้อื่น สอนมิให้เห็นแก่ตัว เหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาทั้งสิ้น”

มีผู้ถาม หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชว่า “ปัจจุบัน มักมีคำกล่าวเป็นทำนองว่า คำสอนทางศาสนา เป็นอุปสรรคของการพัฒนาประเทศ พุทธศาสนิกชนมักเฉื่อยชา ขาดความกระตือรือร้น จริงหรือไม่?”

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ตอบว่า1

 

1. คึกฤทธิ์ ปราโมช สยามรัฐรายวัน 2 มกราคม 2516

 

“คน ที่พูดอย่างนั้น ไม่รู้จักคำสอนของศาสนาพุทธ ความจริงศาสนาพุทธสอนให้คนประกอบการงานด้วยความสุจริตและความขยันขันแข็ง สอนให้ใช้จ่ายทรัพย์ด้วยความระมัดระวัง สอนมิให้เบียดเบียนประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ผู้อื่น สอนมิให้เห็นแก่ตัว เหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาทั้งสิ้น”

 

“ถ้า อาจารย์ในมหาวิทยาลัยส่วนมาก สอนนิสิตนักศึกษาของเราไม่ให้เชื่อเรื่องเวรกรรม หรือเรื่องชาติหน้า ชาติก่อน เรื่องตายแล้วเกิด พ่อก็ไม่อยากให้ลูกหลานเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย เพราะถึงจะได้ความรู้ทางวิชาชีพมาก็ไม่คุ้มกับความสูญเสียทางจิตใจ อันเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของบุคคล ของสังคมและชาติ ความวุ่นวายในสังคมของเราในปัจจุบันไม่ได้มีสาเหตุมาจากความขาดแคลนวัตถุ แต่สาเหตุใหญ่มาจากความสูญเสียทางจิตใจ มาจากความเห็นแก่ตัวอย่างเหนียวแน่นของคนบางกลุ่ม บางพวกและมาจากการไม่ประพฤติธรรมให้สมควรแก่ฐานะและหน้าที่ของตนๆ ของแพงขึ้นอย่างพรวดพราดขึ้นอยู่ทุกเดือน ข้าวสารแพงอย่างที่ไม่น่าจะแพงก็เพราะคนเห็นแก่ตัวบางพวก บางกลุ่มฉวยโอกาสกอบโกย กักตุนและโดยวิธีอื่นๆ ไม่เห็นแก่ความทุกข์ยากเดือดร้อนของคนส่วนใหญ่ ถ้าทุกฝ่ายมีความสุจริต ประพฤติตามหลักธรรมของศาสนา เรื่องเดือดร้อนเหล่านี้ก็ไม่เกิดขึ้น ความเดือดร้อน วุ่นวายของสังคมเกิดขึ้นเพราะความโลภ ความโกรธ และความหลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางศาสนาสอนให้ละ แต่คนพยายามเพิ่มพูนมัน เพื่อแข่งขันกันในเรื่องลาภผล ในเรื่องความมัวเมา”

 

“ปัญหา ทางเศรษฐกิจจะแก้ไม่ได้เป็นอันขาด ถ้าเราไม่ตั้งต้นแก้ไขจากคนของเรา ถ้าเราไม่สร้างค่านิยมทางสังคมขึ้นใหม่ให้คนของเรามีทัศนะอันถูกต้องว่า อะไรคือเกียรติ? อะไรคือความสุข? ชีวิตอย่างไรคือชีวิตที่มีคุณค่า? จะต้องให้เขาเรียนรู้และเข้าใจอันถูกต้องว่า “Morality is simply the best way of living” รัฐนาวาของเราจะอับปาง ถ้าเรายังมีค่านิยมทางสังคมอยู่ว่า คนมีเกียรติคือคนฟุ้งเฟ้อหรูหรา ความสุขคือการสามารถตามใจตัวเองได้ทุกอย่างและค่าของชีวิตอยู่ที่การได้เสวย ความสุขทางอารมณ์อย่างเต็มที่ และเมาอยู่ในอารมณ์สุขนั้น เราต้องสร้างค่านิยมกันใหม่ว่า คนมีเกี

ยรติคือคนที่ทำ งานด้วยใจรัก และงานนั้นสุจริต ความสุขคือการได้ประกอบกรรมดี และชีวิตที่มีค่าคือชีวิตของผู้ได้ประโยชน์แก่ผู้อื่น ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม

ข้อความจากห้องสมุด เรือนธรรม

 

บทสัมภาษณ์ หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อปี 2516 (จากเวปไซท์ เรือนธรรม ) 2554 ก็ยังเห็นด้วยกับท่าน

โดย Kanakam Abhiradee เมื่อ 24 ตุลาคม 2011 เวลา 5:33 น.

หมายเลขบันทึก: 469403เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011 07:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยกับท่านมากๆ เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท