การจัดการความรู้ มองต่างมุม


           ผมได้บันทึกไว้เมื่อวันที่ ๑๕ มิ.ย. ๔๘    ว่าคุณภีมมีวิธีมอง KM และออกแบบการปฏิบัติต่างไปจากที่ สคส. ใช้อยู่
  เมื่อวันที่ ๒๓ มิ.ย. ๔๘ คุณภีมได้มี e-mail มาเล่าวิธีคิด-ปฏิบัติดังต่อไปนี้ 
เรียน  อ.หมอวิจารณ์ที่เคารพ
ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ข้อคิดเห็นครับผมมีคำอธิบายขยายความกระบวนการที่ผมออกแบบไว้ดังนี้ครับ
คราวที่แล้วเครือข่ายจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนเชิญ อ.ประพนธ์อบรมปฏิบัติการเครื่องมือ
ธารปัญญากับนักวิจัยและคุณอำนวย โดยใช้เป้าหมายที่ต้องการบรรลุของคุณกิจเป็นประเด็นเดินเรื่อง
บางคนได้เอาเครื่องมือธารปัญญาไปทดลองใช้ในพื้นที่กับกลุ่มองค์กรการเงินชุมชนพบว่าค่อนข้างยาก
ผมได้ทดลองกับวงคุณอำนวยซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน
7-8 หน่วยงานที่นครศรีธรรมราช  โดยทำเป็นโครงการความร่วมมือ(ตอนนี้ผู้ว่าอนุมัติงบซีอีโอให้ดำเนินการขยายผลจาก 3 หมู่บ้านที่เราทำกันเองเป็น 3 ตำบลแล้วครับ)พบว่ากระบวนการค่อนข้างยุ่งยาก  ผมจึงประยุกต์ เครื่องมือธารปัญญาใหม่ดังนี้ครับ   
กระบวนการจะเน้น  
  1)  การสร้างพลังจินตนาการ(ส่วนใหญ่เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันด้วยบรรยากาศที่ดีจะมีจินตนาการด้านบวกและสร้างสรรค์)เพื่อกำหนดเป้าประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ (ทำส่วนหัวปลา)
จากนั้นใช้เครื่องมือจัดการเรียนรู้ท่อนแรกของธารปัญญาโดยการ
  2)ระดมความเห็น  (ปลุกให้คิดเพื่อให้สมองตื่นตัวว่องไว)จากประสบการณ์ในปัจจัย(ความสามารถ)ที่นำไปสู่ เป้าหมาย  (ความเห็นก็คือความรู้จากประสบการณ์ -TK)
  3)  จากนั้นทำความเห็นให้ละเอียดขึ้นโดยกำหนดตัวชี้วัดในระดับต่าง ๆ
(ย่อยความรู้-TKให้ละเอียดขึ้น)แล้วให้แต่ละคนประเมินตนเองและระดับที่ต้องการจะไปให้ถึง
ให้เวลาแต่ละคนอยู่กับตนเองเพื่อเชื่อมโยงภาพฝัน ปัจจัยและทักษะความรู้ของตนเอง
  4)  จบขั้นตอนที่ 2 แล้ว (ในวง-แต่ละคน-จะมีภาพฝันจากจินตนาการ เห็นปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จและเห็นตำแหน่ง-ประสบการณ์(ความรู้)-ของตนเอง
  5)จากนั้นจะข้ามไปเรียนรู้จากกันและกันเลย  (ไม่ทำแผนภูมิสายน้ำ ขั้นบันได) โดยใช้สุนทรียสนทนา
(กระบวนการนี้จะไม่เน้นการคิด แต่เป็นการเปิดเผยตัวตน โดยเล่าประสบการณ์จากเรื่องที่ตนเองทำสำเร็จหรือภูมิใจ เล่าจากใจ  ไม่ใช่ความคิด  ซึ่งจะเชื่อมร้อยกับจินตนาการ(ความฝัน)และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(เหตุผล)โดยอัตโนมัติ
เชื่อม 3 พลังเข้าด้วยกัน
ในธรรมชาติของการเรียนรู้จะมีทั้งรับและให้โดยการฟังและนำไปเทียบเผชิญกับประสบการณ์ของ
ตนเอง กระบวนการอบรมนี้เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการพบปะกันในวงสนทนา
(ที่จริงมนุษย์ก็ แลกเปลี่ยนประสบการณ์-ความรู้-กันอยู่แล้ว
แต่อาจจะไม่เล็งเป้าหมายเพื่อหวังผลเชิงประสิทธิภาพแบบธุรกิจ)
ผมในฐานะเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ก็จะจัดกลุ่มให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ของกันและกันอย่างสอดคล้องที่สุดจากข้อมูลของผู้เข้าร่วมและเนื้อหาโครงการที่ผมมีอยู่
ในฐานะผู้ประสานงาน (ซึ่งท่อนแรกของการสัมมนา
จะให้แต่ละทีมนำเสนอให้คนอื่นรับรู้ภาพรวมโดยสรุปของแต่ละพื้นที่
ให้ใกล้เคียงกับที่ผมรับรู้)
ถ้าเป็นการเรียนรู้จากงานก็ต้องไปดูของจริง  ซึ่งการอบรมก็ออกแบบไว้ส่วนหนึ่งในตอนเย็น
และโดยที่กระบวนการเหล่านี้เป็นการฝึกทักษะ  แต่แก่นของการจัดการเรียนรู้คือหัวใจที่เปิดรับซึ่งต้องสร้างมิตรภาพโดยบรรยากาศที่เป็นกันเองให้รู้สึกถึงความเป็นพวกพ้องในความสัมพันธ์แห่งมิตรเพื่อเกื้อหนุนกัน(เสริมพลัง)ไปสู่เป้าหมายที่ดีร่วมกัน  เราจึงผนวกการดูงานกับการทานข้าวเย็นในชุมชนด้วย 
ที่จริงตั้งใจเรียนเชิญอาจารย์ไปร่วมสังเกตการณ์  เพื่อจะได้ฟังเสียงสะท้อนของอาจารย์หลังจากจบกระบวนการแล้ว
แต่อาจารย์ให้ข้อคิดเห็นก่อนก็เป็นประโยชน์ครับ อย่างน้อยก็ทำให้ผมเตรียมการมากขึ้น
ถ้าอาจารย์พอมีเวลาก็เรียนเชิญนะครับ
ภีม

 

           เครื่องมือ KM เมื่ออยู่ในมือผู้ใช้ต่างคนกัน  ก็ต้องปรับให้เหมาะมือผู้ใช้นะครับ     ปรับถูกหรือผิด ดูได้ที่ผลงานครับ    ถ้าเกิดผลดีก็เป็นข้อพิสูจน์ว่าเราปรับถูกแล้ว
วิจารณ์ พานิช
๒๔ มิ.ย. ๔๘
หมายเลขบันทึก: 467เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2005 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนอ.หมอวิจารณ์ที่เคารพ

งานสัมมนาที่ลำปางจบลงด้วยดีครับ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 70 คน สรุปผลการสัมมนาผมส่งให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านแล้ว ดังรายละเอียดที่แนบมาครับ

ภีม

สรุปผลการสัมมนาที่ลำปางวันที่ 25-26 มิถุนายน 2548

บทเรียนของคุณวิจัยและคุณอำนวย (ทบทวนเพื่อเอาไปใช้กับคุณอำนวยที่เหลือและคุณกิจในพื้นที่)

1. กระบวนการอบรมและเนื้อหาที่ได้

    1. กระบวนการเริ่มจากให้ผู้เข้าประชุม(คุณวิจัยและคุณอำนวย)นำเสนอสภาพชุมชน กลุ่มเป้าหมายในแต่ละระดับ เป้าหมายในการจัดการความรู้ รวมทั้งแผนจัดการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายในพื้นที่ของตนเอง
    2. ระดมความเห็นความรู้ที่เป็นศาสตร์และศิลป์ของคุณวิจัยและคุณอำนวยเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของคุณกิจบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
    3. ประเมินความรู้ที่เป็นศาสตร์และศิลป์ของตนเองโดยสร้างตัวชี้วัด 5 ระดับ
    4. แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยการเล่าเรื่องจากสิ่งที่ตนเองทำซึ่งเป็นศาสตร์และศิลป์จนเกิดผลที่น่าพอใจ

2. ผลที่เกิดขึ้น

ขอให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาในแต่ละพื้นที่ช่วยสรุปบทเรียนใน 2 เรื่อง คือ

    1. กระบวนการอบรม
    2. เนื้อหาที่ได้

ทั้งวงคุณวิจัยและคุณอำนวย เพราะการสัมมนาครั้งนี้เปรียบเสมือนคุณวิจัยและคุณอำนวยให้ผมมาช่วยทำกระบวนการเป็นตัวอย่างให้กับพื้นที่ของตนเอง จึงควรสรุปบทเรียนเพื่อประโยชน์ของแต่ละพื้นที่

เมื่อสรุปสิ่งที่ได้ใน 2 ประเด็นดังกล่าวแล้ว (ตอบโจทย์ที่ 1)

ขอให้ประเมินความรู้ที่เป็นศาสตร์และศิลป์ของตนเองจากเนื้อหาที่สรุปไว้ในวันอบรมและใช้เนื้อหา ที่สรุปไว้ในเอกสารประกอบการพิจารณา (ตอบโจทย์ที่ 2)

ซึ่งจะเป็นความรู้ที่ได้จากการสัมมนาในครั้งนี้ (และจะใช้เป็นข้อมูลในการเขียนรายงานวิจัยต่อไป)

(และจะใช้เป็นข้อมูลในการเขียนรายงานวิจัยต่อไป)

ขอให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาในแต่ละทีมร่วมกันถอดบทเรียนที่ลำปางตามประเด็นข้างต้น แล้วส่งมาที่หน่วยประสานงาน โดยทำความเข้าใจบทบาทต่าง ๆของการจัดการความรู้ คือ

    1. คุณเอื้อ (แกนนำคุณกิจที่ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวยในวงเรียนรู้แต่ละระดับ)
    2. คุณอำนวย (ผู้สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้)
    3. คุณกิจ (ผู้ปฏิบัติการเรียนรู้เพื่อทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้บรรลุผล - รู้เฉย ๆถือว่าล้มเหลว)
    4. คุณวิจัย (ผู้ออกแบบ ดำเนินการ และสรุปผลที่เกิดขึ้น)

ดังนั้น

1) การจัดทีมและสร้างความเข้าใจภายในทีมทั้งคุณวิจัยและคุณอำนวยเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก

(ถ้าคุณวิจัยไม่มีคุณอำนวยมาช่วย ก็ต้องรับหน้าที่เป็นคุณอำนวย จะลดบทบาทในส่วนนี้ได้ต้องหา คุณอำนวยจากหน่วยสนับสนุนและแกนนำเครือข่ายที่ชัดเจนและต่อเนื่องมาร่วมทีม)

2) การประสานสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับเป็นเรื่องสำคัญ

3) ความเข้าใจร่วมกันระหว่างทีมสนับสนุนคือคุณวิจัยและคุณอำนวยกับทีมจัดการความรู้(คุณกิจ) ในแต่ละระดับเป็นเรื่องสำคัญ

สุดท้ายคือ ความเข้าใจของชุมชน เพื่อให้การดำเนินงานเกิดความเสียดทานน้อยที่สุด

3. การเขียนรายงานวิจัย (ซึ่งเป็นเรื่องยาก และมักจะทำให้งานวิจัยล้มเหลว)

(ซึ่งเป็นเรื่องยาก และมักจะทำให้งานวิจัยล้มเหลว)

ถ้าทีมวิจัยและผู้เข้าร่วมสัมมนาร่วมกันถอดบทเรียนการสัมมนาที่ลำปางตามประเด็นข้างต้น และเขียนบันทึกไว้อย่างดี บันทึกนี้ก็จะเป็นข้อมูลสำคัญในการจัดทำรายงานสรุปผลการวิจัยในตอนท้าย และหากมี กิจกรรมต่อเนื่องจากการสัมมนา(การทำความเข้าใจและจัดการเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมาย) ขอให้ทีมวิจัยวางแผนการทำกิจกรรมวิจัย (สัมภาษณ์ จัดประชุม ดูงาน เก็บข้อมูลจากเอกสาร สังเกตการณ์ในพื้นที่ ฯลฯ) และเมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ขอให้สรุปกระบวนการ เนื้อหาที่ได้ รวมทั้งข้อค้นพบอื่น ๆจัดแฟ้มไว้อย่างเป็นระบบทั้ง รายชื่อผู้เข้าประชุม รูปภาพประกอบ เป็นต้น การวางแผนจัดระบบข้อมูลทั้งข้อมูลดิบและการวิเคราะห์ที่ได้จากกิจกรรมวิจัยทุกขั้นตอน จะช่วยให้นักวิจัยเขียนรายงานวิจัยได้อย่างมีคุณภาพ และปิดโครงการได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

ในช่วง 3 เดือนนับจากนี้ที่แต่ละทีมลงไปทำกิจกรรมจัดการความรู้และวิจัยในพื้นที่ ก็คือการสรุปประสบการณ์จากเวทีสัมมนาที่ลำปางนำสู่ภาคปฏิบัติ ความรู้ที่เกิดขึ้นจะนำมาแลกเปลี่ยนกันในเดือนกันยายนและสรุปต่อยอดขึ้นไปเรื่อย ๆทุก 3 เดือนจนจบโครงการ ซึ่งจะเป็นความรู้ร่วมกันของชุดโครงการนี้ที่มีฐานการเรียนรู้จากพื้นที่ผูกโยงกันมาทุกระดับ เพื่อช่วยกันยกปิรามิดที่หนักอึ้งด้วยการสร้างคนบนฐานความรู้ ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อไปสู่เป้าหมายการเป็นสถาบันการเงินเพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างมีพลัง จากความเข้มแข็งภายใน
(ทบทวนเพื่อเอาไปใช้กับคุณอำนวยที่เหลือและคุณกิจในพื้นที่)(และจะใช้เป็นข้อมูลในการเขียนรายงานวิจัยต่อไป) (ซึ่งเป็นเรื่องยาก และมักจะทำให้งานวิจัยล้มเหลว)ในช่วง 3 เดือนนับจากนี้ที่แต่ละทีมลงไปทำกิจกรรมจัดการความรู้และวิจัยในพื้นที่ ก็คือการสรุปประสบการณ์จากเวทีสัมมนาที่ลำปางนำสู่ภาคปฏิบัติ ความรู้ที่เกิดขึ้นจะนำมาแลกเปลี่ยนกันในเดือนกันยายนและสรุปต่อยอดขึ้นไปเรื่อย ๆทุก 3 เดือนจนจบโครงการ ซึ่งจะเป็นความรู้ร่วมกันของชุดโครงการนี้ที่มีฐานการเรียนรู้จากพื้นที่ผูกโยงกันมาทุกระดับ เพื่อช่วยกันยกปิรามิดที่หนักอึ้งด้วยการสร้างคนบนฐานความรู้ ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อไปสู่เป้าหมายการเป็นสถาบันการเงินเพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างมีพลัง จากความเข้มแข็งภายใน

 

 

 

 

คำอธิบายการออกแบบกระบวนการอบรมข้างบนอ่านไม่รู้เรื่อง ผมจึงส่งมาใหม่ครับ

ภีม

ผมมีคำอธิบาย ขยายความกระบวนการที่ผมออกแบบไว้ดังนี้ครับ

คราวที่แล้วเครือข่ายจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนเชิญอ.ประพนธ์อบรมปฏิบัติการเครื่องมือ ธารปัญญากับนักวิจัยและคุณอำนวยโดยใช้เป้าหมายที่ต้องการบรรลุของคุณกิจเป็นประเด็นเดินเรื่อง

บางคนได้เอาเครื่องมือธารปัญญาไปทดลองใช้ในพื้นที่กับกลุ่มองค์กรการเงินชุมชนพบว่าค่อนข้างยาก

ผมได้ทดลองกับวงคุณอำนวยซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน 7-8หน่วยงานที่นครศรีธรรมราช โดยทำเป็นโครงการความร่วมมือ(ตอนนี้ผู้ว่าอนุมัติงบซีอีโอให้ดำเนินการขยายผลจาก 3 หมู่บ้านที่เราทำกันเองเป็น 3 ตำบลแล้วครับ)พบว่ากระบวนการค่อนข้างยุ่งยาก ผมจึงประยุกต์ เครื่องมือธารปัญญาใหม่ ดังนี้ครับ

กระบวนการจะเน้น

1)การสร้างพลังจินตนาการ(ส่วนใหญ่เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันด้วยบรรยากาศที่ดีจะมีจินตนาการด้านบวกและ สร้างสรรค์)เพื่อกำหนดเป้าประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ (ทำส่วนหัวปลา)

จากนั้นใช้เครื่องมือจัดการเรียนรู้ ท่อนแรกของธารปัญญาโดยการ

2)ระดมความเห็น (ปลุกให้คิดเพื่อให้สมองตื่นตัว ว่องไว)จากประสบการณ์ในปัจจัย(ความสามารถ)ที่นำไปสู่ เป้าหมาย (ความเห็นก็คือความรู้จากประสบการณ์ -TK)

3)จากนั้นทำความเห็นให้ละเอียดขึ้นโดยกำหนดตัวชี้วัดในระดับต่าง ๆ (ย่อยความรู้-TKให้ละเอียดขึ้น)แล้วให้แต่ละคนประเมินตนเองและระดับที่ต้องการจะไปให้ถึง

ให้เวลาแต่ละคนอยู่กับตนเองเพื่อเชื่อมโยงภาพฝัน ปัจจัยและทักษะความรู้ของตนเอง

4)จบขั้นตอนที่ 2 แล้ว(ในวง-แต่ละคน-จะมีภาพฝันจากจินตนาการ เห็นปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จและเห็นตำแหน่ง-ประสบการณ์(ความรู้)-ของตนเอง

5)จากนั้นจะข้ามไปเรียนรู้จากกันและกันเลย (ไม่ทำแผนภูมิสายน้ำ ขั้นบันได) โดยใช้สุนทรียสนทนา (กระบวนการนี้จะไม่เน้นการคิด แต่เป็นการเปิดเผยตัวตน โดยเล่าประสบการณ์จากเรื่องที่ตนเองทำสำเร็จหรือภูมิใจ เล่าจากใจ ไม่ใช่ความคิด ซึ่งจะเชื่อมร้อยกับจินตนาการ(ความฝัน)และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(เหตุผล)โดยอัตโนมัติ

เชื่อม 3 พลังเข้าด้วยกัน

ในธรรมชาติของการเรียนรู้จะมีทั้งรับและให้โดยการฟังและนำไปเทียบเผชิญกับประสบการณ์ของ ตนเอง กระบวนการอบรมนี้เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการพบปะกันในวงสนทนา (ที่จริงมนุษย์ก็ แลกเปลี่ยนประสบการณ์-ความรู้-กันอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่เล็งเป้าหมายเพื่อหวังผลเชิงประสิทธิภาพแบบธุรกิจ)

ผมในฐานะเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ก็จะจัดกลุ่มให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ของกันและกันอย่างสอดคล้องที่สุดจากข้อมูลของผู้เข้าร่วมและเนื้อหาโครงการที่ผมมีอยู่ ในฐานะผู้ประสานงาน (ซึ่งท่อนแรกของการสัมมนา จะให้แต่ละทีมนำเสนอให้คนอื่นรับรู้ภาพรวมโดยสรุปของแต่ละพื้นที่ ให้ใกล้เคียงกับที่ผมรับรู้)

ถ้าเป็นการเรียนรู้จากงานก็ต้องไปดูของจริง ซึ่งการอบรมก็ออกแบบไว้ส่วนหนึ่งในตอนเย็น

และโดยที่กระบวนการเหล่านี้เป็นการฝึกทักษะ แต่แก่นของการจัดการเรียนรู้คือหัวใจที่เปิดรับซึ่งต้องสร้างมิตรภาพโดยบรรยากาศที่เป็นกันเองให้รู้สึกถึงความเป็นพวกพ้องในความสัมพันธ์แห่งมิตรเพื่อเกื้อหนุนกัน(เสริมพลัง)ไปสู่เป้าหมายที่ดีร่วมกัน เราจึงผนวกการดูงานกับการทานข้าวเย็นในชุมชนด้วย

ที่จริงตั้งใจเรียนเชิญอาจารย์ไปร่วมสังเกตการณ์ เพื่อจะได้ฟังเสียงสะท้อนของอาจารย์หลังจากจบกระบวนการแล้ว แต่อาจารย์ให้ข้อคิดเห็นก่อนก็เป็นประโยชน์ครับ อย่างน้อยก็ทำให้ผมเตรียมการมากขึ้น

ถ้าอาจารย์พอมีเวลาก็เรียนเชิญนะครับ

ภีม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท