บทความวิชาการ "ผ้าขาวม้าสารพัดนึก"


วัฒนธรรมสร้างสรรค์ มนต์เสน่ห์แห่งผืนผ้าลายตาราง “ผ้าขาวม้าสารพัดนึก”

วัฒนธรรมสร้างสรรค์  มนต์เสน่ห์แห่งผืนผ้าลายตาราง

นามว่า “ผ้าขาวม้าสารพัดนึก”

  Creative Culture: the Wonderful and Versatile Pakama

 

                                                                      ดร.ธีรกานต์  โพธิ์แก้ว

บทคัดย่อ

 

                วัฒนธรรมบนผืนผ้าอันสวยสดงดงามของไทย  มีมากมายหลายหลาก  แตกต่างกันออกไป  แต่อีกหนึ่งลวดลายที่โดดเด่น คือ ผ้าลายตาราง ที่ใครๆ มักเรียกขานกันว่า “ผ้าขาวม้า”  ผ้าทอลายตาราง  ผ้าทอลายนี้จัดเป็นสัญลักษณ์สัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่อยู่เคียงคู่มากับคนไทยกว่าเก้าร้อยปี   คนไทยจำนวนมากมีความใกล้ชิดกับผ้าชนิดนี้มาตั้งแต่เด็กจนโต  ผ้าขาวม้าในอดีตเป็นผ้าที่ควรคู่กับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง  เหตุผลประการแรกเพราะ งานหลักของผ้าขาวม้าคือ ผ้าที่ใช้ขจัดสิ่งปฏิกูล เหงื่อไคลออกจากร่างกาย ผู้ชายมักใช้พาดบ่า  เคียนเอว  พกพาเวลาเดินทางไกล ไม่ใช่ผ้าที่ใช้เสริมความงาม  ประดับตกแต่งเรือนร่าง   ประการที่สอง ผ้าขาวม้าเป็นผ้าที่ใช้ในพื้นที่ส่วนตัว และมักใช้กับส่วนล่างของร่างกาย แม้นจะไม่มีข้อห้ามในการนำเอามาใช้กับส่วนบนของร่างกายก็ตาม  ผ้าขาวม้าจึงเปรียบได้กับของใช้ธรรมดาชิ้นหนึ่ง  ประการที่สาม ผ้าขาวม้าส่วนใหญ่ใช้เพื่อนุ่งห่มหรือปกปิดร่างกายของคนในแถบชนบทเสียเป็นส่วนใหญ่  คนเมืองจึงมองว่าเป็นเรื่องตลก และเชย  บัณฑิต  ปิยะศิลป์.  http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content2/show.pl?0325.

 จากการนำผ้าขาวม้าไปใช้ได้สารพัดประโยชน์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  จึงทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบการใช้ไม่ว่าจะเป็นนุ่งเล่น  อาบน้ำ   เคียนเอว  นำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า  รองเท้า  ทำชุดผ้าปูที่นอน  หมอน  ผ้าห่ม  ใช้เช็ดตัว  คาดศรีษะ  ผูกเป็นเปลนอนให้กับเด็กๆ  ใช้เป็นผ้ากันแดด  ตกแต่งเวทีสวยงาม   เป็นของที่ระลึก  และเป็นของฝาก  อื่นๆ อีกมากมาย   ส่งผลต่อความคิดที่ว่าใช้ผ้าขาวม้าแล้วตลก และเชยหายไปจากสังคมไทยในปัจจุบัน   ผู้เขียนรู้สึกหลงใหลในมนต์เสน่ห์แห่งผืนผ้าลวดลายตารางที่ว่านี้  จึงอยากนำเสนอเรื่องราววิวัฒนาการของผ้าขาวม้า  พื้นที่ทอผ้าขาวม้าในแต่ละภูมิภาค  รายละเอียดดังกล่าวจะสะท้อนให้เห็นภาพผ้าขาวม้าลายตารางสารพัดประโยชน์  ที่พัฒนามาเป็นผ้าขาวม้าสารพัดนึกภายใต้ความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย

 

คำสำคัญ :  วัฒนธรรม  สร้างสรรค์  ผ้าขาวม้า  สารพัดนึก

 

Abstract

 

                The clothing culture of Thailand has various beautiful types. But there is a significant one made from chintz that is called ‘Pakama’. The yarn dyed fabric has been a cultural symbol of Thais for more than nine hundred years. A lot of Thais are familiar with it from a young age. In the past it was worn more by men than women. There are many advantages from using Pakama. Firstly, it was able to wipe sweat, remove scurf from the body. Men liked to place it on their shoulder, tie it around the waist and carried it when they took a trip. It was not worn to be fashionable or for decoration. Secondly, it was clothing to cover the body and it usually used for the lower-part and the upper-part, if there was no prohibition in the use for the upper-part. It was comparing to a normal appliance. Thirdly, it was used mainly for people apparel or cover in the rural areas, city people remarked it as funny and out-trend. The development of the versatility of the Pakama from past to present can be seen by its use for dressing-up, taking a bath, tie around the waist, sew up to make clothes, shoes, making bed linen, pillow, sheet, towel, head-band, cradle-tie for children, protection from the sun, making beautiful stage decoration, to be a souvenir or gift. Therefore, these perceived advantages of the Pakamas have disappeared from Thai society at the present and the Pakama is seen to be strange and unfashionable. The author is interested with this cloth and would like to present its development in individual regions. The aforementioned details show the chintz being used for the versatile ‘Wonder Pakama’ by the creative thinking of Thais.

 

Key  words :  Culture  Creative  Pakama 

                ผ้าขาวม้าสารพัดประโยชน์ที่กล่าวถึงนี้  มีความผูกพันกับผู้คนในครอบครัวไทยมายาวนาน  ผ้าขาวม้ากลายเป็นรหัสทางวัฒนธรรมที่พบได้ในภาษาทั่วไป  ในทุกภูมิภาคของประเทศ  ภาษาวัฒนธรรมของผ้าขาวม้า  ต้นกำเนิดแม้ว่าจะไม่ได้เป็นภาษาไทยโดยตรง  แต่ความงามของลายตารางก็ได้ซุกซ่อนอยู่ในเส้นใยผ้าทอมือ  วัฒนธรรมการทอที่ได้ถักทอเส้นใยธรรมชาติ  สีสันแห่งธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นผ้าที่งามสง่าแบบไหม หรืออ่อนโยนเหมือนฝ้าย ยังคงความเป็นลายตารางที่สวยงาม  หากพิจารณาลึกลงไปถึงรหัสวัฒนธรรมที่ว่านี้  จะทำให้อ่านปริศนาที่แฝงเร้นอยู่  โดยไม่อาจมีผู้ใดล่วงรู้เลยว่าเส้นใยหนึ่งที่ลุ่ยออกจากกระสวยไปซ้อนทับเส้นอื่นถ้าเป็นเส้นแนวตรง หรือแนวพุ่งขึ้น  จะเป็นตัวตั้งหรือเป็นเส้นที่อยู่ข้างบนปริศนานี้จะแทนคำว่า “โชค”  หมายถึง  โชคที่พุ่งขึ้น หรือโชคดีนั่นเอง  ถ้าใยเส้นสอดอยู่ด้านล่าง  หรือข้างใต้เป็นแนวยาวจะแทนคำว่า “ชะตา”  ปริศนานี้ แปลความว่า  ชะตาที่ยืนยาว  รหัสที่ว่านี้ยังได้บ่งบอกถึงดุลภาพแห่งความพอเพียง  และสอดคล้องกับปรัชญาของขงจื้อที่ว่า“ร้อยคน  ร้อยความคิด  ร้อยชีวิต  ร้อยฟ้าลิขิต”  โชคชะตา  จึงถูกส่งมอบมาให้แก่ผู้ที่บุกบั่น  มุ่งมั่น  ขยันหมั่นเพียร  สร้างสเถียรภาพสมดุลแห่งชีวิต”  นี่จึงเป็นที่มาว่าทำไมคนไทยจึงนิยมนำผ้าขาวม้ามามอบเป็นของที่ระลึก  ของฝาก  และของบูชาคุณแก่ผู้อาวุโสนั่นเอง  (ธัชฤทธิ์  ปนารักษ์   http://www.ayutthaya.go.th/Loincloth/1.pdf)

                เมื่อสืบหาที่มาทำให้ทราบได้ว่า “ผ้าขาวม้า”  ไม่ใช่คำไทยแท้  แต่เป็นภาษาเปอร์เซียที่มีคำเต็มว่า “กามาร์บันต์” (Kamar band)  “กามาร์”  หมายถึง เอว  หรือ ท่อนล่างของร่างกาย  “บันด์” แปลว่า พัน  รัด  หรือคาด  เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกัน  จึงหมายถึง เข็มขัด  ผ้าพัน หรือคาดสะเอว  คำว่า “กามาร์บันด์”  ยังปรากฏอยู่ในภาษาอื่นๆ อีก เช่น ภาษามลายู  มีคำว่า “กามาร์บัน” (Kamaban) ภาษาฮินดี้ ใช้คำว่า “กามาร์บันด์”  เช่นเดียวกับภาษาเปอร์เซีย  แต่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “คัมเมอร์บันด์” (Commer band) หมายถึง ผ้ารัดเอวในชุดทัคซิโด้ (Tuxedo)  ซึ่งเป็นชุดสำหรับออกงานราตรีสโมสร  นอกจากนี้งานวิจัยเรื่อง “ผ้าขาวม้า” ของ อาภรณ์พันธ์  จันทร์สว่าง  อธิบายว่า “ผ้าขาวม้า” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “กามา” (Kamar)  ซึ่งเป็นภาษาอิหร่านที่ใช้กันอยู่ในประเทศสเปน  เข้าใจว่าสเปนได้นำเอาคำว่า “กามา” ซึ่งเป็นภาษาแขกไปใช้ด้วย เพราะในประวัติศาสตร์  ประเทศทั้งสองน่าจะมีความสัมพันธ์ติดต่อกันมาช้านาน  (อาภรณ์พันธ์          จันทร์สว่าง.  2523) 

                ประวัติศาสตร์แห่งผืนผ้าที่มีบันทึกในฐานข้อมูล  แสดงให้เห็นว่าผ้าขาวม้าเป็นผ้าโบราณ คนไทยรู้จักการใช้ผ้าขาวม้ามาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ถ้านับเวลาย้อนไป จะตรงกับยุคสมัยเชียงแสน  ในสมัยเชียงแสนผู้หญิงมักจะนุ่งผ้าถุง  ส่วนผู้ชายเริ่มใช้ผ้าเคียนเอว (ผ้าขาวม้า)  ซึ่ง  ได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมมาจากไทยใหญ่  แต่ไทยใหญ่นั้นกลับใช้ผ้าขาวม้าในการโพกศรีษะ  คนไทยเรียนรู้จากเชียงแสนโดยใช้มาเคียนเอว จากนั้นเริ่มปรับประยุกต์มาใช้ประโยชน์ในการเดินทางไกล  โดยใช้ห่ออาวุธ  เก็บสัมภาระ  ปูเป็นที่นอน  นุ่งอาบน้ำ  เช็ดทำความสะอาดร่างกาย  สำนักหอสมุดกลาง  มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 

http://www.lib.ru.ac.th/journal/loincloth.html.

“เคียน” เป็นคำไทย  มีความหมายตามพจนานุกรม  คือ พัน  ผูก  พาด  โพก  คาด  เมื่อนำมารวมกับคำว่า “ผ้า” และส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น เอว  จึงหมายความว่า  เป็นผ้าสำหรับคาดเอว  แต่คนไทยโบราณจะคุ้นเคยกับคำว่า “ผ้าเคียนเอว” มากกว่า “ผ้าขาวม้า”  เนื่องจากเรียกกันมาแต่โบราณ  “ผ้าข้าวม้า” พึ่งมานิยมเรียกกันภายหลัง  เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นขอยกตัวอย่างภาพถ่ายจิตกรรมฝาผนังของวัดภูมินทร์จังหวัดน่าน ที่ผู้เขียนได้ถ่ายเก็บไว้เพื่อการศึกษาเรียนรู้  ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

        ผู้ชายนิยมใช้ผ้าพาดบ่าและเคียนเอว                   ผู้ชายบางคนจะใช้ผ้าโพกศรีษะ

         เพื่อใช้เหน็บอาวุธประจำกาย                                            

                                     

            ในสมัยเชียงแสนนั้นผู้ชายเริ่มรู้จักใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่า  เคียนเอว    ปกติจะไม่นิยมสวมเสื้อ  แต่ถ้ามีอากาศหนาวจะนิยมสวมเสื้อปิดคอ  แขนยาว  (สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง)

 

 

 

 

 

 

 

                                  ผู้หญิงนิยมทอผ้าใส่เอง              

                                                                                              ผู้หญิงส่วนใหญ่จะนิยมใส่ผ้าทอที่มี

                                                                                               

                หลักฐานแสดงว่าคนไทยเริ่มใช้ผ้าขาวม้าในสมัยเชียงแสน  มีปรากฏให้เห็นในภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน  และการแต่งกายของหญิง และชายในสมัยอยุธยาจากภาพเขียนใน “ไตรภูมิอยุธยา”  ราวต้นศตวรรษที่ 22 จะเห็นว่าชาวอโยธยานิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่อ คาดพุง  นิยมนุ่งโจงกระเบนแล้วใช้ผ้าขาวม้าคล้องคอตลบห้อยชายทั้งสองข้างไว้ด้านหลัง  สมัยรัตนโกสินทร์ทั้งชายและหญิงนิยมใช้ผ้าขาวม้ามาทำประโยชน์มากยิ่งขึ้น  โดยไม่จำกัดเพียงเพศชายเหมือนในสมัยอดีต  และไม่ได้จำกัดไว้เพียงเป็นเครื่องแต่งกายเพียงอย่างเดียว

                ผ้าขาวม้าอยู่คู่กับคนไทยมาทุกยุคทุกสมัย แม้ว่าร่องรอยประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาจะทำให้ทราบได้ว่าไม่ใช่ผ้าของคนไทย  แต่ระยะเวลาที่ยาวนาน  ทำให้มีพัฒนาการของการใช้ประโยชน์ ภายใต้ศาสตร์แห่งสีสันและศิลป์แห่งลวดลายที่นำมาผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม  ผ้าขาวม้าเป็นผ้าสารพัดประโยชน์จริงหรือ? อยากให้ฟังบทเพลงนี้ดูจะได้รู้ชัดเจนขึ้น....บ้านเมือง.  (2541)  “ย้อนอดีตตามกลิ่นอายผ้าสารพัดประโยชน์”  27 มกราคม : 17-18.

 

                ยามเย็นเดินเล่นชายทุ่ง                      ผ้าขาวม้าคาดพุงนุ่งกางเกงขายาว

แต่งตัวไปอวดสาวๆ                                            นุ่งกางเกงขายาวผ้าขาวม้าคาดพุง

                ผ้าขาวม้ามีค่ามากหลาย                      ทุกคนชอบใช้ไม่ว่าบ้านนอกในกรุง

ซื้อหาราคาไม่สูง                                                 คาดเอวลงทุ่ง  ลมพัดสบาย

ขนาดพอดีไม่เล็กไม่ใหญ่                                  ใช้นุ่งก็ได้หรือจะเอาไว้ไล่ยุง

                ใช้เช็ดขา  เช็ดหน้า  เช็ดตัว              บางคนโพกหัวพอชื่นอุรา

มัดของก็ดูแน่นหนา                                           รองหลังรองบ่าเช่นพวกจับกัง

ปัดฝุ่นถูเรือนกันเปื้อนทุกอย่าง                         หรือใช้ปูนั่นเต๊ะท่าดูหนังตะลุง      

                พวกผู้หญิงบางคนชอบใช้ ยกทรงก็ได้  กระโจมอกก็น่าดู

ใช้แขวนแทนเปลไอ้หนู                                    หรือโยงเป็นอู่ก็ทุ่นราคา

แผนผ้าห่มนอนแทนหมอนกลางป่า               หรือใช้พาดบ่าก็เท่หนักหนาคุณลุง

                ยามจนขัดสนหนักหนา                     ต้อนทนก้มหนาใช้ผ้าขาวม้าแปรงฟัน

คิดๆ  แล้วมันน่าขัน                                            ใช้กันจนมั่วประโยชน์มากมาย

มีเรื่องอับจนขัดสนวุ่นวาย                 ใช้ผูกคอตายสะดวกสบายหายยุ่ง

               

                                                                         (เนื้อเพลงผ้าขาวม้า ของ สาริกา  กิ่งทอง)

                                                                ที่มา : บ้านเมือง.  27  มกราคม 2541.  หน้า 17-18.

 

                เรื่องราวของผ้าขาวม้ายังมีการถ่ายทอดผ่านความเชื่อจากเรื่องเล่า “นิทานกำเนิดผ้าขาวม้า” จากบันทึกของผ้าขาวม้ารำลึกตามรอยผ้าขาวม้าของพ่อ กล่าวว่า  กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว  มีช่างทอผ้าผู้หนึ่ง  เกิดอุตริไปปัสสาวะรดต้นไม้ใหญ่ในป่าที่มีนางไม้สิงสถิตอยู่โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์  นางไม้ด้วยความโกรธแค้นจึงแปลงร่างเป็นมดคันไฟเข้าไปกัดบริเวณที่ลับช่างทอผ้าจนบวมแดง       ช่างทอผ้าหลังจากโดนนางไม้กัด (มดคันไฟ) ทุนรนทุรายอยู่หลายวัน  ทั้งแสบทั้งคัน  คิดว่าไม่นานอาการคงจะดีขึ้น คิดเพียงว่าแค่มดคันไฟกัดเดี๋ยวเดียวคงหาย  ต่อมาปรากฏว่าอาการไม่ดีขึ้น  ภรรยาของเขาจึงรีบไปตามหมอมารักษาอาการของช่างทอผ้า  ซึ่งไม่มีวี่แววว่าจะหาย  ต่อมาเดือดร้อนถึงพระภูมิเจ้าที่ประจำบ้านที่อดสมเพชเวทนาไม่ได้  จึงได้มาเข้าฝันช่างทอผ้าในค่ำคืนหนึ่ง  เพื่อบอกถึงสาเหตุความทุกข์ทรมานของช่างทอผ้า  และบอกวิธีการแก้ไข

                ในฝันพระภูมิบอกกับช่างทอผ้าว่า  ให้เขาทอผ้าฝ้ายเป็นลายตารางหมากรุก  สลับสีสลับลายให้สวยงามแล้วนำไปกราบไหว้ขอขมากับนางไม้ตรงบริเวณต้นไม้ที่ช่างทอผ้าไปยืนปัสสาวะรด  โดยให้นำผ้าที่ทอนั้นไปพันไว้โคนต้นไม้เป็นเวลาสามวัน  หลังจากสามวันแล้วให้นำผืนผ้านั้นกลับมานุ่งแทนเสื้อผ้าเป็นเวลาสามวัน  แล้วช่างทอผ้าก็จะหายจากอาการที่เป็นอยู่

                วันรุ่งขึ้นพอช่างทอผ้าตื่นขึ้นมา  ได้เล่าความฝันให้ภรรยาฟัง  ภรรยาถามเขาว่าได้ไปปัสสาวะรดต้นไม้ใหญ่จริงหรือไม่  ช่างทอผ้าตอบว่าจริง  นางจึงบอกให้สามีรีบเร่งไปขอขมากับนางไม้ตามที่พระภูมิเจ้าที่มาเข้าฝันโดยเร็ว  หลังจากช่างทอผ้าได้ทำการขอขมากับนางไม้ตามที่พระภูมิเจ้าที่  อาการของช่างทอผ้าได้หายเป็นปลิดทิ้ง  แม้นเขาจะหายจากอาการคันแล้ว  เขาก็ยังนุ่งผ้าขาวม้าที่ใช้ขอขมานางไม้มาโดยตลอด  มิหนำซ้ำเขายังได้แจกจ่ายผ้าขาวม้าให้กับเพื่อนบ้านคนอื่นๆ ได้นำไปใช้ประโยชน์อีกด้วย  ซึ่งภายหลังผ้าขาวม้าจึงได้รับความนิยมเรียกกันติดปากว่า “ผ้าขมา”  ผ้าที่ใช้แทนการขอโทษ  หรือแทนคุณ  จนกระทั่งปัจจุบันได้เพี้ยนมาเป็น “ผ้าขาวม้า” ในที่สุด   http://mblog.manager.co.th/comenubb/th-87272/  (2554, พฤศจิกายน  1).

                คำบอกเล่าเกี่ยวกับความเชื่อของผ้าขาวม้ายังเกี่ยวข้องกับเรื่องเวทมนต์  ดังเรื่องเล่าเกี่ยวกับ

หลวงพ่อพรหมวัดช่องแค  ตำบลตากฟ้า  อำเภอตาคลี  จังหวัดนครสวรรค์  ชาติภูมิเดิมเป็นชาวตำบลบ้านแพรก  อำเภอบ้านแพรก  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2477 ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญถึงรหัสปริศนา  ผ้าขาวม้าของชาวบ้าน  จึงนำเอาผ้าขาวม้าของชาวบ้าน  ตำบลหนองน้ำใส  อำเภอภาชี  ซึ่งมีรกรากจากชาวเวียงจันทน์  นำมาเสกด้วยพุทธาคม เป็น “ผ้าขาวม้ามหาเวทย์”   เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน  และใช้ในพิธีสำคัญ ต่างๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ชาวบ้านจะนำผ้าขาวม้ามาผูกไว้ที่เสาเอกแขวนไว้ที่ขื่อ  ซึ่งมีความเชื่อว่าสามารถป้องกันขโมยลักวัว ควาย  เป็ด ไก่ได้  บางแห่งนำไปขับไล่เสนียดจัญไร  ขับไล่นก  หนู  แมลง  เพลี้ยกระโดด  ไม่ให้ไปทำลายข้าวที่ตั้งไว้ในท้องไร่ท้องนา  ความเชื่อในความมหัศจรรย์  จากปริศนาแห่งโชคชะตา  บนเส้นใยผ้าขาวม้า  สรุปได้ว่า  “ผ้าขาวม้าแห่งโชคชะตา  ทรงคุณค่าสู่สากล”  วัฒนธรรมผ้าขาวม้า  ของชาวอยุธยาจึงมีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 150 ปี  จากบรรพชนสู่เยาวชน  ในรุ่นปัจจุบัน  (หลวงพ่อพรหม  วัดช่องแค. 2539) 

 จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้นำผ้าขาวม้ามาออกแบบใช้เป็นเครื่องแต่งกายที่มีสีสันสวยงาม  พร้อมทั้งดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์คุณค่า  รักษาความเป็นไทย นอกจากนี้ทางจังหวัดยังมีการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมให้ข้าราชการทุกหมู่เหล่า  หันมานิยมสวมใส่ผ้าขาวม้าเป็นเครื่องแต่งกาย  มีการถ่ายแฟชั่นผ้าขาวม้า  และรณรงค์ให้กลุ่มอาชีพทอผ้า อำเภอภาชี  อำเภอบางซ้าย และกลุ่มทอดผ้าต่างๆ หันมาทอดผ้าขาวม้าด้วยสีสันที่สะดุดตา  เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับหัตถกรรมและอุตสาหกรรมครัวเรือนจนเรียกได้ว่า “Lifestyle  วัฒนธรรม  สีสันชูราศี  แฟชั่นดี  ผ้าขาวม้า  เคียงคู่อยุธยา  จากหัตถา  สู่สากล”  การทอผ้าขาวม้าไม่ได้นิยมกันเพียงเฉพาะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเท่านั้น  แต่ผ้าขาวม้านั้นทอกันทุกภูมิภาคในประเทศไทย  ตัวอย่างของพื้นที่ที่นิยมทอผ้าขาวม้า มีดังนี้  (http://www.ayutthaya.go.th/Loincloth/1.pdf)

         

 

 

 

 

 

 

ภาพถ่ายผ้าขาวม้า  บ้านหนองเขื่อนช้าง จังหวัดมหาสารคาม

 

  1. 1.              ภาคกลาง

1.1      ผ้าขาวม้าพระนครศรีอยุธยา ผ้าขาวม้าผืนเล็กใช้ทอผืนแคบ และจะมีบางผืนที่ทอผืนใหญ่เป็นพิเศษเอาไว้สำหรับตัดเป็นเสื้อผ้า  หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์  ลวดลายคละสลับกันเป็นตารางหมากรุกประมาณครึ่งนิ้ว  และมีสองสีสลับด้าน  ด้านตามยาวของปลายทั้งสองข้าง ทำเป็นลายริ้วสลับสีกัน เช่น ขาวแดง  ขาวแดง  แดงดำ  ขาวน้ำเงิน

                    1.2  ผ้าขาวม้าจังหวัดนครสวรรค์  จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าผ้าขาวม้ามักจะทอกันอยู่แถบตำบลบ้านไร่ อำเภอลาดยาว  และอีกที่หนึ่งที่นิยมทอในปัจจุบัน  บ้านตะเคียนเลื่อน  ตำบลเกาะหงส์  อำเภอเมือง  สีของผ้าขาวม้าจะเป็นสีที่ตัดกันทอเป็นลายตาสก๊อต  นิยมใช้เส้นด้ายฝ้ายในการทอผ้าขาวม้า  เพราะฝ้ายจะมีความนิ่มเนื้อละเอียด 

                     1.3  ผ้าขาวม้าจังหวัดกาญจนบุรี  จะมีสีสันสดใสหลากสีด้วยกัน  ผ้าขาวม้าผืนหนึ่งมักจะใช้สีที่ทอสลับกันประมาณสี่สี  สำหรับสีของเส้นไหมที่ทอเมื่อ 2 สีขดไปเกิดซ้อนกันก็จะทำให้ได้สีใหม่ขึ้นมา  ทำให้มีสีสันสวยงามมากขึ้น  สำหรับผ้าขาวม้าของจังหวัดกาญจนบุรีมิได้มีเพียงลวดลายเดียวตี่มีหลากหลายลวดลาย  ซึ่งให้ความงดงามต่างจากถิ่นอื่น

                     1.4  ผ้าขาวม้าจังหวัดชัยนาท  จะมีลักษณะเป็นผ้าทอด้วยไหมประดิษฐ์  ด้วยโทเร  และด้วยฝ้ายออกมาเป็นผลิตภัณฑ์  แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมทอด้วยโทเร  ทอเป็นลายสก๊อต  ลายทาง  หรือลายสี่เหลี่ยม  และผ้าขาวม้าของ  ตำบลเนินขาม  อำเภอหินตามีชื่อเรียกว่า “ผ้าขาวม้า 5 สี”คือ สีแดง  เหลือง  ส้ม  เขียว  ขาว  การทอผ้าขอม้าจะทอแบบเดียวกับกันผ้ามัดหมี่ คือ การมัดแล้วย้อมเป็นสีต่างๆ

                    1.5  ผ้าขาวม้าจังหวัดลพบุรี  ณ  อำเภอบ้านหมี่  จังหวัดลพบุรี  จัดได้ว่าเป็นแหล่งทอดผ้าพื้นเมืองที่เรียกได้ว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  ลักษณะผ้าดั้งเดิมของอำเภอบ้านหมี่จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะชาวอำเภอบ้านหมี่เป็นชาวไทยพวนที่อพยพมาจากประเทศลาว  ดั้งนั้นผ้าขาวม้าอำเภอบ้านหมี่จึงถือว่าเป็นผ้าความม้าที่มีลวดลาย  สีสันสวยงาม  และเป็นผลงานของผ้าทอมือที่ประณีตมาก

                     1.6  ผ้าขาวม้าจังหวัดราชบุรี  ผ้าขาวม้าจังหวัดราชบุรี  ส่วนใหญ่จะทออยู่ 2 ลวดลาย คือ ลายหมากรุก  และลายตาปลา  เป็นผ้าขาวม้าที่สวยงามเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป  ราคาถูก  และสีไม่ตก  สำหรับผ้าขาวม้าของจังหวัดราชบุรีจะรู้จักการในนาม “ผ้าทอบ้านไร่”  แต่ในปัจจุบันผ้าขาวม้าของจังหวัดราชบุรี     มีชื่อเสียงโด่งดังมาก  จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของคนรุ่นใหม่ ที่มีการพัฒนาสี  ลวดลาย  รูปแบบ  ให้ผ้าขาวม้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยมากขึ้นในชื่อ “Pakamian”

 

                2.  ภาคอีสาน

                  ภาคอีสาน จะเรียกผ้าขาวม้าว่า ผ้าแพ ผ้าแพอีโป้ ผ้าขาวม้า ซึ่งในอีสานเองจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ผ้าแพรขาวม้าจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคล้ายตาหมากรุก และผ้าแพรใส้ปลาไหล หรือผ้าแพลิ้นแลน และในพจนานุกรมภาษาถิ่นอีสาน ก็จะเรียกว่า ผ้าขัดด้าม ผ้าขาวด้าม หรือผ้าด้าม

                2.1  ผ้าขาวม้าจังหวัดศรีสะเกษ  ผ้าทอของจังหวัดศรีสะเกษได้รับอิทธิพลมาจากลาว  สำหรับผ้าขาวม้าของศรีสะเกษนั้นจะมีการทอด้วยไหมและฝ้าย  ผ้าขาวม้าที่ทอด้วยผ้าไหมจะทำในโอกาสพิเศษ  หรืองานพิธีสำคัญเท่านั้น  ส่วนลายของผ้าขาวม้าที่ทอจะเป็นลายเส้นขัดเป็นตารางหมากรุก  นิยมใช้สีกั้น 2 หรือ 3 สี  ในการทอจะใช้ “เขา” เพียง 2 เขา เท่านั้น  วิธีการสร้างลายจะสับหูกเส้นเครือหรือเส้นยืนด้วยสีต่างกัน  หรือจะใช้เส้นด้ายสีต่างกันพุ่งสลับกันตามต้องการ

                2.2 ผ้าขาวม้าจังหวัดสุรินทร์  ปัจจุบันมีการทอมากในกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์  บ้านเขวาสินรินทร์  จังหวัดสุรินทร์  ชาวสุรินทร์มักใช้ผ้าขาวม้าในการแต่งกายประจำจังหวัดใน   พิธีกรรมที่สำคัญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายมักจะมีผ้าขาวม้ามาเกี่ยวข้องเสมอ  ลายผ้าขาวม้าของจังหวัดสุรินทร์จะเป็นผ้าลายตารางสีแดงดำ  เขียวเข้ม  และชาวสุรินทร์จะมีผ้าข้าม้าประจำตระกูลเมื่อสิ้นบุญผู้อาวุโสมักจะมอบผ้าขาวม้าไว้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน

                2.3  ผ้าขาวม้าจังหวัดมหาสารคาม  ปัจจุบันการทอผ้าขาวม้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดมหาสารคาม จะอยู่ที่บ้านหนองหิน  ตำบลโคกก่อ  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม  เอกลักษณ์โดดเด่น คือ เป็นผ้าขาวม้าทอมือ  ด้วยสีธรรมชาติ  มีการพัฒนาลวดลายให้ทันสมัยมากขึ้น  ผ้าขาวม้าคุณภาพดีของกลุ่มยังถูกจัดส่งไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น  ทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากทางจังหวัดให้พัฒนาด้านการตลาด  มีการตั้งชื่อสินค้าในนาม “ศิลาภรณ์”  และนำผ้าขาวม้าที่เป็นผ้าฝ้ายคุณภาพดี  มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตัดเย็บเป็น  เสื้อผ้า  รองเท้า  กระเป๋า  ผ้าห่มเป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสีสันที่สวย  สดใส  ทันสมัย  และมีการย้อมสีตามคำสั่งของลูกค้าผ้าขาวม้าบ้านหนองหิน  มีชื่อเสียงโด่งดัง  เพราะคุณภาพดี  และตัวแทนของกลุ่มได้ไปจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เมืองทองธานีหลายครั้ง

                2.4  ผ้าขาวม้าจังหวัดขอนแก่น  จัดได้ว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีความวิจิตรพิสดารตระการตา  ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์เป็นลายเฉพาะของผ้าขาวม้าจังหวัดขอนแก่น  ลายผ้าขาวม้าจะเป็นลาย “หมี่กง”  ซึ่งเป็นต้นแบบและเป็นลายเก่าแก่ของผ้าเมืองขอนแก่น  ส่วนสีจะเน้นที่สี  ม่วง  แดง  เขียว  จัดเป็นสีดั้งเดิมของผ้าขาวม้าขอนแก่นและทำการทอลักษณะแบบ 3 ตะกอ  จึงทำให้ผ้ามีลักษณะที่หนาเนื้อผ้าแน่น

                2.5 ผ้าขาวม้าจังหวัดอุดรธานี  มหัศจรรย์ผ้าขาวม้าอเนกประสงค์  ภูมิปัญญาชาวบ้านชุมชนดอนอีไข  ได้รับการสนับสนุนจากท้องถิ่นเทศบาลตำบลหนองสำโรง  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  ให้ทอผ้าขาวม้าพื้นบ้าน   เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์  ในหลายรูปแบบ  เช่น ลายขาวดำ  ลายขัดพื้น  มีทุกสีให้เลือก  นอกจากนั้นยังมีเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ตัดเย็บจากผ้าขาวม้าจำหน่าย  ทั้งของสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี ในราคาตั้งแต่ 400-1,000 บาท

              2.6  ผ้าขาวม้าจังหวัดยโสธร  บ้านหัวเมือง  ตำบลหัวเมือง  อำเภอชนะชัย  จังหวัดยโสธร เป็นหมู่บ้านคนขยัน  ตั้งอยู่ในทุ่งกว้าง  เขตรอยต่อทุ่งกุลาร้องไห้  ชาวบ้านได้รับการสนับสนุนจากประธานกลุ่มแม่บ้าน  หลังจากเสร็จสิ้นฤดูการทำนาหันมาทอผ้าขาวม้า  ทอผ้าห่ม ซึ่งเป็นงานทอในขั้นพื้นฐาน เพื่อเก็บไว้ใช้เองในครอบครัว  และใช้เป็นของฝากของที่ระลึกเล็กๆ  น้อยๆ  เมื่อเหลือก็นำมาจำหน่าย  ชาวบ้านรวมกลุ่มกันได้เหนียวแน่นจึงได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานพัฒนาชุมชน  และมีการพัฒนาในด้านการตลาดมากขึ้น  (ข่าวสด.  วันที่ 12 ตุลาคม 2542  : 28)

 

                3. ภาคเหนือ                                                                                                                   

                  ภาคเหนือ จะเรียกผ้าขาวม้าว่า ผ้าหัว ผ้าตะโก้งหรือตาโก้ง ซึ่งจะหมายถึงผ้าลายตาราง      ผ้าเตี่ยว

                      3.1  ผ้าขาวม้าจังหวัดแพร่  ปัจจุบันการทอผ้าขาวม้าของจังหวัดแพร่  มักจะพบในพื้นที่อำเภอเมือง  อำเภอสูงเม่น  อำเภอสอง  และอำเภอร้องกวาง  การทอลักษณะแบบ “จก”  ที่บริเวณของผ้าขาวม้าด้วย  เรียกว่า “ผ้าขาวม้ามีเชิง”  เชิงของผ้าขาวม้าจะมีเทคนิคการจกลวดลายเพิ่มเติมเข้าไปในตัวผ้า  ส่วนใหญ่จะเป็นลายหมากรุก  หรือลวดลายเรขาคณิตทั่วไป  ส่วนลายที่จกจะเป็นลายสัตว์ตามคตินิยม  ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละกลุ่มชน  เช่น  ลายนก  ลายช้าง  ลายม้า เป็นต้น

                     3.2  ผ้าทอจังหวัดน่าน    การทอผ้าของชาวน่านมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ดังปรากฏภาพฝาผนังในวัดภูมินทร์  ผ้าขาวม้าชาวน่านจะเรียกกันว่า “ผ้าตะโก้ง” ส่วนมากมักนิยมทอด้วยฝ้าย  เส้นฝ้ายนั้นทำเองตั้งแต่ปั่นฝ้าย  ย้อมสี  และสีที่ใช้ทอมักจะเป็นสีจากเปลือกไม้กลัด  ไม้ประดู่  มะเกือ  ใบสัก เป็นต้น  เดิมจะนิยมทอผ้าขาวม้าเป็นสีแดงดำ  ซึ่งเป็นสีดั้งเดิม  แต่ปัจจุบันนิยมทอผ้าขาวม้าให้มีสีคลาสสิคมากยิ่งขึ้น  โดยเน้นสีเขียว  ฟ้า  น้ำตาล  เป็นสีที่กลมกลืนกับธรรมชาติ  บริเวณชายผ้ามักจะจกลายช้าง  ลายม้า  ลายเจดีย์  ลายยกดอกลวดลายที่ทอเน้นเกี่ยวกับความเชื่อ  ความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ใช้  ผ้าทอของจังหวัดน่านจะคล้ายคลึงกับจังหวัดแพร่  แต่จะแตกต่างกับผ้าขาวม้าของที่อื่นตรงบริเวณเชิงผ้าที่มีการจกลายเพิ่มเติม  แต่ปัจจุบันกลุ่มทอผ้าของจังหวัดต่างๆ ก็มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  การทอผ้าของจังหวัดแพร่และน่านจึงมีการถ่ายทอดความรู้ไปให้จังหวัดอื่นๆ  บางพื้นที่จึงมีการทอผ้าขาวม้าและจกลายบริเวณเชิงผ้าเพิ่มเติมด้วย  จัดว่าเป็นการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมอีกทางหนึ่ง

 

4.  ภาคใต้

     ภาคใต้ เรียกผ้าขาว

หมายเลขบันทึก: 467482เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2011 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2012 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท