บอกกล่าวเล่าสิบ : สถานการณ์น้ำท่วม(3 พ.ย.2554)


หลังจากที่ทางผู้เกี่ยวข้องได้พยายามป้องกันการไหลของน้ำเข้าพื้นที่ในเขตตลิ่งชันในทุกๆด้าน ในที่สุดก็ไม่สามารถที่จะกั้นไม่ให้น้ำไหลเข้าสู่พื้นที่ได้ วันที่ 31 ตุลาคม 2554 น้ำเริ่มล้นไหลเข้าพื้นที่ แขวงตลิ่งชัน และในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 เต็มพื้นที่ เขตตลิ่งชันเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ถนนสวนผัก-ชัยพฤกษ์ ระดับน้ำอยู่ที่ 30-50 เซนติเมตร ในซอยชัยพฤกษ์ 13 ระดับต่ำสุดอยู่ที่ 30 เซนติเมตร สูงสุดอยู่ที่ 1.50 เซนติเมตร ปัจจุบันระดับน้ำยังสูงขึ้นเรื่อยเฉลี่ยวันละ 10 เซนติเมตร

การช่วยเหลือมีการตั้งจุดทำอาหารแจกอยู่ถนนบรมราชชนนี ปากทางชัยพฤกษ์ ซึ่งก็ไม่ได้รับความสะดวกเพราะผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านที่น้ำท่วมเข้าออกลำบากกว่าจะเดินทางไปรับไปได้ก็เดินลุยน้ำออกจากซอยไป 2 กิโลเมตรกว่า ใช้เวลาเกือบชั่วโมง เพื่อไปรับข้าวกล่องเพียงกล่องเดียว พร้อมน้ำ 1 ขวด ต่อ 1 ท่าน(สุดๆ) ที่สำคัญจุดทำอาหารแจกไม่แน่ใจว่าแจกใครส่วนมากเห็นมีแต่ผู้ที่อยู่ถนนใหญ่เข้า-ออกสะดวกไปรับ

ประมวลภาพน้ำท่วมและการเตรียมตัว วันที่ 31 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน 2554 

01
เสริมความแข็งแรง

02
ก่อนเสริมความแข็งแรง

03
ก่อนเสริมความแข็งแรง

04
บริเวณหลังบ้าน

05
กั้นชั้นใน

06
กั้นชั้นนอก

06
เสริมความแข็งแรง

08
เสริมความแข็งแรง

09
เสริมความแข็งแรง

09
หน้าประตูบ้านวันที่ 2 พ.ย. 2554

10
หน้าประตูบ้านวันที่ 2 พ.ย. 2554 

11
หน้าประตูบ้านวันที่ 2 พ.ย. 2554 

12
น้ำใหม่ยังใสหน้าเล่น

14
น้ำใหม่ยังใสหน้าเล่น

15
การเดินทางออกจากซอยบ้าน

16
การเดินทางออกจากซอยบ้าน

16
การเดินทางออกจากซอยบ้าน

16
การเดินทางออกจากซอยชัยพฤกษ์ 13

17
การเดินทางออกจากซอยชัยพฤกษ์ 13

18
การเดินทางออกจากซอยชัยพฤกษ์ 13

 

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554

21
บริเวณถนนบรมราชชนนี

22
ปากทางชัยพฤกษ์

23
ปากซอยชัยพฤกษ์ 13

23
ถนนสวนผัก-ชัยพฤกษ์

24
บริเวณหน้าบ้านในสวนซอยชัยพฤกษ์ 13

25
บริเวณหน้าบ้าน

26
ปากซอยชัยพฤกษ์ 13


สิ่งที่ผมเตรียมก่อนน้ำท่วม

1. ติดตามข่าวน้ำท่วมจากหน่วยงานผู้เกี่ยวข้อง อันนี้ผมติดตามข่าวทุกวัน
2. ประเมินสถานการณ์น้ำพื้นที่โดยรอบที่อยู่อาศัยและพื้นที่ใกล้เคียง อันนี้ผมปั่นจักรยานสำรวจทางน้ำโดยรอบของพื้นที่ใกล้เคียง
3. เตรียมยกของขึ้นที่สูง ผมได้เตรียมยกของขึ้นก่อนน้ำท่วม 5 วันใครว่าเป็นกระต่ายก็ไม่สนใจครับเพราะสังเกตจากทางน้ำและสถานการณ์น้ำโดยรอบแล้ว
4. เตรียมกั้นประตูหน้าบ้านและประตูหลังบ้าน ผมเตรียมกั้นก่อนน้ำท่วม 3 วันและเสริมความแข็งแรงนำปูนมาก่อเพิ่มในวันที่น้ำเริ่มขึ้นสูงอีกครั้งผมเสริมสูง 1.20 เซนติเมตร เนื่องจากเป็นบ้านเช่าไม่มีบริเวณบ้านก็คิดว่าเอาในตัวบ้านให้พออยู่ได้
5. เตรียมเสบียงตุ่นไว้ประมาณหนึ่ง เพราะในพื้นที่ใกล้เคียงน้ำไม่ท่วมก็คิดว่าสามารถออกมาซื้อเพิ่มเติมได้
5. เตรียมดินน้ำมันหรือดินเหนียว ฯลฯ เอาไว้อุดจุดที่น้ำรั่วซึมเข้ามาครับได้ผลมาก
6. กัมมะถัน เอาไว้กันงูเข้าบ้าน เพราะเนื่องจากบ้านผมอยู่ในสวนครับเลยต้องเตรียมไว้
ผลที่ได้(ด้วยความโชดดี)
ระดับน้ำสูงหน้าประตูบ้านสูง 1 เมตร ต่ำกว่าที่กั้นไว้ 20 เซนติเมตร (ถ้าสูงกว่า 1.20 ก็คิดว่าคงต้องถอยเหมือนกันเพราะสูงกว่าระดับหน้าต่างและก็ถึงปลั๊กไฟพอดี)
จึงทำให้น้ำท่วมครั้งนี้ผมก็ยังอยู่ในบ้านเหมือนปกติเพียงแต่การเดินลำบากหน่อย และต้องค่อยวิดน้ำที่ซึมจากห้องน้ำนิดๆหน่อยแต่ก็อยู่ได้ครับ

หมายเลขบันทึก: 468356เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2011 02:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท