เมื่อจะทำ Lab เรื่อง กฎของโอห์ม


เมื่อจะทำอะไร ในที่นี้พวกเราเป็นครู ต้องบอกว่า เมื่อเราจะสอนเรื่องอะไร เราต้องรู้ก่อนว่าผู้เรียนต้องรู้อะไรก่อน

สวัสดีครับ อนาคตของเด็กๆ ทุกๆ คน

เชื่อว่าไม่น่าจะมีใครลืมไปแล้วว่า เมื่อวานอาจารย์สอนเรื่องอะไร...  มีนักวิทยาศาสตร์ด้านสมองชาวญี่ปุ่นศึกษาพบว่า วิธีช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ ช่วงเวลาตอนเช้าตรู่ของทุกวัน โดยให้ตื่นตอนเช้าตรู่ แล้วนั่งย้อนคิด สรุปประเด็นต่างๆ ที่ได้เรียนรู้ในวันเมื่อวานที่ผ่านมา....หลายคนคงสงสัยว่า เป็นเย็นวันนั้นไม่ดีกว่าเหรอ จะได้ยังไม่ลืม  นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ให้เหตุผลว่า ควรนอนให้สมองพักก่อน เพราะในช่วงที่นอนหลับ สมองจะจัดเรียงระบบต่างๆ ให้เข้าที่ จัดเก็บข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นระบบ....

แต่อาจารย์เห็นว่านักวิทยาศาสตร์คนนี้ มองข้ามเรื่อง "นามธรรม" ซึ่งน่าจะสำคัญกว่า ... กล่าวคือ อาจารย์คิดว่า ที่ผลการทดลองออกมาว่า การตรึกนึกถึงสิ่งที่ผ่านมาเมื่อวานในช่วงเช้า ทำให้การทำงานของสมองดีขึ้นนั้น น่าจะเกี่ยวข้องกับ ความสงบของใจ ความตั้งมั่นของใจ สมาธิ สติ ซึ่งเป็นเห็นให้เกิดปัญญาได้ง่าย...ใครจะลองนำวิธีนี้ไปใช้ ทดลองให้รู้กับตนเองว่าจริงไหม...แล้วอย่าลืมมาเล่าให้ฟังด้วยนะครับ

หากตั้งชื่อเรื่องให้ครอบคลุมทุกเรื่องย่อยๆ ที่อาจารย์สอนพวกเราเมื่อวานนี้ น่าจะใช้ชื่อว่า "เมื่อจะทำ Lab เรื่อง กฎของโอห์ม"

แก่นหรือหลักการที่โอห์มค้นพบที่จะสอนพวกเราคือ ความจริงที่ว่า เมื่อใดที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอุปกรณ์ใดๆ ความต่างศักย์ตกคร่อมอุปกรณ์นั้น (V) จะแปรผันตรงกับขนาดของกระแสไฟฟ้า (I) นั่นคือ จึงสามารถเขียนสมการได้เป็น V=RI เมื่อ R คือค่าคงที่ของการแปรผัน หรือถ้านำมาพล็อตกราฟระหว่าง V กับ I จะได้ค่าความชันของกราฟเป็น R

ถ้าจะเรียนเรื่องนี้กับครูที่สอนที่ดีที่สุดในโลก คลิกที่ http://academicearth.org/lectures/currents-resisitivity-and-ohms-law ครับ หรือจะเริ่มง่ายจาก http://www.youtube.com/watch?v=QwNSa_8ro_Y ก็ได้ครับ

การจะเข้าใจเรื่องกฎของโอห์มได้จริงๆ ต้องทดลองทำ Lab ด้วยตนเอง ปัญหาคือ ก่อนจะเรียนรู้จากการปฏิบัติแบบนั้น จะต้องมีความรู้พื้นฐานมีอะไรบ้าง ตั้งแต่สอนพวกเราในครั้งที่แล้ว และการสอนภาคทฤษฎีตอนเช้าวันนี้ อาจารย์ได้สอนสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ก่อนที่จะทำ Lab  เรื่องนี้แล้ว นั่นคือ 1) รู้เกี่ยวกับประจุไฟฟ้า 2) รู้เกี่ยวกับแรงทางไฟฟ้า 3) รู้เกี่ยวกับสนามไฟฟ้า 4) รู้เกี่ยวกับศักย์ไฟฟ้า และ 5) รู้เกี่ยวกับกระแสไฟฟ้า

นั่นคือเรียนให้รู้ปรากฎการณ์->ความหมาย->กำหนดนิยามให้รู้ตรงกัน ถึงตรงนี้แล้วพวกเราลองสรุปนิยามของคำต่อไปนี้ ในใจดูนะครับว่ารู้หรือยัง แรงคูลอมบ์ สนามไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า ความต่างศักย์ และกระแสไฟฟ้า เมื่อรู้แล้วก็มาลุยกันต่อครับ

ในภาคบ่าย อาจารย์เลือกให้พวกเราเรียน Lab เรื่อง "กฏของโอห์ม (Ohm's Law)" แทนที่จะเรียนเรื่อง ออสซิลโลสโคป (Oscilloscope) เหมือนกลุ่มเรียนอื่นๆ

ก่อนจะทำ Lab แน่นอนว่าเราต้องมีปัญหาหรือวัตถุประสงค์ของการทดลอง ซึ่งเมื่ออยู่ในชีวิตจริง พวกเราจะต้องเป็นคนตั้งขึ้นจากความสงสัยหรือคำถามของเราเอง นับเป็นขั้นตอนในการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุด แต่วันนี้อาจารย์เป็นคนกำหนดให้ว่า เราจะมาพิสูจน์กฎของโอห์มกัน.... น่าเสียดายสำหรับพวกเรา เพราะขั้นตอนที่สำคัญที่สุดนี้อาจารย์ทำไปแล้ว...ฮา

เมื่อมีปัญหาก็ต้องออกแบบการทดลอง น่าเสียดายสำหรับพวกเราอีกเหมือนกัน เพราะขั้นตอนการทดลองทุกอย่างถูกกำหนดมาให้แล้ว... สังเกตว่า เราไม่ได้ทำเองไป 2 ขั้นตอนแล้วนะครับ

ขั้นตอนที่เหลือคือ ลงมือปฏิบัติวัดดูตามที่เขากำหนดมา แล้วสรุปและตอบสมมติฐานว่ากฎของโอห์มเป็นจริงหรือไม่ จะวัดได้ก็ต้องรู้ว่าใช้เครื่องมืออะไรวัด และรู้วิธีการวัด อาจารย์จึงเริ่มพาพวกเราเรียนรู้เกี่ยวกับ มัลติมิเตอร์ โวลท์มิเตอร์ และ แอมป์มิเตอร์ จากนั้นก็พาพวกเราฝึกต่อวงจรไฟฟ้ากระแสตรง โดยมีรูปวงจรมาให้ ตรงนี้ต้องใช้สมองด้านขวาค่อนข้างเยอะ คือต้องจิตนาการสร้างภาพขึ้นในหัว ใครที่ยังไม่เคยฝึกทำมาก่อน ก็อย่าไปตกใจ ว่าทำไมไม่เข้าใจ ทำไมยาก ทำไมเราทำไม่ได้....   เพราะสิ่งนี้เป็นทักษะ การเรียนทักษะต้องใช้การฝึกฝน ไม่ใช่จำ.. ดังนั้นต้องขยัน

พวกเราใช้เวลาไปเต็มพิกัด 3 ชั่วโมง อาจารย์เชื่อว่าทุกกลุ่ม ทุกคนได้ลงมือปฏิบัติวัดปริมาณต่างๆ ด้วยตนเอง สิ่งนี้สำคัญมาก เพราะการเรียนจากการจำและคิดนั้น แตกต่างจากการเรียนจากการลงมือทำ....บอกให้ก็ได้ว่า ตอนสอบปลายภาค จะเป็นการสอน ปฏิบัติด้วยนะครับ

สุดท้ายนี้ ฝากคำถามไว้ให้พวกเราตอบมาในกระทู้นี้ว่า การเรียนเรื่อง Lab กฏของโอห์มวันนี้ พวกเราได้ฝึกทักษะอะไรบ้าง อธิบายด้วยว่าขั้นตอนใดหรือเมื่อใดที่เราได้ฝึกทักษะนั้น  ตรงนี้มีคะแนนเก็บให้คนละ 1 คะแนนสุกๆ ครับ ..... ความยากอยู่ตรงที่ว่า ไม่ให้ซ้ำกันครับ .... คนที่มาตอบทีหลังอาจจะยากหน่อยนะครับ

สู้ต่อไปครับ

อ.ต๋อย

หมายเลขบันทึก: 469096เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2011 04:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (49)

ต้องตอบคำถามอาจารย์ด้วยนะครับ สุนีรัตน์ ถึงจะบันทึกคะแนนให้

ต้องตอบคำถามอาจารย์ด้วยนะครับ สุนีรัตน์ ถึงจะบันทึกคะแนนให้

จากการเรียนเรื่อง Lab กฏของโอห์มเมื่อวานนี้ ทำให้เกิดทักษะการคิดเกี่ยวกับการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมต่างจากแบบขนาน

ซึ่งการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมจะมีการต่อความต้านทานเป็นสายเดียวกันไม่มีการแยกสายออกจากกัน จะมีกระแสไฟฟ้าเป็นค่าเดียวกัน ส่วนการต่อแบบขนานจะมีการต่อความต้านทานแยกออกจากกันจากตัวต้านทานตัวที่สองมาตัวที่หนึ่งและการต่อแบบขนานจะมีกระแสไฟฟ้าไม่เท่ากันค่ะ

จากการเรียนเรื่อง Lab กฏของโอห์มเมื่อวานนี้ ทักษะที่ได้ฝึกเห็นชัดเจนเลยคือ ทักษะการลงมือปฎิบัติจริง เพราะนอกจากการเรียนรู้ทฤษฎีจนเข้าใจแล้วเราจะต้องลงมือปฏิบัติจริงด้วยค่ะ ทำให้ได้รู้ว่าการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนานมีข้อเหมือนและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ที่สำคัญจะต้องต่ออย่างไรไม่ให้ผิดพลาดหรือถ้าหากผิดพลาดก็ให้น้อยที่สุดค่ะ

การเรียนเรื่อง Lab กฏของโอห์ม ทำให้ได้ทักษะในการต่อวงจรต้องใช้ความรอบคอบใรการต่อวงจร ทำให้รู้วิธีการอ่านค่าตัวต้านทานแบบแถบสีว่าต้องอ่านแบบไหนอย่างไร ควรเริ่มอ่านจากด้วนใดก่อน

การเรียนเรื่อง Lab กฏของโอห์ม ทำให้ได้ทักษะในการต่อวงจรต้องใช้ความรอบคอบในการต่อวงจรแต่ละวงจร ทำให้รู้วิธีการอ่านค่าตัวต้านทานแบบแถบสีว่าต้องอ่านแบบไหนอย่างไร ควรเริ่มอ่านจากด้านใดก่อน เพราะตัวต้านทานแต่ละตัวมีแถบสีแต่ต่างกันไป แล้วตัวต้านทานแต่ละตัวก็มีค่าต่างกัน

การเรียนเรื่อง Lab กฏของโอห์ม ทำให้ได้ทักษะในการต่อวงจรไฟฟ้าว่าเราควรมีความรอบคอบในการต่อวงจรแต่ละครั้ง และได้เรียนรู้ถึงวิธีการอ่านค่าของกระแสไฟฟ้า ความต้านทาน และฝึกให้เราเป็นคนรู้จักคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพราะการต่อวงจรเราควรจะคิดว่ดให้หากหลายวิธีเพื่อหาความต้านทานน้อยที่สุดเพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านไป และสอนให้รู้จักการอ่านค่าตัวต้านทานแต่ละแถบสีด้วยว่ามีค่าเท่าไร

การเรียนเรื่อง Lab กฎของโอห์ม ทำให้ได้ทักษะการใช้อุปกรณ์ต่างๆและเครื่องมือมัลติเตอร์ เพราะเครื่องมือมัลติมิเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดได้หลายค่า เช่นวัดความต้านทานไฟฟ้า วัดกระแสไฟฟ้า เป็นต้น จากที่เรามองว่าเครื่องมือมัลติเตอร์เป็นเครื่องมือที่แปลกใหม่ แต่เมื่อได้เรียนรู้ และฝึกทักษะการใช้ ก็เริ่มคุ้นเคยกับเครื่องมัลติมิเตอร์มากขึ้น จนสามารถใช้มัลติมิเตอร์วัดปริมาณพื้นฐานทางไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมโดยวัดค่าต่างๆ จากการต่อวงจรไฟฟ้า และทักษะการดูภาพวงจรไฟฟ้าจนประยุกต์ไปต่อเป็นวงจรไฟฟ้าจริง ซึ่งบางทีเราจะต้องดูสัญลักษณ์ทางไฟฟ้าให้เป็นก่อนที่จะไปดูแผนภาพวงจร

จากการเรียน Lab กฎของโอห์ม เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาได้รู้จักวิธีการต่อวงจรไฟฟ้าทั้งการต่อวงจรแบบอนุกรม และแบบขนาน อีกทั้งยังได้รู้การอ่านแถบสีของตัวต้านทานไฟฟ้า รู้จักการใช้อุปกรณ์ต่างๆและเครื่องมือมัลติเตอร์ ที่สำคัญคือได้ทักษะการลงมือปฏิบัติจริงก่อนลงมือปฏิบัติเราต้องอ่านวิธีการทดลองและศึกษาวัตถุประสงค์ของการทดลองให้เข้าใจก่อนเพื่อที่จะทำการทดลองได้อย่างตรงวัตถุประสงค์มากที่สุด

จากการเรียนเรื่อง Lab กฏของโอห์มที่ผ่านมา ได้รู้จักใช้เครื่องมือมัลติมิเตอร์เพื่อวัดปริมาณไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง รู้จักแถบสีต่างๆ และได้รู้จักวิธีการต่อวงจรไฟฟ้า และ ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าในวงจรไฟ้ไฟ้าได้ และสิ่งที่สำคัญคือการได้ลงมือปฏิบัติ ทั้งได้ความรู้และความสนุกตื่นเต้น คะ

จากการที่ได้เรียนLabเรื่อง กฎของโอห์ม ทำให้เราได้รู้ถึงวิธีการต่อวงจรไฟฟ้าทั้งแบบอนุกรมและแบบขนาน กระแสตรงกระแสสลับและได้รู้ถึงวิธีการใช้เครื่องมือมัลติเตอร์ในการวัดค่าต่างๆที่ถูกวิธี และสุดท้ายในขั้นตอนการบันทึกผลการทดลองและตอบคำถามยังทำให้เราได้รู้ถึงความสัมพันธ์ของแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า จากการทำการทดลองในครั้งนี้ถือว่าเราได้ความรู้ค่อนข้างที่จะเยอะพอสมควรเพราะเราได้มีการลงมือปฏิบัติจริงและความรู้ที่ได้เราก็สามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในวันข้างหน้าได้อีกด้วย

จากการที่เรียนแลป เรื่องกฎของโอห์ม ทำให้ได้รู้จักการใช้เครื่องมือมัลติมิเตอร์ ที่เป็นเครื่องมือ ที่ใช้วัดได้หลายค่า

เช่น วัดกระแสไฟฟ้า วัดความต้านทานไฟฟ้า เป็นต้น และสามารถใช้ได้ถูกวิธี และรู้ถึงวิธีการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม

และแบบขนาน มีการลงมือปฎิบัติจริง เพื่อให้เราเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง และ

ตรงตามวัตถุประสงค์อีกด้วย

ในการเรียน Lab เรื่อง กฎของโอห์ม เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ทำให้ได้ รู้จักการใช้เครื่องมัลติมิเตอร์ รู้จักใช้เคื่องมือนี้วัดปริมาณต่างๆ เช่น กระแสไฟฟ้า ความต้านทาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้รู้จัก โวลท์มิเตอร์ และเเอมป์มิเตอร์ อีกด้วย ซึ้งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความรู้ที่ความสำคัญที่จะใช้ในการต่อวงจรไฟฟ้าแบบต่างๆทั้งแบบอนุกรมและแบบขนาน

จากการเรียน Lab เรื่องกฎของโอห์ม

ก่อนอื่นหนูได้รู้ว่าที่แท้สิ่งที่เราเข้าใจเรายังไม่เข้าใจ รู้ก็เพราะว่าเราได้ลงมือปฏิบัติเราจึงได้รู้จุดบกพร่องที่เราขาดอยู่ ซึ่งจริงๆก็มีหลายจุดเช่นกัน เริ่มตั้งแต่ 1.การไม่เคยใช้และสัมผัสเครื่องมือจริงๆ เคยเรียนแต่แลบแห้ง ตอบคำถามตามที่เรียน(แบบนี้เหมือนว่าเรียนเฉยๆแต่ไม่รู้) 2.การที่ไม่มีพื้นฐานทางการต่อวงจรไฟฟ้า ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ที่เคยเรียนมาทราบแค่ว่า แบบนี้นะคือแบบอนุกรม แบบนี้นะคือแบบขนาน ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง แต่ก็ไม่รู้อะไรเลย (เรียนแบบนี้ก็เหมือนเรียนตามหนังสือเรียน เขาตีกรอบให้แค่นี้ ก็รู้แค่นี้ ไม่มีความต้องการที่จะรู้ หรือเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม)

แต่เมื่อได้ผ่านแลป เรื่องกฎของโอห์มครั้งนี้ ทราบได้เลยว่าเราไม่มีอะไรเลย ตอนเริ่มทำแรกๆมืดไปหมด เพื่อนๆทำได้หมดเรานั่งอึ้งเพราะดูวงจรก็ยังไม่ป็นต่อตามรูปยังไม่ได้ นั่งพินิจพิจารณาอยู่พักใหญ่ๆว่าอาจารย์บอกว่าเราต้องรู้จักตั้งคำถามเอง และหาคำตอบเอง เลยเริ่มปฏิบัติ โดยเริ่มตั้งคำถามกับคู่ของเราว่าเราจะเริ่มอย่างไร (เริ่มเกิดการเรียนรู้ ที่อยากจะรู้)และค่อยๆทำ ค่อยๆปรึกษากันแต่การใช้เครื่องมือก็ต้องอยู่ในกฎและระเบียบของมันไม่งั้นพังแน่ๆฮ่าๆๆ และจากนั้นก็ลองวัดค่าเริ่มทำได้แต่ยังไม่ค่อยมั่นใจ ถามคู่ตัวเองต่อช่วยกันทำและถามอาจารย์เพื่อนเป็นแนวทางในการทำบ้างในที่สุดจากที่ไม่รูอะไรเลย เราก็เริ่มมองภาพออก ว่าอ้อ!ถ้าเป็นแบบนี้เราต้องต่แบบนี้นะ ทำซำๆหลายๆวงจรเริ่มเกิดทักษะ นั่น!ใครว่าเรียนๆไปให้หมดชั่วโมงแต่เราตอนนี้เรียนไปให้ได้เพิ่มเติมต่างหาก แม้จะปวดหัวบ้าง เถียงกันกับเพื่อนบ้างแต่ทุกๆอย่างเราก็ได้เรียนรู้ไปด้วยกัน "ติเพื่อก่องัย"

โม้ไปยาวเลยสรุปว่าจากที่เรียนแลปเรื่องกฎของโอห์ม เพื่อนๆหลายๆคนอาจจะได้รู้เรื่องการต่อวงจร เรื่องการใช้อุปกรณ์ต่างๆกันไป แต่ใครจะรู้ว่าตอนนี้เราได้อะไรที่ลึกซึ้งมากกว่านั้น (อาจจะคิดไปเองคนเดียวก็ได้นะ)จ๋อมได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม การยอมรับฟังเหตุและผลของกันและกัน การร่วมกันคิดเรียนรู้การตัดสินใจในขณะที่ต้องรีบเร่ง (เวลาต่อผิดเครื่องจะดัง เราต้องรีบเปลี่ยนให้ไว)และสิ่งที่ได้เหมือนปูพื้นใหม่เลยคือ การอ่านวงจรไฟฟ้าให้เป็น และต่อให้ได้ อีกทั้งยังได้เทคนิกการต่ออีกด้วย

สุดท้ายและท้ายสุดสิ่งที่ได้จากวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้เรื่องวงจรไฟฟ้า กฎของโอห์ม อุปกรณ์ต่างๆ แต่สำหรับใครหลายๆคนอาจจะถึงขั้นชำนาญจนเกิดทักษะแล้ว แต่ถึงกระนั้นจ๋อมก็เชื่อว่าถ้าเราเริ่มและขยันทำมันบ่อยๆเราก็จะถึงจุดนั่นเอง จงดีใจเมื่อเราได้เริ่มถึงจะเริ่มแบบเล็กแต่นั้นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ก็เป็นได้ สู้ๆ

จากการเรียน Lab เรื่องกฎของโอห์ม

ทำให้ผมได้รู้อะไรต่างๆมากมาย

1.ความรู้ทางทฤษฎี ความต้านทานไฟฟ้าคือ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าของวัตถุ วัตถุที่มีึความต้านทานต่ำจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย ค่าความต้านทาานมีหน่วยเป็นโอห์ม การหา Rรวมของการต่อวงจรแบบอนุกรมคือ Rรวม=R1+R2+R3+...+Rn และการหา Rรวมของวงจรแบบขนาน คือ 1/Rรวม=1/R1+1/R2+1/R3+...+1/Rn กระแสไฟฟ้าคือ Iแรงดันไฟฟ้า คือ V

2.ความรู้จักการทดลอง ได้ฝึกทักษะการต่ิอวงจรแบบอนุกรมและแบบขนาน ซึ้งการต่อทั้งสองอย่างก็แตกต่างกันและการทำงานกลุ่มโดยกลุ่มของผมมี3คน ในการทำการทดลองจึงช้ากว่ากลุ่มอื่นเพื่อความเข้าใจกันอย่างทั่วถึง ในการทดลองก็ฝึกให้เรารู้จักฟังความเห็นของกันและกัน รู้จักทำงา่นเป็นทีม โดยการทำเช่นนี้ทำให้เราง่ายต่อการปรับตัวเข้ากับสังคมในอนาคตได้

3.ความรู้จากการทำแบบฝึกหัด คือหลังจากที่ได้ทำการทดลองเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ทำการบันทึกผลการทดลองและตอบคำถาม รู้จักวิธีการใช้สูตรและหาคำตอบ แต่อย่าลืมว่าการตอบคำถามมีการคำนวณเป็นส่วนใหญ่ก็ไม่ควรรีบทำจนเกินไป ควรตรวจสอบความถูกต้องให้ดีที่

4.ได้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ผู้เรียนกล้าที่จะถามในสิ่งที่เราไม่รู้จากอาจารย์ และเพื่อนๆ เป็นผลดีที่ทำให้เราสามารถทำข้อสอบผ่านได้

นายวิชาญยุทธ มะณี 53010510091

การเรียน Lab เรื่องกฎของโอห์ม ทำให้ได้รู้ว่าการลงมือปฎิบัติจริงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการเรียนรู้ วิธีการใช้มัลติมิเตอร์ที่ถูก ความสัมพันธ์กันตามกฎของโอห์ม การอ่านค่าของตัวต้านทาน มีสอบปฎิบัติด้วยซินะ แฮ่ๆๆๆ:-)

การเรียน Lab เกี่ยวกับกกฎของโอห์ม ทำไห้เรารู้เรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดกระแสไฟฟ้า และควาต่างศักย์ไฟฟ้า และการที่เราได้ลงือปฎิบัติด้วยต้นเองนั้น มันทำไห้เราได้ใช้ทักษะในการทำงานและฝึกความคิดเราในการต่อวงจรไฟฟ้าได้เรียนรู้เรื่องตัวต้านทานว่ามีหน้าที่อะไรและเวลาที่เราจะต่อวงจรไฟฟ้าในบ้านควรต่อแบบไหน สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ครับ

การเรียน Lab เกี่ยวกับกกฎของโอห์ม ทำไห้เรารู้วิธีการใช้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับอุปกรณ์ซึ่งก็คือมัลติมิเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่หลายอย่าง เป็นได้ทั้งแอมป์มิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ และได้รู้ว่าควรทำอย่างไรเมื่ออยากจะวัดกระแสไฟฟ้าหรือจะวัดความต้านทานไฟฟ้า ทำให้เราได้ใช้ความคิดและใช้ทักษะที่เคยเรียนมาตั้งแต่มัธยมในการต่อวงจร ซึ่งมีทั้งวงจรแบบอนุกรมและวงจรแบบขนาน ทั้งนี้ได้ทราบว่าเราอ่านค่าความต้านทานไฟฟ้าได้จากแถบสีและสามารถคำนวณค่าออกมาได้

สำหรับการเรียนเรื่องกฎของโอห์มในชั่วโมงแล็ป.....

ดิฉันคิดว่าเป็นการฝึกเราในด้านของการเผชิญหน้ากับสิ่งที่เป็นอยู่เพราะดิฉันเข้าใจว่าเมื่อเรามีอุปกรณ์ต่างๆอยู่ตรงหน้า

เอ๊!...แล้วมันคืออะไรเป็นอะไรบ้างล่ะ มีอาจารย์ที่ให้คำอธิบายในประเด็นต่างๆที่สงสัยแต่ทิ้งท้ายด้วยว่าเราจะต้องวิ่งหาในสิ่งที่อยากรู้

และเรียนรู้เหมือนคนแรกที่ทำ....แบบนี้ก็เท่ากับว่าเราจะต้องขี้สงสัยไปในทุกเรื่อง ลองผิดลองถูก และอย่าพึ่งถามคำตอบที่ถูกต้องจากอาจารย์จนกว่าจะได้ลองทำซะก่อน...พร้อมทั้งมีรูปในการต่อวงจรแบบต่างๆมาให้แต่เราต้องต่อกับของจริงให้ได้และอ่านค่ามันออกมา.....ซึงในรายวิชานั้นต้องต่อทั้งแบบอนุกรมและขนาน...และเพื่อเราจะหาค่าแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในตัวต้านทานแต่ล่ะตัวออกมาเราก็จะต้องต่อแบบคร่อม....(ตอนแรกถึงกับคิดหนัก ไปบ่เป็นค่ะอาจารย์ ฮ่าๆๆ)

ส่ิงที่เราเผชิญหน้าครั้งแรกนั้นมันดูเหนื่อยไปไม่เป็นแต่ล่ะอย่างไม่เคยทำไม่เคยรู้จัก....แต่พอเริ่มเผชิญหน้ากับมันมากขึ้นลองจับดู

ต่อแบบผิดๆๆก็มี ต่อวงจรต่อหน้าอาจารย์(ตื่นเต้นจัง)แต่ดันต่อผิดก็มี (ขายหน้าไหมล่ะทีนี้ ฮ่าๆ) ซึ่งจะเห็นได้ว่าพอเผชิญหน้ากับมันเรื่อยๆมันชักจะชินชาเริ่มปฎิบัติได้จากที่ไม่มีคำถามสงสัยอะไรมากมายเพราะยังไม่รู้เรื่องมาก่อน คำถามก็ค่อยๆมากขึ้นอยากรู้อยากเห็นไปหมด...อยากจะหาคำตอบ อยากถามอาจารย์ให้มันรู้ อย่างเช่นที่ดิฉันและได้เขียนในใบปฏิบัติการว่าเป็นความผิดพลาดของเครื่องมัลติมิเตอร์ ในการต่อแบบขนานในการหาค่าแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าของตัวต้านทานสองตัว R1และR2 ซึ่ง

จะต้องได้ค่าVที่เท่ากันทั้งR1และR2 ส่วนIจะต่างกัน เมื่อปฏิบัติแล้วมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นค่ากระแสไฟฟ้ากลับได้ไม่เท่ากัน

ก็มาดูว่าต่อถูกไหม ลองแล้วลองเล่า ลองต่อใหม่ ลองสลับขั้วดู หาข้อผิดพลาด ลองถามเพื่อนดูว่าเป็นเหมือนกันไหม ซึ่งกลุ่มข้างๆก็เป็นเหมือนกันได้ค่ากระแสไฟฟ้าที่ไม่เท่ากันแต่ด้วยการทดลองที่หลายครั้งแล้วจึงมั่นใจว่าน่าจะถูกแล้วจึงเขียนข้อมูลตามความเป็นจริง...สรุปแล้วซึ่งก็ถือว่าทำให้ได้เรียนรู้ในการเผชิญกับสิ่งที่มีอยู่ กับสภาพความเป็นจริง

ซึ่งดิฉันคิดว่าทุกอย่างหากเรานำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันมันจะดีมากๆวิ่งเข้าหาสิ่งที่เป็นอยู่ ไขว่คว้าในสิ่งที่ยังต้องการ

แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และสรุปความเป็นไปของมันตามความเป็นจริงของชีวิต..........

การเรียน Lab เรื่องกฎของโอห์ม ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากได้ลงมือปฎิบัติจริง ทำให่เกิดทักษะและกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังได้ศึกษอุปกรณ์ที่เกีี่ยวข้องกับการต่อวงจรไฟฟ้าเช่น มัลติมิเตอร์ที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยเห็นและสัมผัสมาก่อนแต่หลังจากได้เรียนแลปไปแล้วก็ทำให้รู้จักหน้าที่ของอุปกรณ์ในการต่อวงจรไฟฟ้าและฝึกต่อวงจรไฟฟ้าและมีทักษะกระบวนการในการคิดเพิ่มขึ้นรวมทั้งสามารถนำความรู้จากที่ได้จากเรียนและการได้ปฎิบัติจริงนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต

จากการเรียน Lab ที่ได้เรียนผ่านมาเมื่อวานนี้นะครับ ได้ความรู้เยอะแยะเลยไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกันกับคนอื่น การรู้จักคิดวิเคราะห์ การทดลองเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า และยังได้ลงมือปฏิบัติเองด้วย ซึ่งการเรียนที่ดีนั้นในความคิดของผม ผมคิดว่าต้องลงมือทำเอง ปฏิบัติด้วยตนเอง ถึงจะได้ความรู้และวิธีการคิดที่เข้าใจด้วยตนเอง แต่การเรียนทฤษฎีก็สำคัญเช่นกัน หากถามว่าอันไหนดีกว่ากัน ผมว่าน่าจะทั้งสองนั่นแหละครับ ก็ต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน โดยเรียนทฤษฎีก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติ จึงจะเกิดผลที่ดีที่สุด โดยให้นักเรียนศึกษาตั้งคำถามด้วยตนเองแล้วหาเหตุผล และอภิปรายอย่างมีเหตุผล จึงจะเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องและเข้าใจมากกว่าการจะมารับจากคนอื่น จากการทำ Lab อาทิตย์นี้ ได้ความรู้ในเรื่องการต่อวงจรไฟฟ้า เคื่องมือในการวัดไฟฟ้าประเภทต่างๆ การอ่านค่า การคำนวณ กฎของโอห์ม รวมถึงการลงมือปฏิบัติ การซักถามอาจารย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากอาจารย์และเพื่อนๆ เพราะฟิสิกส์ แปลว่า ธรรมชาตินั่นคือเราไม่สามารถที่จะฝืนธรรมชาติได้ แต่ต้องรู้จักที่จะเรียนรู้เพื่อที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์ อันนี้ในความคิดผมนะครับ สุดท้ายนี้การเรียนนี้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตข้างหน้า และสามารถไปสอนคนอื่นเมื่อเรามีอาชีพเป็นครูต่อไป

นายปิยะพงษ์ โสเสมอ

53010510057

จากการทำ Lab เรื่องกฎของโอห์ม ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า สามารถต่อวงจรไฟฟ้าได้ แยกความต่างของการต่อแต่ละแบบทั้งแบบอนุกรมและแบบขนานได้ ฝึกการดูภาพแล้วต่อเป็นวงจรนั้นให้ถูกต้อง รู้วิธีการอ่านค่าความต้านทานจากแถบสีของความต้านทาน ได้ใช้เครื่องมัลติมิเตอร์ในการวัดความต่างศักย์ วัดกระแสไฟฟ้า ถึงแม้ว่าในการต่อวงจรอาจจะต่อผิดหลายครั้งแต่ก็เป็นการฝึกทักษะไปเรื่อยๆ

ในการเรียน Lab เรื่องกฎของโอห์ม ทำให้เราได้รู้ว่าก่อนที่จะมีกฎอะไรขึ้นมาต้องมีการทดลองซ้ำไม่รู้ตั้งกี่ครั้ง ขนาดเราลงมือทดลองเองโดยมีอาจารย์เป็นผู้ดูแลเรายังต้องถามอาจารย์ไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ แต่มันก็มีผลดีกับเรา การได้ลงมือทำเอง ทดลองเองมันจะช่วยให้เราจดจำได้ดีกว่าการได้เรียนแค่ทฤษฎีไม่เห็นภาพจริง ในการเรียนวันนั้นเราได้ทดลองต่อวงจรไฟฟ้าทั้งแบบอนุกรมและแบบขนาน จากการทดลองทำให้เราได้ทราบว่า การต่อวงจรทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกัน ถ้าเราต่อแบบอนุกรมกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทานจะเท่ากันเสมอ แต่ความต่างศักย์ของตัวต้านทานแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน ส่วนการต่อแบบขนานกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทานจะมีค่าไม่เท่ากัน แต่ความต่างศักย์ของตัวต้านทานจะเท่ากันทุกตัว และเราก็ใช้กฎของโอห์มในการหาค่าต่างๆที่เราต้องการ ซึ่งมีความสำคัญมาก หากเราไม่รู้ว่ากฎของโอห์มคืออะไรเราก็จะไม่ได้คำตอบที่เราต้องการ เรารู้แล้วว่ากฎของโอห์มคือ R=V/I

โดยกระแสไฟฟ้า(I)จะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับแรงดันไฟฟ้า(V)ที่ตกคร่อมค่าความต้านทานในวงจรนั้น และเรายังได้รู้จักวิธีใช้มัลติมิเตอร์วัดปริมาณพื้นฐานทางไฟฟ้าอีกด้วย

จากการทำLabเรื่องกฎของโอห์ม ก่อนที่จะทำหนูไม่มีความรู้อะไรในเรื่องนี้เลย ไม่รู้ว่าเครื่องมือแต่ละอันมันใช้ยังไงใช้ทำอะไรได้บ้าง เรื่องการต่อไฟฟ้ายิ่งไปกันใหญ่ไม่รู้ว่าต่อยังไง แต่ได้ลงมือปฎิบัติแล้วก็ทำไห้หนูได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างไม่ว่าจะการใช้เครื่องมือหรือการต่อไฟฟ้า การได้ลงมือปฎิบัติเองทำไห้เราได้ฝึกทักษะความคิดในการที่จะต่อไฟฟ้าไห้ได้ตามรูป สรุปแล้วสนุกดีคะ ได้ความรู้ต่างๆมากมาย ได้ทำงานเป็นกลุ่มด้วยคะ

ในการเรียน Lab เรื่องกฎของโอห์ม ทำให้เราได้รู้ว่าก่อนที่จะมีกฎอะไรขึ้นมาต้องมีการทดลองซ้ำไม่รู้ตั้งกี่ครั้ง ขนาดเราลงมือทดลองเองโดยมีอาจารย์เป็นผู้ดูแลเรายังต้องถามอาจารย์ไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ แต่มันก็มีผลดีกับเรา การได้ลงมือทำเอง ทดลองเองมันจะช่วยให้เราจดจำได้ดีกว่าการได้เรียนแค่ทฤษฎีไม่เห็นภาพจริง ในการเรียนวันนั้นเราได้ทดลองต่อวงจรไฟฟ้าทั้งแบบอนุกรมและแบบขนาน จากการทดลองทำให้เราได้ทราบว่า การต่อวงจรทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกัน ถ้าเราต่อแบบอนุกรมกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทานจะเท่ากันเสมอ แต่ความต่างศักย์ของตัวต้านทานแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน ส่วนการต่อแบบขนานกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทานจะมีค่าไม่เท่ากัน แต่ความต่างศักย์ของตัวต้านทานจะเท่ากันทุกตัว และเราก็ใช้กฎของโอห์มในการหาค่าต่างๆที่เราต้องการ ซึ่งมีความสำคัญมาก หากเราไม่รู้ว่ากฎของโอห์มคืออะไรเราก็จะไม่ได้คำตอบที่เราต้องการ เรารู้แล้วว่ากฎของโอห์มคือ R=V/I

โดยกระแสไฟฟ้า(I)จะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับแรงดันไฟฟ้า(V)ที่ตกคร่อมค่าความต้านทานในวงจรนั้น และเรายังได้รู้จักวิธีใช้มัลติมิเตอร์วัดปริมาณพื้นฐานทางไฟฟ้าอีกด้วย

จาก...การทำ Lab เรื่องกฎของโอห์ม ทำให้ได้ฝึกทักษะหลายๆด้าน คือ

1.ทักษะการเรียนรู้ภาคทฤษฎีฝึกความเข้าใจก่อนลงมือทำ เช่น การรู้จักคุณสมบัติของวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน รู้จักตัวต้านทานไฟฟ้า รู้จักวิธีการใช้มัลติมิเตอร์ได้อย่างถูกต้อง

2.ทักษะการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ เช่น การต่อวงจรไฟฟ้าทั้งแบบอนุกรมและแบบขนานซึ่งขั้นตอนการต่อวงจรไฟฟ้าต้องต่อให้ถูกขั้ว บวก ลบโดยใช้สายต่อวงมีทั้งสั้นยาวไม่เท่ากันต้องเลือกให้เหมาะสม ต่อตามภาพการต่อวงจรไฟฟ้า แล้วใช้มัลติมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าและหาค่าV=IR พร้อมหาเปอร์เซ็นความคลาดเคลื่อนด้วย

3.ทักษะการทำงานเป็นทีม เช่นขั้นตอนการต่อวรจร ช่ายเหลือกันเวลาทำงาน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เข้าใจก็อธิบายช่วยเหลือกันจนเข้าใจ จึงจะถือได้ว่าประสบความสำเร็จทั้งทีม

4.ทักษะการช่วยเหลือกัน เช่น ถ้าเพื่อนกลุ่มอื่นไม่เข้าใจก็ปฎิบัติพร้อมับอธิบายให้เพื่อนฟังจนเข้าใจเช่นขั้นตอนการต่อวงจรแบบขนานเป็นต้น

5.ฝึกทักษะความกล้าแสดงก่อน เช่น ไม่ให้เพื่อนทำคนเดียวโดยที่ไม่ช่วยอะไรเลย เพราะกลัวต่อผิด หรือกล้าที่จะถามอาจารย์โดยไม่เขินอายที่ไม่เข้าใจวิธีการต่อ เช่นการต่อคล่อม R1เป็นต้น

สรุป

สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงตามกฎของโอห์มโดยมีการพล๊อตกราฟแสดงความสัมพันธ์ด้วย สามารถต่อวงจรไฟฟ้า วัดค่ากระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงได้ สามารถอ่านค่าตัวต้านทานจากแถบสีได้ สามารถใช้มัลติมิเตอร์ได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว

อาจารย์ค่ะ กดติดตามให้ด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

จากการทำ Labเรื่องกฎของโอห์ม ทักษะที่ได้ในเรื่องการเรียนจากเนื้อหาและการปฏิบัติก็คงไม่ได้ต่างอะไรจากเพื่อนมากนัก เพราะทำการทดลองอันเดียวกัน ใช้อุปกรณ์แบบเดียวกัน แต่ถ้าจะให้เขียนทักษะที่ไม่ซ้ำกัน ในแบบของตัวเองล่ะก็ ผมคิดว่าที่แน่ๆๆ ไม่ว่าจะเป็นLabไหนๆ ทักษะที่ผมคิดว่าได้มันมาอย่างมาก ก็คือ ทักษะชีวิต

(((((( องค์ประกอบของทักษะชีวิต

1. ทักษะการตัดสินใจ

2. ทักษะการแก้ปัญหา

3. ทักษะการคิดสร้างสรรค์

4. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

5. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

6. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

7. ทักษะการตระหนักรู้ในตน

8. ทักษะการเข้าใจผู้อื่น

9. ทักษะการจัดการกับอารมณ์

10.ทักษะการจัดการกับความเครียด )))))

________ สำหรับแล็บนี้ทักษะที่ได้อย่างเด่นๆๆ จากทักษะชิวิตทั้ง10 ทักษะคือ ทักษะที่ 1 2 และ ทักษะที่ 3

-ได้ทราบว่ามัลติมิเตอร์เป็นเครื่องมือที่วัดได้หลายอย่าง เช่น กระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ เป็นต้น

-ได้ลงมือปฎิบัติจริง ซึ่งไม่เคยต่อวงจรมาก่อน ทั้งแบบอนุกรมและแบบขนาน

สมัยมัธยมดิฉันก็เคยเรียนเรื่องกฏของโอห์มมาบ้างแล้ว แต่ไม่เคยได้ลองต่อวงจรไฟฟ้า

เมื่อมาทำlab เรื่องนี้แล้ว ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องการต่อวงจรไฟฟ้า ได้ต่อวงจรเอง ทำให้สามารถเข้าใจระหว่างวงจรแบบอนุกรมและแบบขนาน และยังสามารถแยกความแตกต่างระหว่างวงจรทั้งสองได้ ซึ่งก็น่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้ค่ะ

จากการเรียน Lab Physics ในการทดลองเรื่องกฎของโอห์ม ทำให้ได้รู้ว่า การจะลงมือปฏิบัติการเรื่อง กฎของโอห์มได้นั้น ก่อนอื่นเราจะต้องทำความเข้าใจในแผนภาพและวิธีการต่อให้เข้าใจและสามารถมองภาพออก จึงจะทำได้ ถ้าหากว่าเราต่อไปตามภาพโดยที่ไม่ทำความเข้าใจเสียก่อน จะทำให้เกิดความผิดพลาดในการต่อ ทำให้เราไม่สามารถทำการทดลองได้และไม่สามารถสรุปผลการทดลองได้ด้วย

ในการทดลองครั้งนี้ เราจะต้องเรียนรู้และเข้าใจด้วยตนเอง ซึ่งมีอาจารย์คอยดูแลและให้คำแนะนำ แต่เราจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติซึ่งแล็บนี้ก็มีความยากพอสมควร จึงจำเป็นต้องอาศัยความพยายามอย่างมากที่จะทำแล็บนี้ให้เสร็จสมบูรณ์ได้ แต่ในการปฏิบัตินี้เราไม่ได้ทำเพียงคนเดียว เพราะเป็นการทำแล็บคู่ซึ่งบางครั้งก็อาจจะเข้าใจไม่ตรงกัน คนหนึ่งคิดว่าต้องต่อแบบนี้ แต่อีกคนคิดว่าน่าจะต่อแบบนี้ เราก็ต้องเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจกันใหม่เพื่อให้เข้าใจตรงกันทั้งสองคน จึงทำให้รู้ว่านอกจากจะพยายามเข้าใจในสิ่งที่ทำแล้ว เราก็ต้องพยายามอธิบายให้เพื่อนเข้าใจกับเราด้วย และเราก็ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนและพยายามทำความเข้าใจกับเพื่อนด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้การทำปฏิบัติการเรื่อง กฎของโอหม์วันนี้ ทำให้รัชดาพรได้รู้ว่าการต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนานและแบบอนุกรมต่ออย่างไร และมีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เราจะทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างไรให้ได้ผลอย่างถูกต้องและดีที่สุด

**รัชดาพร เป็นคนที่เข้าใจอะไรยากมากค่ะ โดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์ (คนเราก็ต้องมีสิ่งที่ได้และไม่ได้) บางครั้งก็เหมือนว่าเราจะเข้าใจในสิ่งนั้นดี แต่บางครั้งก็เหมือนว่าสิ่งที่เราเข้าใจนั้นไม่ถูกต้องหรือเราเข้าใจผิดนั่นเอง หรือบางครั้งก็รู้และเข้าใจแต่ไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ แต่ทุกครั้งที่เรียนฟิสิกส์ก็ทำให้รู้ว่าเราควรพยายามเข้าใจให้มากที่สุด และบอกตัวเองอยู่เสมอว่าเราเองก็ทำได้

จากที่ได้เรียน Lab Physics เรื่องกฏของโอมห์ นั้น ทักษะที่ได้ฝึกคือ ทักษะในเรื่องของการคิด พิจารณาและการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งแลปนี้มีการต่อวงจรไฟฟ้า ซึ่งเราก็ต้องคิดพิจารณาก่อนว่าเราต้องต่อวงจรแบบไหนถึงจะทำให้วงจรไฟฟ้านั้นสมบูรณ์เพื่อทำให้ผลการทดลองของเราถูกต้องที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าการต่อวงจรไฟฟ้านั้นเป็นเรื่องที่ยากมาสำหรับมือใหม่อย่างดิฉัน เพราะเท่าที่เคยเรียนมาก็มีแต่ดูในหนังสือไม่เคยปฏิบัติจริง ทำให้มองภาพวงจรเป็นสามมิติไม่ค่อยได้ จึงต้องอาศัยการลองผิดลองถูก หรือมีการสอบถามจากเพื่อนบ้าง ให้เพื่อนที่เข้าใจอธิบายให้ฟังแล้วนำมาลงมือปฏิบัติบ้าง แต่สุดท้ายแล้วดิฉันก็สามารถต่อวงจรไฟฟ้าได้ แต่ก็ไม่ถึงกับเชี่ยวชาญค่ะ

**ขณะทำแลปอยู่นั้นดิฉันถามเพื่อนว่าเธอต่อวงจรเป็นไหม เพื่อนก็บอกว่าไม่แน่ใจแต่ลองดูก่อน ถ้าโวลมิเตอร์มีเสียงแสดงว่ามันไม่ถูกแต่ถ้าไม่มีเสียงแสดงว่ามันถูก พอทดลองไปปรากฏว่าโวลมิเตอร์มีเสียงดังขึ้น เพื่อนก็ว่าเดี่ยวลองต่อแบบอื่นดู ถ้าทำไม่ได้จริงๆแล้วค่อยไปถามเพื่อนหรือไม่งั้นก็ไปถามอาจารย์**

--->>ชีวิตต้องมีการลองผิดลองถูกด้วยตนเองเสียก่อน ก่อนที่จะไปขอร้องให้คนอื่นช่วย เพราะถ้าเราไม่ลองเองเราจะรูได้อย่างไรว่าความสำเร็จนั้นมันยิ่งใหญ่แค่ไหน แต่เมื่อเราพยายามจนถึงที่สุดแล้วแต่ยังทำมันไม่ได้เราก็จำเป็นต้องขอร้องให้คนอื่น"แนะนำ"

.................................จริยา เมตตา GS...........................................

จากการเรียน lab เรื่องกฎของโอห์ม ได้ฝึกทักษะต่างๆดังนี้

1 ทักษะการสังเกต ได้ฝึกสังเกตการทดลองโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างใดอย่างหนึ่งตัวอย่างเช่น ตา สังเกตดูการเปลี่ยนแปลงของมัลติมิเตอร์ในขณะต่อวงจร (ในการทดลองแต่ละการทดลองอาจใช้ประสาทสัมผัสมากกว่า 1 อย่าง)

2 ทักษะการทดลอง ในระหว่างที่ทำการทดลองก็มีการลองผิดลองถูกในการต่อวงจร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ และเพื่อทดสอบสมมติฐานที่อาจารย์ตั้งไว้

3 ทักษะการวัด ในระหว่างทำการทดลองก็ได้ฝึกใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า(มัลติมิเตอร์)เพื่อหาความต้านทานไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ทำให้สามารถใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับสิ่งที่จะวัดได้ และสามารถอ่านค่าที่ได้จากการวัดได้ถูกต้อง รวดเร็ว และใกล้เคียงกับความเป็นจริง เพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ผู้วัดจะต้องมีความรอบคอบ ระมัดระวังในการใช้เครื่องมือ

4 ทักษะการคำนาณหรือการใช้ตัวเลข หลังจากทำการทดลองและบันทึกข้อมูลเสร็จแล้ว ก็ได้ฝึกทักษะการคำนวณ โดยนำค่าที่ได้จากการทดลองมาคำนวณหาค่าต่างๆ ที่โจทย์ต้องการให้หา

นอกจากทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมา หนูยังได้ฝึกทักษะชีวิตไปด้วย เพราะทักษะชีวิตเป็นทักษะพื้นฐานที่บุคคลจำเป็นต้องมี เพื่อใช้ในการเลือกหนทางในการดำเนินชีวิตในสังคม

สุพัตรา

อาจารย์คะ มากดติดตาม สุพัตรา ด้วยนะคะ

Lab กฏของโอห์ม ทำให้สมองซีกซ้ายต้องสามัคคีกับสมองซีกขวา :)

เยค่ยทากครับ Pu อาจารย์ชอบการนำเสนอในสไตล์ของเรา...

ขอบคุณนะคะ..จะพยายามทำแบบที่อาจารย์บอก "ใช้สมองซีกขวาจินตนาการ เชื่อมโยง จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ " (คงต้องใช้ความพยายามมากกว่าชาวเมืองเค้าประมาณสิบเท่า:)

จากการทดลอง ในเรื่องกฎของโอห์ม ทำให้ได้ประสบการณ์หลายอย่าง ให้รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักเครื่องมือวัด หรือมัลติมิเตอร์ การต่อวงจร การวาดวงจร และการอ่าค่าตัวต้านทาน ค่ะ

สุธามาศ โพธิยา GS

จากการเรียนเรื่อง กฎของโอห์ม มีดังนี้

ได้ความรู้เกี่ยวกับการต่อวงจรไฟฟ้าค่ะ ในชีวิตนี้ไม่เคยต่อวงจรเองเลยค่ะ ครั้งนี้เป้นครั้งแรก รู้สึกดี และประทับใจตัวเองมากเลย ว่าเราทำได้ยังไงเนี้ย แค่ดูภาพแล้วก็ต่อ อืม!! แล้วก็ถูกด้วย แสดงว่าเราก็มีดีเหมือนกันนะเนี้ย อิอิ ชมตัวเองนะค่ะอาจารย์ ได้ใช้สมองในทุกๆด้านจิงๆค่ะ ตอนแรกก็งงนิดๆ แต่พอได้ลงมือทำ สนุกดี และได้ความรู้มากมายด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น รู้จักเครื่องมัลติมิเตอร์ รู้หน่วยวัด mA มิลลิแอมป์ โวลล์ ไฟฟ้ากระแสตรง ไฟฟ้ากระแสสลับ ท้าทายความสามารถดีค่ะ แต่ก็ยังมีไม่เข้าใจอยู่บ้าง แต่มาคิดว่าจงเชื่อมั่น และพยายามทำความเข้าใจให้ได้มากที่สุด ค่อยๆเรียนรู้ ลำดับการจัดวงจร เชื่อว่าถ้าเราขยันมากขึ้นอย่างที่อาจารย์ว่ารับรองค่ะว่าเราต้องทำได้แน่นอนค่ะ...

น.ส.กุสุมา ชารัมย์ 52010510090 GS ค่ะ

จากที่ได้เรียน แลป ฟิสิกส์เรื่อง กฎของโอห์มแล้ว ได้เข้าใจถึงวิธีการใช้อุปกรณ์ในการวัดปริมาณไฟฟ้า นั่นคือ มัลติมิเตอร์ และได้ทดลองต่อวงจรไฟ้าทั้งแบบขนานและแบบอนุกรม จากภาพ ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน ได้ฝึกทักษะในการคิดวิเคราะห์ จากภาพวงจรแล้วต่อวงจรไฟฟ้า ว่าจะต่ออะไรก่อนอะไรหลังและควรตั้งค่ามัลติเตอร์อย่างไรก่อนที่จะวัด ค่ะ

จากที่ได้เรียนแลปฟิสิกส์เรื่องกฏของโอมห์นั้น ทำให้ได้ทักษะในหลายๆด้าน เช่นด้านการใช้ความคิดพิจารณา การเปรียนเทียบความแตกต่างระหว่างระห่างไฟฟ้าแต่ละวงจร ทำให้เรามองภาพได้กว้างขึ้น ทำให้การมองภาพจากที่เคยเป็นมิติเดียวก็กลายเป็นมองภาพเเบบสามมิติ ทำให้เราได้ลงมือปฏิบัติจริงสัมผัสของจริง เราจึงเข้าใจในเนื้อหามากขึ้นค่ะ

ในการทำLab เรื่องกฎของโอห์ม ดิฉันคิดว่ามีนิสิตหลายคน ที่ยังไม่เคยได้ทดลองต่อกระแสไฟฟ้าจริง แต่ก่อนที่จะทำการทดลองใดๆ อาจารย์ก็ได้แนะนำวัตถุประสงและวิธีการต่ออย่างละเอียดให้นิสิต ทำให้นิสิตเข้าใจ และสามารถต่อวงจรเองได้ ถึงแม้ว่าอาจจะมีบางเรื่องที่ไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็มีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาอยู่ข้างๆ คอยตอบคำถามให้นิสิตอยู่เสมอ

จากการทดลอง ในเรื่องกฎของโอห์ม ทำให้ได้ประสบการณ์หลายอย่าง ให้รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักเครื่องมือวัด หรือมัลติมิเตอร์ การต่อวงจร การวาดวงจร และการอ่าค่าตัวต้านทาน ค่ะ

สุธามาศ โพธิยา GS

จากการเรียน Lap เรื่องกฎของโอมห์ นี้ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้เรื่องการต่อ วงจรไฟฟ้าแบบต่างๆ เช่น แบบอนุกรม แบบขนาน ทำให้ดิฉันได้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อีกด้วย จึงถือได้ว่าเป็นความรู้ใหม่ๆสำหรับดิฉันเลย และยังได้เรียนรู้เครื่องมือทางไฟฟ้าที่ชื่อว่า มัลติมิเตอร์ ว่ามันใช้งานอย่างไร ใช้สำหรับวัดอะไร ในการทำแลปครั้ง นี้ถือว่าสนุกมากเลยค่ะ ได้ทำงานกับเพื่อน ได้มีความสามัคคีในหมู่คณะ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และยังได้ความรู้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากอีกด้วยค่ะ

จากการทำ Lab เรื่องกฎของโอห์ม ได้ความรู้และประสบการณ์หลายอย่าง เนื่องจากว่าเป็นครั้งแรกที่ดิฉันได้เรียนรู้การต่อวงจรไฟฟ้าจริง และถือได้ว่าไม่มีความรู้ใดๆเลย แต่ว่าได้อาจารย์คอยเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำและให้ดิฉันได้ลองใช้ความสามารถในการจินตนาการ คิด มอง ลงมือทำ นั่นคือ ทำให้ได้ทักษะในการสังเกต การคิด การจินตนาการ การวัด การทดลองจริง ได้รู้จักวิธีการต่อวงจรไฟฟ้า ซึ่งจริงๆแล้ว เพียงแค่รู้หลักการบวกกับการจินตนาการอย่างมีมิติ ก็ทำให้เราสามารถที่จะต่อวงจรไฟฟ้าได้อย่างง่ายดาย

จากการทำการทดลอง เรื่องกฎของโอมห์ นี้ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้และได้ลงมือต่อ วงจรไฟฟ้าแบบต่างๆ เช่น แบบอนุกรม แบบขนาน ทำให้ข้าพเจ้าได้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น แต่ในการทดลองครั้งนี้ก็ยังมีปัญหา คือ นิสิตยังไม่เข้าใจวิธีการต่อวงจรไฟฟ้าและต้องรอให้อาจารย์มาอธิบายให้ฟัง ซึ่งได้ทีละไม่กี่กลุ่ม และเป็นวิธีที่เสียเวลามากค๊ะ ข้าพเจ้าจึงอยากให้อาจารย์อธิบายให้ฟังและให้ทำตามไปทีละขั้นตอนค๊ะ เพื่อที่จะได้ลดปัญหาดังกล่าว และนิสิตจะได้สนุกกับการทำการทดลองมากขึ้น ขอบคุณค๊ะ

จากการทำlab กฎของโอห์ม ทำให้เข้าใจการใช้มัลติมิเตอร์ ในการวัดกระแสไฟฟ้า และแรงดันไฟฟ้า การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม และแบบขนาน การอ่านค่าตัวต้านทาน

แต่การต่อวงจรตามไม่ค่อยทันค่ะ แต่ทำให้ได้รู้ว่าไม่ควรทำด้วยความจำ แต่ให้ทำด้วยความเข้าใจ และต้องศึกษาเนื้อหาก่อนทำlabก่อนทุกครั้งค่ะ

จากการเรียนเรื่อง Lab กฎของโอห์ม ทำให้ได้ทักษะการใช้อุปกรณ์ต่างๆและเครื่องมือมัลติเตอร์ เพราะเครื่องมือมัลติมิเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดได้หลายค่า เช่นวัดความต้านทานไฟฟ้า วัดกระแสไฟฟ้า และได้เข้าใจถึงวิธีการใช้อุปกรณ์ในการวัดปริมาณไฟฟ้า และได้ทดลองต่อวงจรไฟ้าทั้งแบบขนานและแบบอนุกรม จากภาพ ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน ได้ฝึกทักษะในการคิดวิเคราะห์ จากภาพวงจรแล้วต่อวงจรไฟฟ้า ว่าจะต่ออะไรก่อนอะไรหลังและควรตั้งค่ามัลติเตอร์อย่างไรก่อนที่จะวัด และที่สำคัญยังได้ลงมือปฏิบัติจิงด้วย เป็นครั้งแรกที่ได้ใช้อุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้ตื่นเต้นและสนุกดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท