27 ต.ค. 2554 – อบรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ เรื่อง “การสร้างข้อสอบ”


วันนี้อบรมวันที่สามที่พวกเรานักศึกษาทุน สควค. รุ่น 14 ได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรม เรื่อง การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ สำหรับนักศึกษาโครงการ สควค. ซึ่งวันนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.บุญส่ง  นิลแก้ว มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ในวันนี้ หลังจากที่พิธีกรแนะนำวิทยากรเสร็จแล้ว ท่านวิทยากรก็กล่าวทักทายนักศึกษา และเล่าประวัติส่วนตัวของท่านให้นักศึกษาฟังโดยสรุป เพื่อให้นักศึกษานำไปเป็นแนวทางหรือประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต

กิจกรรมการอบกรมวันนี้ท่านวิทยากรได้เอาตัวอย่างข้อสอบมาทำการวิเคราะห์ข้อสอบ ว่าควรจะออกข้อสอบอย่างไรไม่ให้ถูกต่อว่า และให้นักศึกษาทำการสร้างแบบทดสอบคนละหนึ่งข้อ เพื่อนำข้อสอบของแต่ละคนไปทำการวิเคราะห์หน้าห้อง ซึ่งการออกข้อสอบจะต้องยึดเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นหลัก และจะต้องดูด้วยว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ และท้ายสุดจะต้องทำการวัดและประเมินผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้

จากนั้นอาจารย์ก็บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังนี้

- ลักษณะของผู้เขียนข้อสอบที่ดี

- ลักษณะของข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี

- หลักการเขียนข้อสอบแบบต่าง ๆ


วิทยากรบรรยายเรื่องการสร้างข้อสอบ

ช่วงบ่ายอาจารย์ให้นักศึกษาฝึกเขียนข้อสอบตามเนื้อหาและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมตามเอกวิชาที่เราเรียน คนละ 2 ข้อ และนำข้อสอบของแต่ละคนมาทำการวิพากษ์วิจารณ์ว่าข้อสอบเป็นอย่างไร


กำลังตั้งใจสร้างข้อสอบ

สิ่งที่วิทยากรฝากให้ข้อคิดกับนักศึกษาคือ “อย่ายึดข้อสอบเป็นตัววัดและประเมินผลเพียงอย่างเดียว เพราะข้อสอบเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญก็คือ จะต้องทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย (KAP)” และจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนรับในสิ่งที่เราสอน พบกับความสำเร็จกับสิ่งที่เราสอน

“อย่ายึดครูเป็นอาชีพ ขอให้ยึดครูเป็นวิชาชีพของพวกเรา” สิ่งที่วิทยากรฝากให้ข้อคิด

จากความรู้ที่ได้รับทั้งหมดนี้จากการอบรมล้วนเป็นประโยชน์ต่อพวกเรามากเลยค่ะ เพราะถือว่าใครที่จะเป็นครูจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างข้อสอบ เพื่อที่จะได้นำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ในการฝึกสอน และการเป็นครูในอนาคตต่อไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 468046เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2011 00:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 10:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท