อพยพ


น้ำท่วม

อพยพ

       คำว่าอพยพเป็นคำกริยา มีวามหมายตามพจนุกรมราชบัณฑิตยสถาน ว่า  ย้ายครอบครัวจากถิ่นหนึ่งไปอยู่อีกถิ่นหนึ่ง หรือยกพวกย้ายจากถิ่นเดิมไป 

         ในภาวะมหาอุทกภัยประเทศไทยขณะนี้  คำพูดที่กระเทือนใจประชาชนผู้ประสบภัยมากที่สุดคำพูดหนึ่งคือ คำว่า อพยพ  เหตุเพราะความไม่ปลอดภัย และไม่สะดวกในการให้ความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐรวมทั้งอาสาสมัครที่มากด้วยจิตอาสาด้วย

          ดังนั้นเป็นผลให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตที่ประสบภัยในทุกๆที่รวมทั้งญาติพี่น้องของผมที่มีบ้านเรือนอยู่ในเขตภาษีเจริญ และเขตตลิ่งชัน ต้องอพยพหนีมหาอุทกภัยครั้งนี้ด้วย

         ญาติผมดังกล่าว เป็นผลพวงจากที่น้าชายมารับราชการเป็นตำรวจใน กทม. ได้มีครอบครัวและตั้งหลักปักฐานอย่างมั่นคง  ลูกๆได้รับการศึกษา รับราชการและมีครอบครัว มีฐานะมั่นคงดรงชีวิตอย่างมีความสุข แต่เมื่อมาเจอมหาอุทกภัยจำเป็นต้องอพยพพาลุกหลานจำนวน ๗ ชีวิตเดินทางไกลไปพักอาศัยอยู่กับญาติที่บ้านกอกหวาน ตำบลโพธิศรี จังหวัดศรีเกษ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

         ตัวเองก็หยุดงานลูกหลานก็หยุดเรียน  ถ้ามองเฉพาะวิกฤตก็สาหัสมากๆ แต่มองถึงโอกาสก็ดีไม่น้อย  เพราะได้มีโอกาสมาสัมผัสกับธรรมชาติท้องไร่ท้องนาได้เห็นชีวิตชาวนา เห็นความยากง่ายในการทำนา  ได้เลี้ยงวัวเลี้ยงควายต้อนควาย ต้อนวัวเข้าคอกในยามเย็น  เป็นบรรยากาศที่คนกรุงเทพฯหาไม่พบแน่นอน

         กินข้าวที่ปลอดสารพิษ(ทำนาที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพ) กินผักกินปลาธรรมชาติและผลิตผลทางการเกษตรที่ลงมือทำเอง  สอบถามลูกหลาน ได้ความว่า มีความสุขกว่าอยู่ที่บ้านเขตภาษีเจริญ และเขตตลิ่งชันเป็นไหนๆ  ลูกหลานอ้วนท้วนแก้มเป็นพวง ที่เคยคิดว่าน้ำท่วมเป็นวิกฤต กลับกลายเป็นโอกาส  ญาติๆที่เคยห่างไกลทั้งระยะทางและเวลาก็ได้มาอยู่ด้วยกันอย่างสนุกสนาน   มหาอุทกภัยใช่จะเป็นแต่วิกฤตก็ไม่ใช่เสียแล้ว

          มหาอุทกภัยท่วมประเทศไทยครั้งนี้สาหัสนัก  สงสารประเทศไทย สงสารในหลวง และปวงพสกนิกรทั้งมวล สงสารเจ้าหน้าที่บ้านเมือง สงสารรัฐบาล สงสารนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร ยิ่งนัก

          แทนที่จะมัวแต่ตำหนิ และให้โทษให้ร้ายกัน  เรามาให้กำลังใจกัน ร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน เอื้ออาทรต่อกัน  เหมือนครอบครัวและญาติของผมที่บ้านนอก บ้านกอกหวาน ตำบลโพธิ์ศรี อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษดีกว่าไหม???????

คำสำคัญ (Tags): #สงสารนะ
หมายเลขบันทึก: 468106เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2011 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท