บทความวิจัย หลักสูตรวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (หลักสูตรใหม่)


ปรับปรุงสิ่งเดิม รักษาสิ่งดี เสริมสร้างสิ่งใหม่ เพื่อดำรงไว้ซึ่งคุณค่าและต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรฐกิจ



ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิตสาขา วัฒนธรรมสร้างสรรค์ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

 

Needs for Continuing Education in Bachelor of Arts of Creative  Cultural  in Phuket Rajabhat University

ธีรกานต์  โพธิ์แก้ว  และคณะ

 

 


                การศึกษา เรื่อง ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิตสาขาวัฒนธรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพื่อนำผลที่ได้ไปจัดทำหลักสูตรใหม่ประจำปี 2554  ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต โดยดำเนินการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 200 คน และจัดทำขึ้นเพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ทั้งสิ้น 100 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า

        1.  ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิตสาขา วัฒนธรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  จากการศึกษาพบว่า  กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 61.50 เป็นเพศชาย จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 38.50  ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายศิลป์) จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 72.50 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 200 คน ส่วนใหญ่มาจากโรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคมฯ จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 41.50 รองลงมา คือ มาจากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ตามลำดับ  มีอายุ 18 ปี จำนวน 84 คน    เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นต่อหลักสูตรศิลปศาสตร์ บัณฑิต สาขาวัฒนธรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย   มีความสนใจด้านการท่องเที่ยว ( =3.9800) หลักสูตรนี้มีความเหมาะสมกับวัฒนธรรมท้องถิ่นอันดามัน ( =3.8950)   มีความสนใจการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์  ( =3.8800)   และความเหมาะสมของชื่อ “หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต” สาขาวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ( =3.7900)  ความเหมาะสมของหลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิต สาขาวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กับสภาพสังคมปัจจุบัน ( =3.7850)  และมีความสนใจด้านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ( =3.7550)

        2.  การศึกษาความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อสาขาวัฒนธรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  จากการศึกษาพบว่า  กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 100 คน ส่วนใหญ่ทำงานในหน่วยงานภาครัฐ เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นต่อความต้องการด้านทักษะวิชาชีพ อยู่ในระดับมาก ( =3.7515) ความต้องการใน ระดับมากอันดับแรกคือ มีความรู้ความสามารถด้านมารยาทไทย และการให้บริการที่ดี   ความคิดเห็นต่อความต้องการด้านความสามารถทั่วไป อยู่ในระดับมาก ( =4.0133) ความต้องการใน อันดับแรก คือ เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ความคิดเห็นต่อความต้องการด้านคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับมาก ( =4.4756) ความต้องการในอันดับแรก คือ ความซื่อสัตย์   ความคิดเห็นต่อความต้องการด้านบุคลิกภาพ อยู่ในระดับมาก ( =4.3500) ความต้องการใน อันดับแรก คือ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี    สรุปได้ว่า ความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อสาขาวัฒนธรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตในหลักสูตรวัฒนธรรมสร้างสรรค์ คือ นักศึกษาเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

        3.  แนวทางการพัฒนาหลักสูตรหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขา วัฒนธรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  คณะวิจัยสามารถสรุปข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรวัฒนธรรมสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยว ได้ดังนี้ 1. ควรจะมีการศึกษาที่ให้นักเรียนได้สัมผัสกับวิถีชีวิตและศึกษาการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง  2.  ควรเน้นให้บัณฑิตพูดจาที่สุภาพ เรียบร้อย แต่งตัวสวยงาม สามารถพูดได้หลายภาษาตลอดจนต้องมีมารยาทที่น่ารัก  3. ควรจัดหลักสูตรต่อเนื่องตั้งแต่ปริญญาตรีถึงปริญญาเอก  4. ควรเปิดดำเนินการหลักสูตรโดยเร็ว เพื่อผลักคนออกสู่ตลาดแรงงาน  และ5. ควรทำการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง  ทุกช่องทาง และควรออกทำการแนะแนวตามสถานศึกษา เพราะเป็นสาขาวิชาที่จัดการเรียนการสอนได้ตรงกับพื้นที่

 

Abstract

Needs for Continuing Education in Bachelor of Arts of Creative  Cultural  in Phuket Rajabhat University

 

                This research is about the Needs for Continuing Education in Bachelor of Arts of Creative  Cultural in Phuket Rajabhat University based on a survey the opinion of students in the upper secondary and vocational school level. The information obtained from the survey will be used as a basis for new curriculum for the academic year 2011, by the Faculty of Humanities and Social Sciences, Phuket Rajabhat University. The data was collected from a sample totaling 200 students in addition to 100 stakeholders. The data was analyzed using arithmetic percentage, mean and standard deviation. The results indicated that:

                1. The results of the Needs for Continuing Education in Bachelor of Arts of Creative Culture for Tourism Program, Phuket Rajabhat University revealed that majority of the respondents (61.50 %) were female numbering 123 respondents out of the total 200. 38.50% of respondents were male total of 77. The majority of the respondents (72.50%) had been studying in the upper secondary schools (Arts high school). The greatest number of the respondents (41.50%) of the total came from Choeng Thale Witthayakom School with 83 individuals, followed by numbered respondents from Phuket Witthayalai School. 84 respondents were aged 18 years old. In considering the particular details it was found that the respondents feeling toward the curriculum of Bachelor of Arts of Creative Cultural, Phuket Rajabhat University was medium to high level. They focus on the Tourism sector ( =3.9800). This curriculum was appropriate to the local culture of Andaman ( =3.8950). Interested in Creative Management for Tourism and the curriculum of  Bachelor of Arts of Creative Cultural , Phuket Rajabhat University was appropriate  ( =3.7900).  The curriculum of Bachelor of Arts of Creative Cultural, Phuket Rajabhat University with present background was appropriate ( =3.7850) , interest in the Creative Cultural for Tourism ( =3.7550).

                2. The results of this study in respect to the expectation of stakeholders toward Creative Culture, Phuket Rajabhat University revealed that majority of the respondents were officials in government departments. Overall it revealed that the respondents gave the opinion to that their professional skills were at a high level ( =3.7515).  The first requirement was they are capable of excellence in Thai Etiquette and Service. Their opinion of the needs on general ability was high level ( =4.0133).The prime requirement was they have good relationship with others. Their opinion of the requirement of morality and ethics was at a high level ( =4.4756). The prime requirement was to be faithful. Their opinion on the needs on personality was high level ( =4.3500). The prime requirement was a good relationship with others. In conclusion, the expectation of stakeholders to the Creative Cultural, Phuket Rajabhat University was that they have an excellent in relationship with others.

                 3. For the development guidelines for curriculum development of Bachelor of Arts in Creative Cultural, Phuket Rajabhat University,  researchers suggestion in Creative Cultural as follows:

               1. The teachers should have students to get knowledge through in the way of life and real tourism.

               2. The teachers should encourage students to speak with others using polite language to be courteous, to dress well, to be fluent in various languages and to have excellent etiquette.

                 3. A continuing curriculum from Bachelor Degree to Doctorate should be provided.

               4. This curriculum should be implemented quickly in order to provide personnel the market

                5. Should propagate information among the public through all channels and provided study guide to students in educational institutions because it is subject which is related to teaching management matching with the area’s needs.

 

Keywords : Needs,  Continuing,    Creative,  Cultural

 

บทนำ

 

                ปัจจุบันทุกประเทศทั่วโลกต้องประสบกับปัญหากระแสโลกาภิวัตน์  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำลายวัฒนธรรมอันดีงามตามท้องถิ่นต่าง ๆ  แม้แต่ท้องถิ่นของไทยเอง  ในทางกลับกันหากประเทศใด หรือท้องถิ่นใดสามารถต้านทาน หรือต่อสู้ปัญหานี้ได้ด้วยอาวุธทางวัฒนธรรมที่ตนมีอยู่ ก็จะช่วยยับยั้ง และยืดระยะเวลาในการทำลายลงได้  แสดงให้เห็นว่าท้องถิ่นใดที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง และมีความโดดเด่น ย่อมมีความได้เปรียบในเชิงยุทธศาสตร์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองในอนาคต  ที่ผ่านมาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้สะท้อนให้เห็นความล้มเหลวในการพัฒนาประเทศในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา นอกจากปัญหาทางการคลังและการธนาคารซึ่งเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจโดยตรงแล้ว ปัญหาด้านอื่น ๆ  ไม่ว่าจะเป็น  ปัญหาทาง สังคม – วัฒนธรรม การเมือง    การปกครอง สิ่งแวดล้อมและการศึกษา ล้วนเป็นปัญหาที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ  การปฏิรูปการศึกษานับเป็นมาตรการสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศย่อมต้องการการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพด้วยการพัฒนาคนของประเทศให้มีคุณภาพตามที่ต้องการในส่วนของการปฏิรูปการศึกษา(วีระ  วัฒนานนท์  2543 : 6-13 อ้างถึงใน  เกียรติศักดิ์       พันลำเจียก.  2552 )  จากการประชุมระดับโลกว่าด้วยการพัฒนาสังคมที่มีขึ้นที่เมืองโคเปนเฮเก็น ประเทศเดนมาร์ก  มีนักคิดและนักปฏิบัติจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุมได้ข้อสรุปที่เห็นพ้องต้องกันว่า  วิกฤตการณ์ทางสังคมที่สำคัญมีทั้งหมด 4 ประการ  แม้เวลาจะผ่านมาระยะหนึ่งแล้วแต่ปัญหาเหล่านั้นก็ยังคงอยู่  ประการแรก  ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ  จำนวนผู้ที่ร่ำรวยมีจำนวนน้อยแต่ครอบครองทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก  ในขณะที่มีคนยากจนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  ประการที่สอง การล่มสลายของระบบนิเวศ  จากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและมีการทำลายอย่างต่อเนื่อง  การล่มสลายของระบบนิเวศยังส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอย่างมหาศาล ที่เห็นได้ชัด อย่างเช่น วิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน  ประการที่สาม  การพังทลายของระบบครอบครัวและชุมชน  ยอมรับกันว่าระบบครอบครัวไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ร่ำรวยหรือยากจน  ในเมืองใหญ่หรือชนบท  ต่างมีความอ่อนแอและเสี่ยงต่อการล่มสลาย  และประการสุดท้าย  คือ การเสื่อมทางด้านจริยธรรม  อันหมายรวมถึง  ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์  มนุษย์กับธรรมชาติ  และมนุษย์กับสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ  ซึ่งไม่อยู่ในสภาวะปรกติ  วิกฤตการณ์เหล่านี้ได้เกิดขึ้นทุกหนทุกแห่ง และนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  (สุเทพ  บุญซ้อน. 2545 : 216-217)

                ดังนั้นบนความเปลี่ยนแปลงท่ามกลางปัญหาทางสังคมที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  บางอย่างก็ไม่สามารถคาดการณ์ได้ในยุคโลกไร้พรมแดน  ทรัพยากรมนุษย์ยังคงเป็นตัวแปรสำคัญเท่าๆ กับตัวแปรอื่น  เพราะทรัพยากรมนุษย์ไม่เพียงแต่จะเป็นทรัพย์สินของประเทศชาติ และองค์กร  แต่ทรัพยากรมนุษย์ยังบ่งบอกถึงคุณภาพที่เป็นเลิศที่จะทำให้ผู้ประกอบการ  ผู้ใช้ หรือแม้แต่ลูกค้าได้เกิดความพึงพอใจ  ทั้งนี้ย่อมต้องขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์  การเตรียมทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้เข้มแข็ง และพร้อมต่อสู้กับปัญหาที่จะเกิดขึ้นโดยใช้ทุนทางปัญญาเป็นเกาะกำบัง (พารณ อิศรเสนา  ณ อยุธยา และจีระ  หงส์ลดารมภ์. 2553 : 143) 

                การพัฒนาการศึกษาของไทยในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมต้นแบบด้านการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ด้วยปัญญา  โดยเฉพาะการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้  อันเป็นการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้  ผ่านการปฏิบัติ  บูรณาการด้านเทคโนโลยี  ด้านวิชาการภายใต้ศิลปวัฒนธรรม  ความเป็นไทย  การเรียนรู้ถึงศีลธรรมจรรยา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นแบบอย่าง และให้สามารถแข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัตน์  นอกจากนี้การจัดการเรียนการสอนจะต้องให้ครบทั้ง 5 ด้าน คือ    1. ด้านกระบวนการคิด  การเรียนรู้  เฉลี่ยวฉลาดใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (IQ)  2. พัฒนาให้รู้จักตนเอง  มีสติอยู่เสมอ  มีความมั่นคงทางอารมณ์ (MQ)  3. พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหา และเผชิญสถานการณ์  ที่หลากหลาย  ให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ภายใต้สภาวะที่กดดัน (AQ)  4.  พัฒนาให้ผู้เรียนให้มีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี  เลือกใช้ได้เหมาะสมกับความต้องการ (TQ)  5. สำคัญที่สุด คือ การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  และความเป็นไทยเข้าไปในทุกขั้นตอนจนติดเป็นนิสัย (MQ)  (พารณ อิศรเสนา  ณ อยุธยา และจีระ  หงส์ลดารมภ์. 2553 : 194-195) 

                จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว  ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตกำหนดนโยบายให้โปรแกรมหลักสูตรต่างๆ ของคณะมนุษยศาสตร์  และสังคมศาสตร์  ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่คณะกรรมการอุดมศึกษากำหนดไว้  คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์จึงสนับสนุน และกำหนดให้กลุ่มสังคมศาสตร์ได้จัดทำการพัฒนาหลักสูตรใหม่ที่สอดคล้องกับปัญหา  ความสำคัญ  และความต้องการของท้องถิ่น  จากปรัชญามหาวิทยาลัยที่ว่า การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  กอปรกับกลุ่มจังหวัดอันดามันนั้นมีวัฒนธรรม ที่โดดเด่น  เป็นของตนเอง  โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงติดระดับโลก       มีเสน่ห์ของวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย เหมาะแก่การเรียนรู้  พัฒนา และศึกษาค้นคว้า  อย่างยิ่ง  การพัฒนาหลักสูตรในครั้งนี้จัดเป็นการสร้างนวัตกรรมทางสังคม  ที่มุ่งเน้นการศึกษาเรียนรู้  ในการฟื้นฟู  อนุรักษ์  และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ในการสร้างสรรค์งานทางด้านวัฒนธรรมของท้องถิ่น  เพื่อยังประโยชน์ต่อสังคมอันดามันให้ไปสู่ท้องถิ่นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในระดับสากลอย่างแท้จริง

                แนวคิดดังกล่าว  ทำให้กลุ่มสังคมได้จัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรใหม่ที่มีความทันสมัย  เหมาะสมแก่ท้องถิ่น และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานภายในพื้นที่  นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับนโยบาย  และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มุ่งเน้น ให้คนเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรภายในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ผ่านกระบวนการพัฒนาที่เป็นระบบ  ภายใต้นโยบายเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์  ที่มุ่งเน้นแนวความคิดที่สร้างสรรค์ภายใต้ฐานความรู้ทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  เป็นการเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการที่ดีต่อการองค์กร  และใช้เป็นหลักสูตรสำหรับผลิตบัณฑิตด้านวัฒนธรรมสร้างสรรค์อย่างมีคุณภาพ  ได้ผลสำเร็จที่เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ในการออกไปรับใช้สังคม  และประเทศชาติสืบต่อไป

 

วัตถุประสงค์

                1. เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขา วัฒนธรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

                2. เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อสาขา วัฒนธรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

                3.  เพื่อทราบแนวทางการพัฒนาหลักสูตรหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขา วัฒนธรรมสร้างสรรค์  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

 

วิธีการศึกษา

 

 

                1.  ประชากร

                     การศึกษาครั้งนี้ประชากรที่ทำการศึกษา  ได้แก่  นักศึกษาและประชาชนในกลุ่มจังหวัดอันดามัน

 

                2. กลุ่มตัวอย่าง

 

                   กลุ่มตัวอย่าง  เลือกแบบเจาะจง จำนวน 300 คน  ประกอบด้วย

นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 200 คน  และผู้ประกอบการ หรือผู้ใช้บัณฑิต  จำนวน 100 คน

  1. 2.              เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

 

               ในการวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามทั้งปลายปิด และปลายเปิด

การสร้างเครื่องมือสร้างจากกรอบแนวคิดและวัตถุประสงค์การวิจัย

1.  ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ

1)            ศึกษาเอกสาร  แนวคิด  ทฤษฎี  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2)            สร้างแบบสอบถามที่ได้จากเอกสาร  แนวคิด  ทฤษฎี  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                   3)   นำแบบสอบถามที่ได้ไปทดลองใช้

4)   นำแบบสอบถามไปปรับปรุงแก้ไข้ให้สมบูรณ์

5)            เก็บรวบรวมข้อมูล

2.  ลักษณะของแบบสอบถาม

     2.1  การศึกษาความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในครั้งนี้ ผู้ศึกษาจะนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 3 ตอน ตามลำดับ ดังนี้

ตอนที่ 1  ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ 2  ความคิดเห็นต่อหลักสูตร

ตอนที่ 3  ลักษณะวิชาชีพที่สนใจ

ตอนที่ 4  ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรวัฒนธรรม

สร้างสรรค์

2.2  ความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิตจากคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของ

สาขาวิชาวัฒนธรรมสร้างสรรค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2552 

ตอนที่ 1  ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบประเมิน

ตอนที่ 2  ความต้องการด้านทักษะวิชาชีพ ความสามารถทั่วไป และคุณธรรม

จริยธรรมของบุคลากรในหน่วยงาน

ตอนที่ 3  ข้อเสนอแนะในการผลิตบัณฑิตสาขาการจัดการวัฒนธรรมสร้างสรรค์

3.  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

        การตรวจสอบและการวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยมีการตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation)  คือ การตรวจสอบข้อมูลในด้านแหล่งที่มาของข้อมูล  แหล่งเวลาของข้อมูล  และแหล่งบุคคล  จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในเชิงสถิติจากการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 

 

 

 

4 วิธีการสร้างเครื่องมือ

 

                การสร้างเครื่องมือเพื่อการวิจัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือ ดังต่อไปนี้

                   4.1  ศึกษาค้นคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือ

                   4.2  ศึกษาระเบียบวิธีการในการสร้างแบบสอบถาม

                   4.3  นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

                   4.4  นำแบบสอบถามที่ตรวจสอบแก้ไขแล้วไปจัดพิมพ์เป็นฉบับทดลอง

                   4.5  นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (Tryout) โดยนำแบบสัมภาษณ์ทดลองใช้กับนักเรียนมัธยมปลาย  จำนวน 30 ชุด

                   4.6 นำแบบสอบถามมาคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา ( ) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.97

                   4.7 จัดพิมพ์แบบแบบสอบถามฉบับจริง เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป 

 

5 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

 

ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบ่งตามลักษณะของข้อมูลเพื่อการวิจัย ดังนี้

5.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นการศึกษาภาคสนามเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ

5.2  วิธีการสอบถามโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน และผู้ประกอบการ หรือผู้ใช้บัณฑิต

 5.3 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ วารสาร นิตยสาร รายงานการวิจัย รายงานประจำปี วิทยานิพนธ์ หลักสูตรต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการวิจัย โดยศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ

 

6  การวิเคราะห์ข้อมูล

 

                6.1  ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

                       ศึกษาเกี่ยวกับความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรวัฒนธรรมสร้างสรรค์ 

                         1.   ตัวแปรอิสระ (Independent  Variable)  ได้แก่

                           -  เพศ

                             -  สถานะการศึกษา

                             -  องค์กรการศึกษา

                             -  อายุ

                       -  เกรดเฉลี่ย

                       -  ความสนใจหลักสูตรวัฒนธรรมสร้างสรรค์                                      

                   2.  ตัวแปรตาม (Dependent  Variables)  ได้แก่ ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรวัฒนธรรมสร้างสรรค์

 

6.2   ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย 

            ศึกษาเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิตจากคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของสาขาวิชาวัฒนธรรมสร้างสรรค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2552

          1.   ตัวแปรอิสะ (Independent  Variable)  ได้แก่

               -  ตำแหน่ง

               -  สังกัด

               -  ชื่อ  ห้างร้าน  หรือที่อยู่ที่ติดต่อได้

                 2.  ตัวแปรตาม (Dependent  Variables) ได้แก่ ความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิตจากคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของสาขาวิชาวัฒนธรรมสร้างสรรค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2552

 

3.6.3  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

 

           คณะผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล  โดยใช้โปรแกรมประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์  โดยนำเสนอในรูปตารางพร้อมคำอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูล  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์มีดังนี้

 ค่าสถิติร้อยละ  ใช้อธิบายลักษณะทางประชากรศาสตร์สำหรับตัวแปรอิสระ  (Independent  Variable) 

 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

1. หาค่าเฉลี่ย  (Mean)  โดยใช้สูตร  (ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2541)

 

                               

                                เมื่อ                                                   แทน       ค่าเฉลี่ย

                                                                                    แทน       ผลรวมคะแนนทั้งหมด

                                   n                              แทน       ขนาดกลุ่มตัวอย่าง

 

 

2.  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: SD) โดยใช้สูตร (ชูศรี  วงศ์รัตนะ, 2541)

                                       

 

                                เมื่อ              SD                   แทน       ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                                                                 แทน       ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

                                                             แทน       ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง

                                                    n                        แทน       ขนาดกลุ่มตัวอย่าง

ในการประเมินผล  จะใช้วิธีการแบ่งช่วงการแปรผลตามหลักของการแบ่งอันตรภาคชั้น (Class interval) โดยใช้สูตรคำนวณความกว้างของช่วงชั้น (มัลลิกา บุนนาค, 2537) ดังต่อไปนี้

                                               

                                                                                                                                   

          เมื่อวิเคราะห์ได้ค่าเฉลี่ยแล้ว  ผู้วิจัยได้กำหนดการแปลความหมายเกี่ยวกับความต้องการ

ศึกษาต่อในหลักสูตรวัฒนธรรมสร้างสรรค์  โดยใช้การวัดระดับความสนใจในการศึกษาต่อ  และความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิตจากคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของสาขาวิชาวัฒนธรรมสร้างสรรค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2552  โดยวัดจากระดับความต้องการด้านทักษะวิชาชีพ ความสามารถทั่วไป และคุณธรรม  จริยธรรม ของบุคลากรในหน่วยงานดังนี้

                จากความหมายของค่าคะแนนแปลผลแบบสอบถามตอนที่ 2 ผู้ศึกษาใช้เกณฑ์ในการจัดระดับคะแนนเฉลี่ยตามมาตราวัดของ ลิเคิร์ท (Likert & scale) และแปลความหมายคะแนนเฉลี่ย ดังนี้

                                ค่าเฉลี่ย                  4.50-5.00              หมายถึง                                มีค่าระดับมากที่สุด

                                ค่าเฉลี่ย                 3.50-4.49              หมายถึง                                มีค่าระดับมาก

                                ค่าเฉลี่ย                 2.50-3.49              หมายถึง                                มีค่าระดับปานกลาง

                                ค่าเฉลี่ย                 1.50-2.49              หมายถึง                                มีค่าระดับน้อย

                                ค่าเฉลี่ย                 1.00-1.49              หมายถึง                                มีค่าระดับน้อยสุด

 

                 6.4 การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสาขาวัฒนธรรมสร้างสรรค์ด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)  จากแบบสอบถามปลายเปิด  จากนั้นเสนอข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา

 

ผลการศึกษา

        1.  ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขา วัฒนธรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  จากการศึกษาพบว่า  กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 61.50 เป็นเพศชาย จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 38.50  ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายศิลป์) จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 72.50 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 200 คน ส่วนใหญ่มาจากโรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคมฯ จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 41.50 รองลงมา คือ มาจากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ตามลำดับ  มีอายุ 18 ปี จำนวน 84 คน   กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีเกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) 2.5 – 2.9 จำนวน 89 คน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 200 คน มีความสนใจหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จำนวน 161 คน คิดเป็นร้อยละ 80.50 

    เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นต่อหลักสูตรศิลปศาสตร บัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวัฒนธรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย   มีความสนใจด้านการท่องเที่ยว ( =3.9800) หลักสูตรนี้มีความเหมาะสมกับวัฒนธรรมท้องถิ่นอันดามัน ( =3.8950)   มีความสนใจการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์  รวมถึงการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ ฟาร์มสเตย์ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงน

หมายเลขบันทึก: 466830เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2011 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท