นวัตกรรม"รับมือน้ำท่วม" แบบเริ่ดๆ (อยากให้ไทยมีบ้าง)


น้ำท่วม

  วัสดีค่ะน้องๆ วิธีการรับมือกับน้ำท่วมบ้านเราเท่าที่เห็น ก็มีคันกั้นน้ำ กระสอบทราย ที่เกณฑ์คนวันละร้อย วันละพันชีวิตไปออกแรงแบกกระสอบ ฮึบๆ แต่น้ำมันแรงมากๆ ก็เป็นอย่างที่เห็นเลยค่ะ คันตรงนู้นแตก ตรงนี้แตก กั้นกันไม่อยู่ทีเดียว สุดท้ายก็ได้รับผลกระทบกันเป็นโดมิโน่

เด็กดีดอทคอม :: นวัตกรรม"รับมือน้ำท่วม" แบบเริ่ดๆ (อยากให้ไทยมีบ้าง)


              สำหรับประเทศที่น้ำท่วมกันบ่อยๆ เค้ามีวิธีรับมือกันชนิดที่ว่า มาอีกกี่รอบๆ ก็ไม่กลัว ซึ่งเท่าที่ดูนวัตกรรมรับมือน้ำท่วมแบบชั่วคราวของเค้า ก็ทำครั้งเดียวแล้วสามารถใช้ครั้งอื่นๆ ได้อีกนานเลย ส่วนของพี่ไทยก็พยายามใช้วัสดุแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปกันไป ลองมาดูซิว่านวัตกรรมกั้นน้ำของเค้า จะแตกต่างจากคันดินบ้านเรายังไง
 
              เจ้า อุปกรณ์กันน้ำท่วมนี้ เป็นอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมแบบชั่วคราวของนิวซีแลนด์ แต่ใช้กันทั่วยุโรป รวมทั้งอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย โดยใช้กว่า 24,000 เมตร หรือ 24 กิโลเมตรทีเดียว ลองมาดูรูปกันเลย

เด็กดีดอทคอม :: นวัตกรรม"รับมือน้ำท่วม" แบบเริ่ดๆ (อยากให้ไทยมีบ้าง)

 

              เป็นไงล่ะ เห็นรูปแล้ว ดูแข็งแรงและคุณภาพสูงมากๆ เจ้าอุปกรณ์นี้เรียกกันว่า Flood Barriers from Geodesign Barriers ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับคันกั้นน้ำของไทยนี่แหละค่ะ ที่จะทำกำแพงขึ้นมารอบๆ เส้นทางน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำท่วมออก แต่เจ้าสิ่งนี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก เพราะว่ามีการเลือกใช้วัสดุที่คุณภาพสูง และมีการออกแบบขั้นเทพ ที่เน้นความคงทนแข็งแรงเป็นหลัก คือ มีการออกแบบโดยใช้โครงเหล็กที่มีคุณภาพรองรับไว้ ส่วนด้านหน้าก็จะมีแผ่นอะลูมิเนียม ไม้อัดชนิดกันน้ำ หรือแผ่นไม้ที่มีความแข็ง หลังจากนั้น(ดูตามภาพ)ก็อาจจะมีการหุ้มด้วยพลาสติกกันน้ำอย่างดีอีกชั้นนึง แค่นี้น้ำหน้าไหนมันก็ซึมไม่ได้แล้วล่ะ ยกเว้นว่ามันจะบ้าพลัง ทะลักมาเกินขอบความสูงที่มีอยู่น่ะสิ

 

เด็กดีดอทคอม :: นวัตกรรม"รับมือน้ำท่วม" แบบเริ่ดๆ (อยากให้ไทยมีบ้าง)


              พูดถึงความสูงแล้ว ก็อดพูดถึงไอเดียเก๋ๆ ไม่ได้ เพราะอุปกรณ์กันน้ำที่ว่านี้ก็ไม่ได้ทำอันใหญ่เทอะทะ ขนย้ายลำบากขนาดนั้น เพราะเค้าได้ออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งมีขนาดมาตรฐานอยู่ 3 ขนาดด้วยกัน 0.65 เมตร 1.25 เมตร และ 1.8 เมตร ถ้าต้องการความสูงขนาดไหนก็เอามาต่อๆ กันได้เลย เช่น ถ้าคำนวณแล้วว่าน้ำคงไม่เกิน1 เมตร ก็อาจจะต่อในระดับ 1.25 เมตร เป็นต้น แต่ถ้าน้ำที่มาสูงกว่า 1.8 เมตร ก็คงต้องหาวิธีอื่น หรือไม่ก็อพยพคนไปที่ปลอดภัยแทน

 

เด็กดีดอทคอม :: นวัตกรรม"รับมือน้ำท่วม" แบบเริ่ดๆ (อยากให้ไทยมีบ้าง)


               เห็นแบบนี้แล้ว พี่มิ้นท์ คิดว่าถ้าประเทศไทยยังไม่มีโครงการป้องกันน้ำท่วมแบบถาวร ก็อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลองนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ดู เพราะน่าจะลดความสูญเสียจากคันกั้นน้ำแตกแล้วทะลักเข้าชุมชนได้มากทีเดียว เพราะการวางแผนและการจัดการที่ดีทำให้เรื่องหนักกลายเป็นเรื่องเบาได้
                ที่สำคัญ แนวคิดนี้ยังไม่เปลืองทรัพยากรพวกหินดินทราย และสะดวก สะอาด ไม่ต้องห่วงว่าน้ำลดแล้วจะมีดินทรายให้เก็บกวาด และแน่นอนที่สุด ชาวบ้านสบายใจ กินอิ่มนอนหลับกันถ้วนหน้า วิถีชีวิตประจำวันยังคงดำเนินต่อไปได้เหมือนเดิม..

 

คำสำคัญ (Tags): #น้ำท่วม
หมายเลขบันทึก: 468960เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2011 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท