เรื่องของคนเกี่ยวข้าว


ถึงฤดูกาลข้าวออกรวง พี่น้องส่วนหนึ่งจะมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการไปให้บริการเกี่ยวข้าวให้เพื่อนบ้าน

ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปีจะเป็นช่วงที่ท้องทุ่งเป็นสีเหลืองทอง ด้วยข้าวในนากำลังสุกพอให้เก็บเกี่ยวแล้ว ที่นาของผู้เขียนก็เช่นกันข้าวสุกแล้วพ่อบ้านก็เลยไปหาคนมาช่วยเกี่ยว ตอนไปบอกเขา เขาบอกว่าจะเกี่ยวเป็นวันนะคิดค่าแรงวันละ๓๐๐บาทต่อคน ก็เลยตกลงเอา๖คน พอมาถึงหลังจากให้กินข้าวแล้วก็ไปลงนา เขาก็บอกใหม่ว่าขอคิดค่าแรงเป็นมัดนะ มัดละ ๒บาท แต่มีอยู่๑คนขอให้คิดเป็นวันก็ตกลง ปรากฏว่าเขาพากันเกี่ยวข้าวได้เรียบร้อยเป็นแถวชัดเจนเพื่อจะได้นับได้ง่าย และเขาพากันเร่งเกี่ยวเสร็จภายในครึ่งวันโดยเขาเกี่ยวเสร็จตอนเที่ยง๑๐ นาที จ่ายเงินให้คนละ๓๐๐บาท หลังจากกินข้าวเที่ยงแล้วก็เลยไปเกี่ยวต่ออีกเจ้าหนึ่งซึ่งคนคิดค่าแรงแบบไม่นับมัดข้าวผู้เขียนจ่ายให้แล้ว๓๐๐บาทก็ให้ไปเกี่ยวให้จ้าวใหม่ให้ครบวัน ส่วนคนอื่นก็ไปคิดค่าแรงใหม่ ตอนจะไปก็บอกว่าจะคิดค่าแรงแบบเป็นมัด พอไปเห็นนาข้าวก็เปลี่ยนใจขอคิดเป็นครึ่งวันในอัตรา ๑๕๐ บาทเจ้าของนาก็ตกลง แล้วก็พากันเกี่ยวจนถึงเวลาคำ่ที่ตกลงกันพอเลยเวลาก็ขอเพิ่มอีกตามเวลาเขาเรียกว่าขอค่าโอ โอที แล้ววันรุ่งขึ้นก็มาเกี่ยวให้จ้าวเดิมโดยคิดค่าแรงเป็นมัดเสร็จจากจ้าวนี้ไปอีกจ้าวหนึ่งก็คิดเป็นมัดอีก ตอนมาจ่ายเงินเขาบอกกับจ้าวของนาที่จ้างต่อจากผู้เขียนว่าขาดทุนเพราตอนเขาเกี่ยวตอนบ่ายนั้นคิดค่าจ้างเหมาได้เงิน ๑๕๐ บาท แต่เขาลองนับข้าวดูแล้วเขาว่าเขาเกี่ยวได้สัก ๑๕๐มัดซึ่งถ้าคิดเป็นมัดเขาจะได้๓๐๐บาท พอมาเกี่ยวจ้าวที่สาม เขาคิดเป็นมัดแต่เกี่ยวได้ช้าจำนวนเงินที่ได้ก็ได้น้อยกว่าคิดเป็นวัน

 ที่บันทึกไว้เพื่อจะให้ทราบว่าถ้าเราต้องง้อนี่เขาจะเรียกร้องอย่างไรก็ต้องยอม แต่แล้วพระเจ้าก็ไม่เข้าข้างเขาเพราะเขาเปลี่ยนเงื่อนไขไปมาเสร็จแล้วเขาก็ไม่ได้อย่างที่เขาคิดทั้งหมด

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านคะ่

หมายเลขบันทึก: 468431เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2011 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • น่าจะเรียกว่า ผู้จ้างใจดี..
  • ขอบคุณค่ะ คุณสามสักที่มาอ่านบันทึกนี้
  • ผู้จ้างใจดีหรือคะ  ผู้จ้างจำยอมนะสิคะ

สวัสดีครับ

เป็นบันทึกที่น่าเรียนรู้ครับ

เพราะที่บ้านของผม

ยังไม่มีการจ้างเกี่ยวข้าว

หลายรูปแบบเหมือนที่เล่าครับ

ผมจะลองเก็บข้อมูลดูนะครับ

ว่าที่บ้านผมมีแบบนี้หรือเปล่า

ขอบคุณครับ

  • ขอบคุณค่ะ คุณทิมดาบ
  • เพราะคนเกี่ยวข้าวมีน้อยลง
  • รุ่นหลังๆจะไม่มีคนเกี่ยวแล้ว
  • เขาจึงเรียกร้องได้ค่ะ
  • นี่ถ้าไม่ติดว่าท่านผู้เฒ่าจะเสียใจละก็
  • จะไม่ทำนามากหรอกจะทำแต่พอกินก็พอ
  • แต่ติดว่าท่านจะเสียดายถ้าที่นาว่าง
  • ก็เลยต้องทำแบบจ่ายมากกว่าได้เป็นอย่างนี้ทุกปี

ปัจจุบันนี้ คนทำนาเป็นผู้จัดการ ใช้เงินจัดการ

อดีตชาวนาเป็นเจ้านา ต้องดูแลทุกขั้นตอนต้องใช้ใจในการดูแล

บางปีฝนแล้ง อัตคัดขัดสน คนปักษ์ใต้ ร้องเป็นบทโนราห์ไว้ให้ฟังว่า ..... บ่อโด บ่อดาน ย่านบ่อแดง พอนาข้าวแล้งขึ้นกินสิ้นพร้าวเหมง(ท้องที่จังหวัดสงขลา ปีไหนนาแล้ง คนขัดสน ต้องหามะพร้าวมากินยังทันแก่)

หรือแถวภาคกลาง หากปีไหนผลผลิตไม่ดี เมื่อถูกถามว่าเป็นอย่างไรบ้างทำนาปีนี้....ก็จะมีคำตอบนี้ออกมาให้ได้ยินว่า"หากหนูไม่กัด วัดไม่กวนก็พอกินได้ตลอดปี" มีนัยและความหมายในคำตอบของชาวนา

  • ใช่แล้วค่ะท่านวอญ่า
  • ที่นาก็ไม่มีคนดูแลแล้วเพราะ
  • พากันเป็นมนุษย์เงินเดือนกันหมด
  • อยากไปดูแลดีๆก็ห่วงงานที่ทำอยู่ด้วย
  • เลยต้องทิ้งนาไปบ้าง น่าเสียดาย
  • ครั้นจะลาออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือน
  • รายได้จากการทำนาก็น้อยเหลือเกิน
  • เพราะเราต่อรองไม่ได้ นอกจากจะมีการรวมกลุ่มกัน
  • ซึ่งก็ยังเป็นไปได้ยากอยู่ค่ะ

เกื้อกูลพึ่งพิง...ต่อสายใยกันไปนะคะ

ยังมี 2 อาชีพ ถือว่าอยู่ในขั้นใช้ได้มากแล้ว

แบ่ง ๆ กันไป

ได้รักษาอาชีพบรรพบุรุษ

ได้ดูแล "มูล" ให้งอกเงย ไม่ทิ้งขว้าง

ได้ความภาคภูมิใจต่อพ่อแก่แม่เฒ่า

  • ขอบคุณ    คุณหมอธิรัมภา ที่แวะมาให้ความเห็นค่ะ
  • ใช่แล้วค่ะคุณหมอก็คุยกันอยู่ว่า
  • เราก็ช่วยให้เขาตอนนี้ไม่ได้เชียวหรือ
  • จะรอให้เกิดภัยพิบัติก่อนถึงช่วยเขาหรือ
  • ก็เลยว่าให้เขาเถอะถือว่าให้เขาเอาไปให้ลูกเขาไปโรงเรียน
  • อันที่จริงเขาก็ทำงานได้งานมากเหมือนกันค่ะ
  • และเขาก็ได้ช่วยรักษามูลของเราให้งอกเงยจริงๆด้วยล่ะ
  • เอ๊ะ  คุณหมอรู้จักคำว่ามูลด้วยเหรอคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท