ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2555


จปฐ. ปี 2555,ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ)



แนวทางการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2555

     ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของเครื่องชี้วัด ว่าอย่างน้อยคนไทยควรจะมีคุณภาพชีวิตในเรื่องอะไรบ้าง และควรจะมีระดับความเป็นอยู่ไม่ต่ำกว่าระดับไหนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และทำให้ประชาชนสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่า ในขณะนี้คุณภาพชีวิตของตนเอง และครอบครัวรวมทั้งหมู่บ้าน/ชุมชนอยู่ในระดับใด มีปัญหาที่จะต้องแก้ไขในเรื่องใดบ้าง เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ครอบครัวและสังคม

     ดังนั้น ข้อมูล จปฐ. ที่จะเก็บโดยผู้นำชุมชน หัวหน้าคุ้ม หรืออาสาสมัคร ด้วยความสนับสนุนของคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลระดับตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะทำให้ทราบว่าแต่ละครัวเรือนและหมู่บ้านชุมชน มีปัญหาเรื่องอะไรบ้าง และเมื่อทราบแล้ว สมาชิกในครัวเรือนต้องช่วยแก้ไข ส่วนใดที่ไม่สามารถแก้ไขได้เอง ก็ให้เป็นหน้าที่ของผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ที่จะเข้ามาดำเนินการต่อไป

 ต้องทำอะไรบ้างในเล่มจัดเก็บ จปฐ. (เล่มสีชมพู)

  1. ผู้จัดเก็บข้อมูล ทำความเข้าใจแบบสอบถามเล่มนี้โดยละเอียดทำการสัมภาษณ์ข้อมูล จากหัวหน้าครัวเรือน หรือภรรยา หรือสมาชิกของครัวเรือน ที่สามารถให้คำตอบได้โดยให้สมาชิกในครัวเรือนทุกคนที่อยู่ร่วมกัน ให้ข้อมูลพร้อมกันด้วย เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้และรับทราบปัญหาต่างๆ เพื่อร่วมกันหาทางแก้ไขต่อไป (โปรดใช้ปากกาสีน้ำเงินกรอกข้อมูล)
  2. หลังจากสัมภาษณ์ข้อมูลฯ ทุกข้อแล้ว ให้หัวหน้าครัวเรือนหรือผู้ที่ให้ข้อมูล และผู้จัดเก็บข้อมูลลงลายมือชื่อรับรองว่าได้มีการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง
  3. ผู้จัดเก็บข้อมูลร่วมกับผู้ให้ข้อมูล ช่วยกันสรุปผลการจัดเก็บข้อมูลของครัวเรือน ว่าผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์เรื่องใดบ้าง ลงในหน้าแบบสรุปคุณภาพชีวิตของครัวเรือน แล้วมอบให้หัวหน้าครัวเรือนเพื่อรับทราบผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ของครัวเรือนตนเอง และใช้ประโยชน์ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาของสมาชิกในครัวเรือนต่อไป
  4. ให้ผู้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ลงลายมือชื่อรับรองว่าได้มีการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริงก่อนที่จะมีการรวบรวมส่งบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. เป็นภาพรวมของหมู่บ้าน และตำบลต่อไป

 ผู้จัดเก็บข้อมูลและผู้ให้ข้อมูล

      ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ. คือ คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน ผู้นำชุมชน หัวหน้าคุ้ม อาสาพัฒนาชุมชน (อช.)อสม. หรืออาสาสมัครอื่นๆ (ควรคัดเลือกคนที่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้คล่อง เพราะจะช่วยทำให้การจัดเก็บข้อมูลมีประสิทธิภาพและได้ข้อมูลที่มีคุณภาพผู้ให้ข้อมูล คือ หัวหน้าครัวเรือน ภรรยา หรือสมาชิกในครัวเรือนที่สามารถให้ข้อมูลของครัวเรือนได้อย่างครบถ้วน

 พื้นที่การจัดเก็บข้อมูล และครัวเรือนเป้าหมาย

เป็นการสำรวจจากจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง* ณ วันที่จัดเก็บ โดยผู้ที่ถูกสำรวจต้องอาศัยอยู่ใน พื้นที่ไม่น้อยกว่า 180 วัน ภายในปีข้อมูลที่ทำการจัดเก็บนั้น ๆ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับจำนวนประชากร ที่มีอยู่จริงในจังหวัด โดยแบ่งการสำรวจออกเป็น 2 พื้นที่ คือ

  1. เขตชนบท หมายถึง เขตพื้นที่ ที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเขตพื้นที่ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบล
    (ที่ยกฐานะมาจาก อบต.)
  2. จัดเก็บข้อมูลทุกครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริงในหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งที่มีเลขที่บ้าน และไม่มีเลขที่บ้าน
หมายเลขบันทึก: 467623เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2011 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แบบสำรวจ จปฐ.ข้อ4.1 ข้อที่ว่าถ้ากินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต้องทำให้สุขด้วยความร้อน คนภาคอีสาน กินอาหารประเภทสุกๆดิบ เป็นส่วนมากในเขตชนบทกินลาบดิบ ปลาส้มปลาจ่อม ก้อยกุ้งทุกหลังคา มีประเด็นถามว่า กินประจำ หรือกินเป็นบางครั้งในรอบปีมีค่าเท่ากันหรือไม่ ถ้าไม่อย่างนั้นจปฐ.ข้อนี้ตกเยอะมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท