Clinical Tracer Highlight LBW


Clinical Tracer Highlight
Clinical Tracer Highlight
การดูแลผู้ป่วย…Low  Birth  Weight…โรงพยาบาลหนองจิก  จังหวัดปัตตานี
ประเด็นคุณภาพ/ความเสี่ยงที่สำคัญ:
ข้อมูล/ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
2550
2551
2552
2553
2554
อัตราทารกแรกคลอดน้ำหนัก < 2,500  กรัม
<  7 %
7.61
5.26
11.51
9.4
 
Early Breast Feeding
> 95 %
-
64.09
82.11
98.52
 
อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
< 5 %
 
 
 
 
 
     - BA
 
ไม่ได้เก็บข้อมูล
 
     - Hypoglycemia
 
ไม่ได้เก็บข้อมูล
 
     - Hypothermia
 
ไม่ได้เก็บข้อมูล
 
     - พัฒนาการสมวัย 
 
ไม่ได้เก็บข้อมูล
 
บริบท:
     ทารกแรกคลอดที่มีน้ำหนักตัว น้อยกว่า 2,500  กรัม 
 เป็นกลุ่มโรคที่โรงพยาบาลหนองจิกให้ความสำคัญในปี 2554 
เนื่องจากแนวโน้มผู้ป่วยมีจำนวนคงที่ลดลงน้อย และอาจจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
โดยปี2551พบทารกแรกคลอดน้ำหนักตัวน้อยร้อยละ 5.26แต่ในปี  2552มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.51
ในปี 2553 มีจำนวนลดลงเล็กน้อย เป็นร้อยละ 9.4 (เกณฑ์ < 7% ) 
ทารกแรกคลอดเหล่านี้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน
หลังคลอดที่รุนแรง  ครอบครัวมีความวิตกกังวล สูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการดูแลทารก
จากการเก็บข้อมูลในปี 2553พบว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากหญิงตั้งครรภ์ขาดความรู้
ในการบริโภคอาหารที่เหมาะสมตามความต้องการร่างกายในขณะตั้งครรภ์
มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องในการบริโภคอาหาร  และเจ้าหน้าที่ให้บริการฝากครรภ์
ขาดความตระหนักในการติดตามน้ำหนักในระหว่างการตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
             ดังนั้นการบริการหญิงตั้งครรภ์ควรให้ความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชุมชนในระหว่างการตั้งครรภ์ 
โดยดึงสามีและญาติมีส่วนร่วม เพื่อทารกแรกคลอดน้ำหนักตัวปกติ เป็นความหวังของครบครัว
และเป็นอนาคตทีมีคุณภาพของชาติต่อไป
ประเด็นสำคัญ :
  • ทารกแรกคลอดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการบริโภคในระหว่างตั้งครรภ์ไม่เหมาะสม 
  • เจ้าหน้าไม่เห็นความสำคัญในการติดตามน้ำหนัก การแปลผลในระหว่างตั้งครรภ์
  • การบริการไม่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตามวิถีชุมชนอย่างแท้จริง
 
กระบวนการ:
+ ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในชุมชนโดยอสม.
- หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทำงานต่างพื้นที่เข้าสู่ระบบการฝากครรภ์ล้าช้า
+ มีคลินิก ANC High Risk
 - รพ.สต.ส่งผู้ป่วยมาคลินิกล้าช้า
+มีการคัดกรองความเสี่ยงต้องแต่เข้ารับบริการ                                                                                                                                    
 + ชั่งน้ำหนัก,ตรวจครรภ์, U/S  เปรียบเทียบกราฟทุกราย
- เจ้าหน้าที่คัดกรองไม่ครอบคลุมไม่เหมาะสมอายุครรภ์                                                                                                                                                           
 - รพ.สต.บางที่ไม่ได้ประเมินน้ำหนักทารกในครรภ์
+ ดูแลตามวิถีชุมชน(อาหาร)                                                                                                          
- จนท.ขาดความรู้อาหารพื้นบ้าน                                                                                                                                                  
 + ส่งกลับรพ.สต.เมื่อปรับเปลี่ยนได้และการเจริเติบโตทารกในครรภ์ปกติ
 + ติดตามการเจริญเติบโตทารกในสมุดฝากครรภ์                                                                                                                                                                                                                                    
+ มีการประสานงานในเครือข่าย                                                    
- ฝากครรภ์ไม่สม่ำเสมอ                                                                                                                  
- ผู้ป่วยย้ายไปทำงานนอกพื้นที่ติดตาม  case ไม่ได้
+ มีระบบการคืนข้อมูลกลับพื้นที่เพื่อติดตามเยี่ยม case, ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง
+ ดูแลประเมินอาการทารกทันทีหลังคลอด
+ ป้องกันภาวะ Hypoglycemia,ควบคุม BT
+ Early BF และรับ BF ทุก 2-3 ชม.
+ ประเมิน BW ทุกวัน
+ สอนสุขศึกษาแก่มารดาและผู้ดูแลทารก
- ความเชื่อ ความไม่มั่นใจในการดูแลทารก
+ มีการประสานงานในเครือข่าย                                                                    
 + แนะนำการมา NCCD ตามนัด         
+ ส่งคืนข้อมูลทารกให้รพ.สต.                                                                                                                                                                                                                                  
- ขาดนัดมารับการติดตามไม่สม่ำเสมอ                                                                             .                                                                                     
+ ติดตามในชุมชนโดย อสม.                                                                                
    ผลการพัฒนาที่สำคัญ:
     จากการวิเคราะห์ประเด็นปัญหา พบว่าการบริการฝากครรภ์ควรให้หญิงตั้งครรภ์เห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้เหมาะสม
และสอดคล้องกับวิถีชุมชน ในระหว่างการตั้งครรภ์  โดยดึงสามีและญาติมีส่วนร่วม ในทุกระยะของการตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอด
 
วัตถุประสงค์
     - เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคเหมาะสมในทุกระยะของการตั้งครรภ์ 
     - จำนวนทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500  กรัมเพิ่มขึ้น
     - จำนวนทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500  กรัมไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้หลังคลอด
     - ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500  กรัม ได้รับการติดตามเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ส่งเสริมพัฒนาการหลังคลอดทุกราย
กิจกรรม
     - พัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่งานฝากครรภ์
     - คัดกรองความเสี่ยงและติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด      
     - ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคแก่หญิงตั้งครรภ์ โดยวางแผนร่วมกันระหว่างหญิงตั้งครรภ์กับเจาหน้าที่ฝากครรภ์
     - ส่งเสริมการเลี้ยงลุกด้วยนมแม่หลังคลอด
    -  เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทารกหลังคลอดอย่างใกล้ชิด
    -  ส่งต่อข้อมูลในการติดตามทารกแก่ รพ.สต. ที่รับผิดชอบ และติดตามทารกต่อไป
ผลลัพธ์
     - อัตราทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500  กรัมลดลง
     - หญิงตั้งครรภ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเหมาะสมตามสัดส่วนในทุกระยะการตั้งครรภ์
     - อัตราการให้นมแม่แก่ทารกน้ำหนักตัวน้อยเพิ่มขึ้น
     - เจ้าหน้าที่มรสมรรถนะในการดูแลหญิงตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม

 

คำสำคัญ (Tags): #Clinical Tracer Highlight
หมายเลขบันทึก: 466993เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2011 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท