การใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในการจัดการธุรกิจชุมชน


การใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ มาบริหารจัดการธุรกิจชุมชน อย่างพอเพียงและยั่งยืน

การใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนภาคอีสาน   

THE  USE  OF  BUDDHIST  ECONOMIC  PRINCIPLE  IN NATURAL DRINKING WATER  MANAGEMENT  FOR  COMMUNITY  ECONOMIC  DEVELOPMENT IN  NORTHEASTERN  THAILAND

 ธีรกานต์  โพธิ์แก้ว  Theerakan  Pokaew     

  

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาในการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติของชุมชนในภาคอีสาน  ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติ  และศึกษาแนวทางการใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติ  เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคอีสาน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  ทำการวิจัยในพื้นที่ภาคอีสาน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร   จังหวัดบุรีรัมย์  จังหวัดสกลนคร  และจังหวัดชัยภูมิ  ประชากร ได้แก่  ประชาชนที่อยู่ในชุมชนที่มีการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติในภาคอีสาน  กลุ่มตัวอย่าง  เลือกแบบเจาะจง จำนวน 168 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้  1)  กลุ่มผู้รู้ จำนวน 43  คน 2)  กลุ่มผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการน้ำดื่ม จำนวน  75  คน  และ3)  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน  50  คน  การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสำรวจ  การสังเกตุ  การสัมภาษณ์เชิงลึก  การสนทนากลุ่ม  และการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายของการวิจัยที่ตั้งไว้  โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์  ผลการศึกษาพบว่า  การจัดการน้ำดื่มธรรมชาติในภาคอีสานปัจจุบันเน้นการบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยประชาชนในพื้นที่รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นองค์กรผลิตน้ำดื่มธรรมชาติทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  ผลิตน้ำดื่มธรรมชาติจำหน่ายในชุมชน มุ่งหวังให้มีสมาชิกมีรายได้เลี้ยงชีพ และองค์กรคงอยู่ได้อย่างมั่นคง ภายใต้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคอีสาน

 คำสำคัญ :  เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ,  การจัดการ, น้ำดื่มธรรมชาติ, การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 

 

Abstract

            This  study  aimed  to  examine  backgrounds  of  natural  drinking-water  management  of  the  community  in  northeast  Thailand,  to  examine  current  conditions  and  problems  of  using  the  principle  of  Buddhist  economics  for  natural  drinking-water  management,  and  to  find  out  guidelines  for  using,  the  principles  of  Buddhist  economic  for  natural  drinking-water  management  to  develop  community  economy  in  northeast  Thailand.  The  qualitative  research  methodology  was  used.  The  study  was  conducted  in  the  area  of  4  provinces in  northeast  Thailand : Mukdahan  province,  Buri Ram  province,  Sakon  naklon  province,  and  Chaiyaphum  province.  The  population  consisted  of  the  people  living  in  the  communities  with  natural  drinking-water  management  in  northeast  Thailand.  The  sample  of 168  personswas  purposively  selected.  They  were  devided  into  these  3 groups :  1) a  group  of  43 informants  who  provided  in-depth  data, 2)  a  group  of 75  practitioners  who  practiced  water  management,  and 3)  a  group  of  50  purposively  selected  general  informants.  The  data  were  collected  using  survey,  observations,  nterviews,  focus  groups  discourse,  and  workshop.  The  collected  data  were  analyzed  according  to  the  established  study  purposes  by means  of  a  descriptive  analysis. The  research  findings  were  as  follows :

            In  conclusion,  all  the  groups  in these  communities  have  gradual  developments, not  quite  rapid  business  extention.  The  management  using  the  principles  of  Buddhist  economics  can  cause  the  groups  to  gain  profits  without  losses.  The  groups  to  gain  profits  without  losses.  The   groups  can  pay  dividens  to  their  members  and  can  have  rotating  funds  within  the  community.  A  part  of  incomes  is  allotted  for  maintain  Buddhism.  The  community  drinking-water  business  can  be  stable  and  can  help  build  incomes  and  jobs  for  the  community.  Also,  it  can  cause  good  society  and  happy  life  according  to  the  principles  of  Buddhist  economics. 

 Keywords : Buddhist  Economic,  Management, Natural Drinking Water, Community  Economic  Development. 

 

บทนำ

 

      จากหลักฐานประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย มีข้อความยืนยันว่าประเทศสยามมีความเจริญรุ่งเรืองกินดีอยู่ดีด้วยทรัพยากรธรรมชาติเอื้ออำนวย แต่สภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยในปัจจุบันตรงกันข้ามกับอดีตอย่างสิ้นเชิง สาเหตุเกิดจากคนไทยบางส่วนที่ไม่เห็นคุณค่าบุกรุกเข้าทำลายทรัพยากรธรรมชาติ  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ทรงตระหนักถึงปัญหานี้พระองค์ทรงเป็นผู้นำในการจัดการทรัพยากรน้ำ  ได้พระราชทานพระราชดำริโครงการต่าง ๆ  เพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำให้กับประชาชน  หากไม่มีแหล่งน้ำ  สิ่งมีชีวิตก็ไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ (ธัญญาภรณ์ ภู่ทอง : 2548 1-11)  ดังนั้น  น้ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เพราะน้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์  ถ้าไม่มีน้ำการผลิตอาหารก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้ เหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมน้ำจึงกลายมาเป็นปัญหาระดับโลก และเริ่มส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เพราะการลดลงของผลิตผลทางด้านอาหารจะมีผลต่อความหิวโหยให้กับประชากรภายในประเทศ  จากพื้นฐานดั้งเดิมที่วัฒนธรรมของอาหารได้พัฒนาขึ้นเพื่อสอดรับกับปริมาณน้ำภายในพื้นที่ (วันทนา  ศิวะ. 2546 : 117) ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชนินีนารถได้ตรัสกับประชาชนชาวไทยผ่านรายการโทรทัศน์ โดยมีสาระสำคัญว่านักวิทยาศาสตร์ได้ทำนายว่าอีกไม่เกิน 20 ปี น้ำอุปโภค และบริโภคจะขาดแคลน  ก่อให้เกิดเป็นสงครามแย่งชิงน้ำขึ้นในโลกประชาชนทุกคนจึงควรหันมาช่วยกันอนุรักษ์น้ำ  เพราะปัจจุบันสงครามแย่งชิงน้ำในการอุปโภค และบริโภคเริ่มมีปรากฏให้เห็นแล้วในบางประเทศ หากพื้นที่ใดมีแหล่งน้ำที่ดีอยู่แล้วก็ต้องตระหนักว่าจะอนุรักษ์ดิน  น้ำ  และป่าไม้ในบริเวณนั้นให้อุดมสมบูรณ์อยู่ได้อย่างไร (ธีรกานต์  ฤทธิ์เจริญวัตถุ. 2552 : 288)

            สำหรับน้ำในภาคอีสานทั้งที่ใช้ในส่วนของการอุปโภค  และบริโภคล้วนมาจากน้ำฝนที่ตกสู่ผิวดินไหลรินลงมากลายเป็นน้ำธรรมชาติ  โดยน้ำธรรมชาติขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ที่จะรองรับน้ำไว้ได้  ขณะนี้พื้นที่ในการรองรับน้ำเริ่มลดน้อยลง  ส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำ  ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำในอนาคตให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะ  ต้องเริ่มแก้ไขสภาวะการขาดแคลนน้ำเป็นหลัก โดยเริ่มต้นจากวิธีการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งใช้ข้อมูลจากสภาพปัญหาของพื้นที่เป็นหลัก  ในการที่จะหาวิธีการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลนั้นการ มักจะประสบกับปัญหาการใช้น้ำที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์  นั่นก็คือ การใช้น้ำอย่างไม่มีประสิทธิภาพ  แหล่งน้ำธรรมชาติตื้นเขิน  มีความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้นเพราะประชากรในพื้นที่เริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้น  ขาดการอนุรักษ์น้ำอย่างจริงจัง และประชาชนขาดจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์จากน้ำ (คณะกรรมการการเกษตร  และสหกรณ์สภาผู้แทนราษฎร.2546 : ภาคผนวก ที่ 2-3,9-10)

     จากปัญหาดังกล่าวจึงทำให้ชุมชนในภาคอีสานเกิดความตื่นตัวในเรื่องการจัดการน้ำเพื่อการบริโภค  โดยเฉพาะชุมชนในพื้นที่เขตชุ่มน้ำทั้งในพื้นที่ราบ และพื้นที่ภูเขาจำนวน 4 จังหวัด ในจำนวน 5 พื้นที่ ได้ปรับกลยุทธ์การบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน  เกิดเป็นกลุ่มชุมชนผลิตน้ำดื่มธรรมชาติที่ประสบผลสำเร็จจากการนำทรัพยากรธรรมชาติภายในพื้นที่  มาผลิตเป็นน้ำดื่มธรรมชาติ  ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนจำหน่ายภายในชุมชน  โดยการจัดการภายใต้การมีส่วนร่วมของคนชุมชน บางพื้นที่มีการเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ เหมาะที่จะเป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ถึงวิธีการแก้ไขปัญหา และการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในสภาวะที่เศรษฐกิจซบเซา วิธีการแก้ไขปัญหานี้ยังสามารถเป็นมตัวอย่างและเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจอย่างกว้างขวาง

 วัตถุประสงค์การวิจัย

      1.    เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติของชุมชนในภาคอีสาน

     2.    เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติของชุมชนในภาคอีสาน

     3.    เพื่อศึกษาการใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติ  เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคอีสาน

 

วิธีการศึกษา

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยที่ใช้ระบบวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรม  (Cultural  Qualitative  Research)  โดยการเก็บข้อมูลเอกสาร  (Document)  และเก็บข้อมูลภาคสนาม  (Field  Study)  โดยการสำรวจ  สังเกต  สัมภาษณ์  การสนทนากลุ่ม  การประชุมเชิงปฏิบัติการและนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ 

ประชากร ได้แก่  ประชาชนที่อยู่ในชุมชนที่มีการจัดการน้ำธรรมชาติในภาคอีสาน 

   กลุ่มตัวอย่าง  เลือกแบบเจาะจง  จำนวน 168 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

               1.  กลุ่มผู้รู้  (Key  Informants)  จำนวน 43  คน เป็นกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ให้ข้อมูลในแนวลึก ประกอบด้วย

                   1.1  ภาครัฐ  ได้แก่  ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำธรรมชาติ

                 1.  เภสัชกรประจำสาธารณสุขจังหวัด จังหวัดละ 1 คน

                 2.  พัฒนากรประจำตำบลตำบล  ตำบลละ 1 คน

                 3.  ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบล  ตำบลละ 1 คน

                 4.  ผู้อำนวยการโรงเรียนประจำตำบล  ตำบลละ 1 คน

                 5.   เจ้าอาวาสในวัดประจำตำบล  ตำบลละ 3 รูป

                 6.   ผู้อาวุโสภายในตำบล  ตำบลละ 1 คน

     1.2  ภาคเอกชนจำนวน  3  คน  ที่ใช้ร่วมกันทั้ง 5 พื้นที่  ได้แก่

                 1. ประธานชมรมน้ำดื่มจังหวัดมหาสารคาม 

                2. ตัวแทนจากผู้ประกอบการวิสาหกิจรุ่นที่ 1 มหาสารคาม

                3. ตัวแทนจากบริษัทเอกชน  เกี่ยวกับการจำหน่ายเคมีภัณฑ์ ในการบำบัดระบบน้ำ

      2  กลุ่มผู้ปฏิบัติ  (Casual Informants) 

       เป็นผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการน้ำ จำนวน  75  คน ประกอบด้วย

              2.1  กลุ่มผลิตน้ำแร่ภูพาน  จังหวัดสกลนคร  จำนวน 15 คน

              2.2  กลุ่มผลิตน้ำน้ำซับภูผาป่อง  จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 15 คน

              2.3  กลุ่มผลิตน้ำซับภูแลนคา  จังหวัดชัยภูมิ  จำนวน 15 คน

              2.4  กลุ่มผลิตน้ำซับถ้ำผาขาว  จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 15 คน

              2.5  กลุ่มผลิตน้ำผุดสหกรณ์   จังหวัดบุรีรัมย์  จำนวน 15 คน

             3  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป   (General  Informants) จำนวน  50  คน ประกอบด้วย

                3.1  ชาวบ้านที่มีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์ในการจัดการน้ำธรรมชาติ  5  หมู่บ้าน  ๆ  ละ  5  คน  รวม  25  คน

                3.2  ชาวบ้านที่ไม่มีส่วนร่วมแต่ได้รับประโยชน์จากการจัดการน้ำธรรมชาติ  5  หมู่บ้าน ๆ ละ 5  คน  รวม  25  คน

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

 

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ ประกอบด้วย

            1.  แบบสำรวจ  (Basic  Survey)  เพื่อใช้สำรวจข้อมูลเบื้องต้น  เป็นการรวบรวมข้อมูลจากประชากรและบริบทของชุมชน  โดยการสำรวจสภาพทั่วไปของพื้นที่ที่ทำการวิจัย  ได้แก่  แประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน  ลักษณะชุมชน    การคมนาคม  สาธารณูปโภค  สถานที่สำคัญในชุมชน  ความเป็นอยู่ของประชาชน  ความเชื่อ  ประเพณี  พิธีกรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ลักษณะการจัดการ    น้ำดื่มธรรมชาติในชุมชน

            2.  แบบสัมภาษณ์  (Interview  Guide)  เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  (Structured  Interview)  และแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง  (Un-Structured  Interview)  เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติและแนวทางการใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติ  เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

            3. แบบสังเกต (Observation) เป็นแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และไม่มีส่วนร่วม ( Non-Participant Observation)เพื่อสังเกตกิจกรรมของชาวบ้าน สังเกตกิจกรรมของกลุ่มผู้นำชุมชน   กลุ่มผู้ปฏิบัติที่เป็นกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชนและกลุ่มบุคคลทั่วไปทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินกิจกรรม

            4. แบบสนทนากลุ่ม (Focus Group  Discussion) เป็นการสนทนาเพื่อสอบถามข้อความในเนื้อหาบางเรื่องที่ผู้วิจัยมีข้อสงสัยอยู่ในบางประเด็นของข้อมูล จากตัวแทนกลุ่มพระสงฆ์  กลุ่มแม่บ้านและกลุ่มเยาวชน  กลุ่มละ 7 คน

             5. แบบประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เป็นการประชุมที่ผู้วิจัยจัดขึ้นใช้ประชุมกลุ่มย่อยแล้วร่วมกันพิจารณาแนวทางการใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในการจัดการน้ำดื่มรมชาติ  เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กับตัวแทนกลุ่มตัวอย่างทั้ง 5 กลุ่ม ซึ่งเป็นตัวแทนจากกลุ่มผู้รู้จำนวน พื้นที่ละ 2 คน  กลุ่มผู้ปฏิบัติพื้นที่ละ 2 คน  จากบุคคลทั่วไปพื้นที่ละ 2 คน

            6. แบบประเมินผลการจัดกิจกรรม  เป็นการประเมินผลกิจกรรม เพื่อหาข้อสรุปว่า ชุมชน    ได้จัดกิจกรรมอะไรบ้าง กิจกรรมที่จัดมีวัตถุประสงค์อย่างไร ผู้ดำเนินกิจกรรมเป็นใคร วิธีการจัดกิจกรรมเป็นอย่างไร มีผู้เข้าร่วมจำนวนเท่าไร เป็นใครบ้าง ผลของกิจกรรมเป็นอย่างไร

 

 การเก็บรวบรวมข้อมูล

 

             ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้

            1. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ทำการศึกษาเอกสารที่มีการบันทึกเอาไว้หรือที่มีการศึกษาไว้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องในการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติ  หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ  หลักการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยค้นคว้าเอกสารชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2   จากแหล่งเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันการศึกษา ห้องสมุด หน่วยงานราชการ เอกชน และเว็บไซด์ ประหนังสือ ตำรา งานวิจัย ปริญญานิพนธ์ คู่มือ บันทึกการประชุม

            2. การสำรวจ (Survey) ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลจากประชากรและบริบทของชุมชน โดยการสำรวจสภาพทั่วไปของพื้นที่ที่กำหนดการทำวิจัย ได้แก่ ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน ลักษณะชุมชน การคมนาคม สาธารณูปโภค สถานที่สำคัญในชุมชน ความเป็นอยู่ของประชาชน ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ลักษณะของน้ำธรรมชาติ ได้แก่ ที่ตั้งของแหล่งน้ำธรรมชาติ สภาพภูมิศาสตร์ สภาพของน้ำธรรมชาติ

            3. การสัมภาษณ์ (Interview)                                                                                                           

               การสัมภาษณ์สัมภาษณ์กลุ่มผู้รู้ (Key Informants) ผู้ประกอบการและผู้ปฏิบัติ (Casual Informant) และกลุ่มผู้ใช้ข้อมูลทั่วไป (General Informant) เพื่อตอบคำถามประเด็นการวิจัยว่า ประวัติและความเป็นมาของการจัดการน้ำธรรมชาติ ในแต่ละชุมชนเป็นอย่างไร แนวทางการใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติ  เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เป็นอย่างไร โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก     (In-Depth Interview) ทำการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) และการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง( Un-Structured Interview) เป็นการสัมภาษณ์แบบเปิดกว้างโดยไม่จำกัดคำตอบเพื่อจับประเด็นและนำมาตีความหมายโดยใช้ทฤษฎี

            4. การสังเกต (Observation) โดยการสังเกตกิจกรรมของชาวบ้าน การสังเกตกิจกรรมของผู้นำชุมชนและพระสงฆ์ในการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติ การสังเกตกิจกรรมของชาวบ้าน เช่น กิจวัตรประจำวันของชาวบ้าน การประกอบอาชีพ กิจกรรมทางศาสนาประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรม ภูมิปัญญาของชาวบ้าน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการน้ำธรรมชาติ เช่น การบริหารงาน  การจัดกิจกรรมต่าง ๆ การประชุม สัมมนา อบรม  ดูงาน การให้คำแนะนำกับผู้ที่มาศึกษาดูงาน ฯลฯ การสังเกตกิจกรรมของเจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้น้ำในการพัฒนา  เช่น กิจวัตรประจำวันของเจ้าอาวาส การเทศนา   โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา การเทศนาโดยใช้หลัก เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ   การให้ความรู้ทางวิชาการ การประชุม สัมมนา อบรม  ดูงาน ฯลฯ โดยใช้การสังเกต 2 รูปแบบ  ตามแนวทางของ (สุภางค์  จันทวานิชย์. 2549: 46-49)  คือ

            4.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ((Participant Observation) โดยผู้วิจัยเข้าร่วมทำกิจกรรมโดยเปิดเผยตัวเองว่าเป็นนักวิจัย โดยการสังเกต ซักถามข้อมูลที่สงสัย และจดบันทึก

            4.2 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) โดยผู้วิจัยทำการสังเกตกิจกรรมของชาวบ้านอยู่วงนอก ไม่เข้าร่วมกิจกรรม

             5. การสนทนากลุ่ม (Focus Group) เป็นการสนทนาเพื่อหาข้อสรุปบางประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน  ผู้ร่วมสนทนามาจากกลุ่มผู้รู้ (Key Informants) ผู้ปฏิบัติ (Casual Informant) และกลุ่มผู้ใช้ข้อมูลทั่วไป (General Informant) กำหนดกลุ่มสนทนาอยู่ระหว่าง 7 คน  ในแต่ละแห่งๆ ละ 3 ครั้ง

             6. การประชุมเชิงปฏิบัติการ ((Workshop) โดยใช้กลุ่มประชุมย่อย กรอบประเด็นการประชุมประกอบด้วยการศึกษาแนวทางการใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติ  เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เพื่อยืนยันข้อมูลที่ได้รับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกมาสอบถามและเป็นการยืนยันร่วมกัน ผู้เข้าร่วมประชุมมาจากกลุ่มผู้รู้   ผู้ประกอบการและผู้ปฏิบัติ  และกลุ่มผู้ใช้ข้อมูลทั่วไป ตัวแทนส่วนราชการและตัวแทนจากภาคเอกชน

            7. การประเมินผลการจัดกิจกรรม  โดยการประเมินผลการจัดกิจกรรม เพื่อหาข้อสรุปว่าหมู่บ้านได้จัดกิจกรรมอะไร กิจกรรมที่จัดมีวัตถุประสงค์อย่างไร ผู้ดำเนินกิจกรรมเป็นใคร วิธีการ    จัดกิจกรรมเป็นอย่างไร มีผู้เข้าร่วมจำนวนเท่าไร เป็นใครบ้าง ผลของกิจกรรมเป็นอย่างไร

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

            ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลที่ได้จากเอกสาร ภาคสนาม จากการสัมภาษณ์และการสังเกต บันทึกลงในสมุดหรือลักษณะการบรรยาย (Descriptive) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปผลการศึกษาดังนี้

               1. วิเคราะห์อุปนัย (Inductive Analysis) คือ การตีความจากสิ่งปรากฏทางนามธรรมให้มีความเป็นรูปธรรมมากที่สุด (สุภางค์ จันทวานิชย์. 2549:131-133) เช่น กิจกรรมของชาวบ้านในการทำกิจวัตรประจำวัน การประกอบอาชีพ กิจกรามทางศาสนา ประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรม ภูมิปัญญาของชาวบ้าน ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศมีส่วนต่อการจัดการน้ำธรรมชาติหรือไม่ อย่างไร เพื่อให้ได้ผลจากการปรากฏในด้านการจัดการน้ำธรรมชาติที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด

              2. วิเคราะห์โดยการจำแนกข้อมูล (Typological Analysis) คือ การจำแนกข้อมูลเป็น ชนิด ๆ (Typological ) ตามขั้นตอนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันไป โดยใช้แนวคิดทฤษฎี คือ การจำแนกชนิดเหตุการณ์หนึ่ง ๆ โดยยึดแนวคิดเป็นกรอบของการจำแนกของ Lofland  ซึ่งแยกออกเป็นการกระทำ กิจกรรม  ความหมาย  ความสัมพันธ์  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและสภาพสังคมเป็นแนวทางการจำแนก เช่นเดียวกับที่ใช้มาในการสังเกต (สุภางค์ จันทวานิช. 2649:134-136) เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ เรียบเรียง เปรียบเทียบและสรุปผลการวิจัย แนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยา มานุษวิทยา วัฒนธรรม และการบริหารโดยแยกเป็นขั้นตอน ดังนี้

       การจัดการน้ำดื่มธรรมชาติในภาคอีสาน และแนวทางการใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติ  เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคอีสาน โดยอาศัยความร่วมมือของสมาชิกในชุมชนการบริหาร การจัดกิจกรรม เช่น  การจัดการ ดูแล บำรุงรักษา การตั้งกฎ กติกา ระเบียบ เพื่อควบคุมดูแลและลงโทษ การวิเคราะห์ในเรื่องนี้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงสร้างสรรค์  แนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ   แนวคิดการมีส่วนร่วมในชุมชน  และแนวคิดเศรษฐกิจชุมชน และทฤษฎีทฤษฎีหลัก  ได้แก่  ทฤษฏีนิเวศวิทยาวัฒนธรรม  ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่   และทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ  ทฤษฎีรอง  ได้แก่  ทฤษฎีวัฒนธรรมชุมชน  ทฤษฎีเครือข่าย ซึ่งแนวคิดและทฤษฎีทั้งหมดนี้ผู้วิจัยคิดว่ามีผลต่อการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต  และเพื่อเป็นการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ  และความสมดุลของสภาพแวดล้อม  อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้  เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจชุมชน   การวิเคราะห์ในเรื่องนี้จึงใช้แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและแนวคิดเศรษฐศาสตร์ชุมชน

  1. การวิเคราะห์โดยการ

เปรียบเทียบข้อมูล (Constant Comparison)  (สุภางค์ จันทวานิชย์. 2549 : 137) คือ การใช้วิธีเปรียบเทียบ โดยการนำวิธีการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติใน     รูปแบบเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธโดยกลุ่มผลิตน้ำน้ำซับภูผาป่อง  จังหวัดมุกดาหาร กลุ่มผลิตน้ำซับ      ถ้ำผาขาว  จังหวัดมุกดาหาร กลุ่มผลิตน้ำซับภูแลนคา  จังหวัดชัยภูมิ  กลุ่มผลิตน้ำผุดสหกรณ์ จังหวัดบุรีรัมย์ และวิธีการจัดการน้ำรูปแบบธุรกิจ โดยชุมชนหรือองค์กรเอกชน คือ น้ำแร่ภูพาน  จังหวัดสกลนคร มาเปรียบเทียบ เพื่อหาจุดดี จุดด้อย แล้วสรุปเป็นแนวทางการใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในการจัดการน้ำธรรมชาติ  เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคอีสาน

 

การนำเสนอข้อมูล 

           การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปให้ตรงตามประเด็นความมุ่งหมายของการวิจัยและนำเสนอโดยวิธีพรรณนา (Descriptive Analysis)  โดยมีตารางและภาพประกอบ

 

ผลการศึกษา

            จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ดังนี้  การจัดการน้ำดื่มธรรมชาติในระยะ

ที่หนึ่งใช้ระบบภูมิปัญญา  ผู้อาวุโสภายในหมู่บ้านเป็นผู้นำในการจัดหา  เงินลงทุนในการผลิตแหล่งน้ำโดยการระดมทุนจากสมาชิก  วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้สามารถ  ผลิต  และจัดหาได้เองภายในชุมชน การจัดการน้ำเป็นแบบแยกส่วน ระยะที่สอง เป็นการจัดการน้ำด้วยระบบประปาชุมชน  ผู้ใหญ่บ้าน  และคณะกรรมการชุมชนเป็นผู้นำในการจัดหา   เงินลงทุน และวัสดุ  อุปกรณ์การผลิตรัฐบาลจัดหามาให้  ชุมชนมีส่วนร่วมการบริหารกับหน่วยงานรัฐบาล  ระยะที่สาม เป็นการจัดการน้ำโดยการจัดตั้งกลุ่มผลิตน้ำดื่มธรรมชาติของชุมชน  พระสงฆ์  หรือประธานกลุ่มเป็นผู้นำ  การลงทุนส่วนใหญ่เป็นทุนบริจาค และการระดมทุนจากสมาชิกของกลุ่ม  วัสดุ และอุปกรณ์  ในการผลิตมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการผลิต ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง  และเป็นการบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน   ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มกันโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกภายในชุมชน  ร่วมกันจัดตั้งเป็นองค์กรผลิตน้ำดื่มธรรมชาติ  เพื่อผลิตเป็นน้ำดื่มที่สะอาดจำหน่ายภายในชุมชน มุ่งหวังให้ชุมชนมีรายได้เลี้ยงตนเอง  โครงสร้างการบริหารจัดการขององค์กรผลิตน้ำดื่มของชุมชนมีทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ  แบบเป็นทางการมีจัดตั้งประธานกลุ่ม  พร้อมด้วยสมาชิก แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน ได้จดทะเบียนขออนุญาตผลิตน้ำดื่มจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด   แบบไม่เป็นทางการมีการแต่งตั้งประธานกลุ่ม  และสมาชิกเข้าร่วมยังไม่แน่นอน  การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ  ยังไม่ชัดเจน  ยังไม่ได้จดทะเบียนขออนุญาตผลิตน้ำดื่มจากสำนักงานสาธารณสุข  ปัญหาในการจัดการน้ำดื่มธรรมชาติที่พบได้แก่บุคลากรในการผลิตมีน้อย  เพราะงานผลิตน้ำเป็นงานหนัก  บุคลากรเข้าออกงานบ่อย   วัสดุ และอุปกรณ์ ราคาไม่คงที่ เพราะมีผลสืบเนื่องมาจากสภาวะเศรษฐกิจ และราคาน้ำมัน  การจัดการการเงิน ส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดทำระบบบัญชีให้เป็นมาตรฐาน การจัดการของกลุ่มองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ไม่สามารถบริหารจัดการองค์กรได้อย่างทั่วถึง 

          สำหรับการใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในการจัดการน้ำดื่ม  เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคอีสานนั้น พบว่า  ทุกกลุ่มเลือกใช้การจัดการโดยใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ  แต่มีการจัดการที่แตกต่างกัน แบ่งเป็นสามลักษณะ คือ  การจัดการโดยใช้หลัก อุ อา กะ สะ ประโยชน์ 4   เป็นตัวนำหลักจัดการแบบสากล 4 Ms    การจัดการโดยใช้หลักจัดการแบบสากล 4 Ms เป็นตัวนำหลักอุ อา กะ สะ ประโยชน์ 4  และการจัดการโดยใช้หลักอุ อา กะ สะ ประโยชน์ 4  ผสมผสานกับหลักจัดการสากล 4 Ms  โดยสรุปทุกกลุ่มในชุมชนมีพัฒนาการแบบค่อยเป็นค่อยไป  ไม่ขยายธุรกิจรวดเร็วมากนัก   การจัดการด้วยหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธทำให้กลุ่มมีกำไรไม่ขาดทุน  มีความสามารถจ่ายคืนเงินปันผลให้กับสมาชิก  มีเงินหมุนเวียนภายในชุมชน  รายได้ส่วนหนึ่งได้จัดสรรในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  ธุรกิจน้ำดื่มธรรมขาติของชุมชนจึงมีความมั่นคง  ช่วยในการสร้างรายได้  และสร้างอาชีพให้กับชุมชน ส่งผลให้สังคมดี และชีวิตมีสุขตามหลักพระพุทธศาสนา ที่เกิดจากปัจจัยของการมีทรัพยากรที่ดี  การมีคนดีในชุมชนการมีเงินทุนหมุนเวียนดี และการมีชีวิตที่ดีจากการประกอบอาชีพที่สุจริต

 

อภิปรายผล

 

           ข้อมูลภายในพื้นที่พบว่ากระแสโลการภิวัฒน์ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม  เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในระดับน้อย  เนื่องจากชุมชนที่ศึกษาเป็นชุมชนขนาดเล็ก   ซึ่งสอดคล้องกับ  นัฐยา  แคฝอย (2546: 176-182)  ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540  พบว่าชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม   ส่วนสำคัญคือ ชุมชนที่เป็นกรณีศึกษาเป็นชุมชนที่มีลักษณะเด่นเรื่องรากฐาน การมีผู้นำที่เข้มแข็งทำให้ชาวบ้านศรัทธาและเป็นศูนย์รวมในการดำเนินงานต่าง ๆ และคุณลักษณะของชาวบ้าน ที่มีรากฐานความเสียสละต่อส่วนรวมและให้ความร่วมมือสูงในทุกกิจกรรมของชุมชน ด้านวัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลง 4 ข้อ ได้แก่ บทบาทของวัด ความเชื่อและการปฏิบัติตามคำสอน ประเพณีของฆราวาส และประเพณีท้องถิ่น 

หลักความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโดยใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง  จากการศึกษาพบว่า หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธประกอบไปด้วย 4 หลักใหญ่ คือ หลักความขยันมั่นเพียร  หลักความประหยัด  หลักการคบมิตรดี  และหลักความพอเพียง โดยเฉพาะหลักความพอเพียงที่เป็นหลักเดียวกันกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งแต่ละชุมชนได้นำมาเป็นหลักสำคัญที่สุดในการดำเนินการในการประกอบธุรกิจชุมชน นอกจากนี้ในแต่ละชุมชนยังใช้หลักการคบมิตรดีมาใช้ในการสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้      

              ความพอเพียง  องค์กรควรมีการใช้หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  มาใช้ในการบริหารจัดการ  องค์กรต้องมีการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป  ไม่ก้าวกระโดด  องค์กรควรมีการบริหารจัดการทางการเงินอย่างเหมาะสม เพราะหากองค์กรมีความเข้มแข็งทางการเงิน  องค์กรจะมีรายได้ไม่ฝืดเคือง  และองค์กรมีการสร้างเครือข่าย ความพอเพียง ร่วมกับองค์กรอื่น ๆ  หลักความพอเพียง ในการบริหารจัดการ  องค์กรควรมีการใช้หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  มาใช้ในการบริหาร  สอดคล้องกับงานวิจัยของ

            สง่า  พลสงคราม (2542) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธกับเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมไทย  ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ  (วันยาว)  (2548. 134-137)  ความรู้จักพอประมาณในพระพุทธศาสนากับหลักเศรษฐกิจในแนวพระรา

หมายเลขบันทึก: 468307เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2011 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท