13 คำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับน้ำท่วมครั้งนี้


ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงเร็วไม่แน่นอน ทายไม่ได้ว่าคืออะไร?


บทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับวันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2554 ติดตามอ่านบทความย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ

http://www.naewna.com/allnews.asp?ID=97&HL=0&no=1

13 คำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับน้ำท่วมครั้งนี้

                ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงเร็ว
ไม่แน่นอน ทายไม่ได้ว่าคืออะไร?    คำพูดแบบนี้ผมใช้สอนลูกศิษย์เพื่อให้เป็นสังคมการเรียนรู้ มีปัญญาหาทางแก้ปัญหาตลอดเวลาใช้ความคิดสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรม ได้รับมีความรู้สดและข้ามศาสตร์

                ในช่วงสภาวะปกติก็สำคัญมากเพราะประเทศอื่นๆขยายตัวไปข้างหน้า ไทยก็ต้องตามให้ทัน

                แต่ในช่วงวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ยิ่งสำคัญมากขึ้น
ผมเองก็ต้องติดตามความคิดและอ่านวิเคราะห์สื่อต่างๆ บางฉบับเขียนได้ดี
บางฉบับก็รายงานความคืบหน้า What มากกว่า Why

                แต่ที่สำคัญที่สุดคือต้องกระตุ้นให้คนไทยคิดเป็น
วิเคราะห์เป็น

                ผมในฐานะ ชาว “แนวหน้า”
ขอแสดงความเสียใจที่โรงพิมพ์น้ำท่วมแล้ว แต่บทความดีๆคงไม่หยุดตามน้ำ
เพราะแนวคิดต่างๆ บรรดาชาว “แนวหน้า” เขียนให้คนไทยวิเคราะห์
เพื่ออาจจะช่วยประเทศไทยได้บ้าง

                วันนี้ผมจึงมาแบบแปลกหน่อย
คือตั้งโจทย์ที่น่าคิด น่าสนใจ และพยายาม ไม่มีคำตอบที่แน่นอน เพราะคำตอบคงไม่ใช่ 1+ 1= 2 แต่ให้คนไทยคิด วิเคราะห์มากขึ้น

                คล้ายๆ กับหนังสือเล่มใหม่ของ Stephen R.Covey ที่คุณภาณุจากร้านหนังสือคิโน คุนิยะ แนะนำผม เน้นทฤษฎี 3rd
Alternatives (ทางออกที่ 3)
คือ
นายจีระคิดไม่สำคัญ ต้องให้ผู้อ่านคิด และหาทางออกร่วมกัน คล้ายๆ รูปนี้
  
  
                ซึ่งเป็นแนวทางการสอนหนังสือของผมช่วงหลังๆที่กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมและหาทางออกร่วมกัน
ซึ่งแนวคิดของ Stephen Covey อาจจะได้อิทธิพลมากจากทฤษฎี Critical
Thinking ของ Angels 
ที่ว่า








                คือแนวคิดหนึ่งว่า Thesis เห็นด้วยและมีคนไม่เห็นด้วยเป็น Antithesis และสรุปโดยพบกันครึ่งทางเอา
2 แบบ มาประยุกต์เรียกว่า Synthesis

                ในปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้ถ้าใช้ระบบของ
Covey หรือระบบของ Synthesis ก็อาจจะหาทางออกที่ดีได้

                โดยเฉพาะใส่แว่นตาให้คนไทยที่อยู่ในโลกของความไม่งมงาย
เชื่ออะไรง่ายๆมองสิ่งที่เป็นความจริงมากขึ้น

                ผมจึงคิดว่า น่าจะตั้งโจทย์ลึก 13 ข้อ
แต่ไม่มีคำตอบเพราะคำตอบของผมไม่สำคัญ
สำคัญคนอ่านจะวิเคราะห์อย่างไรและนำข้อสมมุติฐานอันไหนมาวิเคราะห์แก้ปัญหาร่วมกัน

                แต่เมื่อผู้อ่านได้วิเคราะห์ของตัวท่านเอง
ย้อนกลับมาดูคำถามและแนวคิดของผมก็อาจจะมีทางออกที่ฉลาดเฉลียวร่วมกันได้

คำถาม 13 คำถามมีดังต่อไปนี้

1.กรุงเทพฯชั้นในจะท่วมไหม?

  • ท่วมระดับใด
  • น้ำอยู่นานแค่ไหน?

2.ทำไมจังหวัดสุพรรณบุรีจึงปลอดน้ำท่วม

  • ฝีมือนักการเมือง
  • ไปตามธรรมชาติ

3. ทำไมกรุงเทพฯฝั่งตะวันตกท่วม
แต่ฝั่งตะวันออกท่วมไม่มาก

  • ฝีมือใคร
  • หลังน้ำลด
    น่าจะมีหลักฐานยืนยันได้

4. น้ำจะท่วมประเทศไทยและกรุงเทพฯชั้นใน
นานแค่ไหน?

  • ถ้านานก็จะกระทบเศรษฐกิจมาก
    โดยเฉพาะสุขุมวิท สีลม สาธร พหลโยธิน

5. วิกฤตครั้งนี้ฝีมือใคร?

  • ธรรมชาติ
  • หรือไร้ประสิทธิภาพฝีมือรัฐบาล
  • ถ้ารัฐบาลคุณอภิสิทธิ์อยู่จะดีขึ้นหรือแย่ลง

6. ทำไม พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก จึงเป็นประธาน
ศปภ.

  • เอาตำรวจมาดูแลน้ำ เหตุผลคืออะไร?


7. ทำไมรองนายกฯยงยุทธ วิชัยดิษฐ์
จึงไม่ได้รับการเสนอชื่อเป็นประธาน ทั้งๆที่มีเครือข่ายปกครองทั่วประเทศ น่าจะช่วยได้

  • คุณทักษิณยังมั่นใจคุณยงยุทธหรือเปล่า?

8.หลังน้ำท่วมแล้วอะไรจะเกิดขึ้น

  • เศรษฐกิจจะฟื้นอย่างไร
  • เปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือไม่
  • เยียวยาจิตใจคนอย่างไร

9.คุณยิ่งลักษณ์ยังอยู่เป็นนายกฯได้หรือเปล่าหลังน้ำท่วม เพราะภาวะผู้นำถูกท้าทายอย่างหนัก

  • ต้องดูว่าพรรคเพื่อไทยและคุณทักษิณจะปรับอย่างไร?


10.มีนักการเมืองเพื่ออะไร?

  • เพื่อเสวยสุขบริหารงบประมาณ
  • แก้ปัญหาประชาชนจริงๆหรือเปล่า?
  • ทหารบ่นให้ผมฟังว่าแก้ปัญหาช่วยรัฐบาลตลอดและทำอยู่กลุ่มเดียว
  • สถาบันการเมืองอ่อนแอ


  11. การขัดแย้งในสังคมจะมากขึ้นหรือน้อยลง

  • น้ำท่วมทำให้คนไทยสามัคคีจริงหรือ
  • การขัดแย้งเปลี่ยนรูปแบบเป็นการขัดแย้งระหว่างประชาชนมากขึ้น
  • ชุมชนขัดแย้งระหว่างน้ำน้อย/น้ำมาก

12. กลุ่มเสื้อแดงจะมีอำนาจมากขึ้นหรือลดลง

  • ผลงานของเสื้อแดงช่วยน้ำท่วมไม่ประทับใจ
  • ยังมีข่าวเรื่องเบ่ง ว่าฉันใหญ่
  • มีข่าวเรื่องไม่โปร่งใส

13. Social Media ช่วยรัฐบาลยิ่งลักษณ์หรือทำลาย

  • ในอียิปต์ทำลายMubarak
  • ของคนไทยอย่างน้อยเป็นสื่อทางเลือกคนมีความรู้ที่ต้องการเห็นชาติไทยรอด
  • ในอินเดียคนชั้นกลางมีน้อยกว่าคนรากหญ้าแต่กดดันรัฐบาลอินเดียได้
  • ไทยเป็นแบบอินเดียหรือเปล่า?

                ผมไม่มีคำตอบ รอให้ผู้อ่านแนวหน้าและผู้อ่าน website วิเคราะห์ด้วย ซึ่งอาจจะไปสู่ความคิดเห็นและทางออกที่สร้าง “ความหวัง”ให้ประเทศไทยครับ



 


 

 


  
 


 

 

หนังสือ
 
The 3rd Alternative ของ Stephen
  R.Covey


 

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์0-2273-0181 

คำสำคัญ (Tags): #แนวหน้า 5 พ.ย. 54
หมายเลขบันทึก: 467424เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2011 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท