เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอน ๓...คลองเกือกม้ากันน้ำท่วมราคาถูก)


จะทำให้โครงการนี้มันถูกลงสามเท่าได้อย่างไร (รวมแล้วคงไม่เกินแสนล้าน) ก็เลยคิดไปว่า งั้นไม่ต้องทำถนนก็ได้ เพียงแค่ขุดดินมาทำคลองก็พอแล้ว

เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอน ๓...คลองเกือกม้ากันน้ำท่วมราคาถูก)

 

ในตอนที่ ๒ ผมได้เสนอให้ขุดคลอง เอาดินมาทำเป็นถนนเกือกม้า พร้อมกักประตูน้ำ สูบน้ำลงคลองเกือกม้าที่ขุด เพื่อป้องกันน้ำท่วมกทม. (ทั้งที่ลึกๆแล้ว ผมอยากเอาเงินมาช่วยบ้านนอกไทยมากกว่า เพราะคนกทม.รวยแล้ว ส่วนนักวิชาการก็มี ศ.ดร. เต็มเมืองอีกต่างหาก ก็คงพอช่วยตัวเองได้อยู่หรอก คงไม่ต้องการ"ครูบ้านนอก" อย่างผมมาบังอาจช่วยคิดสักเท่าใดดอก) 

 

เพื่อนรุ่นพี่ วิศวโยธา อดีตผู้บริหารระดับสูงกฟผ.  ตอบกลับมาแบบให้กำลังใจว่า เห็นด้วยกับแนวคิดของผม น่าเป็นไปได้มาก แต่รัฐบาลคงทำไม่ได้หรอกเพราะมันจะเป็นเมกะโปรเจค ที่แพง ติดขัดเรื่องผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัวของนักการเมือง ที่จะมาพร้อมกับการโกงกิน ..พี่ท่านติงต่อว่า ขุดดินมาถมถนนอาจไม่ดีนัก ต้องเอาดินแข็งจากที่อื่นมาทำ (เช่นดินลูกรัง..ผมเดา)

 

 ทำให้ผมมาคิดต่อว่า จะทำให้โครงการนี้มันถูกลงสามเท่าได้อย่างไร (รวมแล้วคงไม่เกินแสนล้าน)  ก็เลยคิดไปว่า งั้นไม่ต้องทำถนนก็ได้ เพียงแค่ขุดดินมาทำคลองก็พอแล้ว

 

คลองรูปเกือกม้าล้อมกทม. ยาวสัก 100 กม. กว้าง 200 ม. ลึกสัก 9 เมตร โดยการขุดหน้าดินลึก 1 เมตร แล้วเอาดินมาถมทำทำนบสูง 8 เมตร. สองด้าน โดยทำนบมีความกว้าง 12.5 เมตร ก็จะกลายเป็นคลองลึก 9 เมตร พอทำนบตัดผ่านแม่น้ำลำคลอง ก็ทำประตูนำ พร้อมทำสถานีสูบน้ำ ...การบริหารน้ำท่วมที่เหลือ เหมือนกับที่นำเสนอไว้ในตอน ๒ ครับ

 

บนสันทำนบกว้าง ๑๒.๕ เมตร ให้ปลูกไม้ที่ชอบน้ำ และมีกิ่งก้านสาขามาก ทั้งนี้เพื่อให้ร่มรื่น เป็นสวนสาธารณะที่พักผ่อนหย่อนใจคนกรุงได้  พร้อมให้นกน้ำมาเกาะพักอาศัย เพื่อหากินกับคลองส่งน้ำ  (กลายเป็นสวรรค์คนดูนกไปเลย)

 

คลองลึก 9 เมตร กว้าง 200 ม. ไหลสองด้านของเกือกม้า ยามน้ำหลาก ถ้าสูบน้ำเข้าแล้วน้ำไหลด้วยความเร็ว 0.5  เมตร ต่อวินาที จะสามารถระบายน้ำออกทะเลได้ด้วยอัตรา  150  ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน  ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อการป้องกันน้ำท่วมกทม.ได้  

แถมเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำ  เพื่อระบายสินค้า กีฬาทางน้ำ การประมง กาเกษตร และอื่นๆ  ได้อีกมากหลาย ... 

วิธีการขุดคลองแบบนี้ก็ไม่น่ายากนะครับ  เช่น เอารถไฟสองขบวนวิ่งขนานกัน ห่างกัน 200 ม. แล้วลากหัวขุดที่เป็นสามเหลี่ยม กินหน้าดิน 1 เมตร พร้อมพลุ้ยดินออกไปเป็นทำนบด้านข้างสูง 8 เมตรจากผิวดินปกติ (อุปมาเป็นการไถนายักษ์ด้วยควายเหล็กคู่) รางรถไฟยาวสัก 1 กม. ก็พอ รถไฟจะวิ่งช้ามาก เช่น 1 วันวิ่งได้ 1 กม. (ความยาว 100 กม. 100 วันก็ขุดเสร็จแล้ว)

พอรถไฟวิ่งพ้นราง คนงาน ก็ถอดรางที่วิ่งผ่าน แล้วเอารางไปต่อเสริมความยาวด้านหน้าต่อไปเรื่อย ๆ

 

ส่ว่นคนที่ถูกเวนคืนที่ดิน ก็สร้างบ้านให้อยู่บนทำนบนั่นแหละ พร้อมให้สัมปทานทำการประมงในคลอง และหรือ เก็บค่าขนส่งทางเรือ เป็นเวลา สัก 20 ปี

..คนถางทาง (๑๗ พย. ๒๕๕๔ ปีน้ำท่วมใหญ่)

 

หมายเลขบันทึก: 468562เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2011 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท