บทเรียน 14 ข้อเกี่ยวกับน้ำท่วมครั้งนี้


บทเรียน 14 ข้อเกี่ยวกับน้ำท่วมครั้งนี้
 
1 พระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ปัญหาน้ำที่ท่วม เป็นที่ประจักษ์มาเป็นเวลานานกว่า 30 ปีว่า ปัญญาและ Wisdom ของพระองค์ท่านจะช่วยประเทศได้ถ้านักการเมืองน้อมนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะเป็นแสงสว่างได้

2 ประเทศไทยชอบแก้ปัญหาระยะสั้น ผมเคยพูดเสมอว่า นักการเมืองมองแค่กรรมาธิการงบประมาณว่า ฉันหรือจังหวัดฉันได้เท่าไหร่? แต่ไม่เคยวางแผนระยะยาว ไม่แน่ใจว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะเปลี่ยนพฤติกรรมของนักการเมืองได้หรือไม่?

3 การทำงานในยุคต่อไปนี้ต้องมีการทำงานเป็นทีม

* ทีมแรกคือ ระหว่างกระทรวงด้วยกัน ซึ่งก็ยากมากในประเทศไทย

* ต่อมาคือ ทีมรัฐบาลกับทีม กทม.

* ทีมต่อมาก็คือ รัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น อบต. อบจ. เทศบาล

* ทีมสุดท้ายก็คือ รัฐบาลกับภาคประชาชน

4 ครั้งนี้พลังประชาชน ช่วยได้มากกว่าพลังนักการเมือง ซึ่งส่วนมากจะเน้นการออกข่าวถ่ายรูปลงหนังสือพิมพ์ แต่ความสามัคคีของประชาชนสูงมากกว่าการรอพลังของนักการเมือง หวังว่าการรวมพลังครั้งนี้นี้จะช่วยประเทศในหลายด้าน นอกจากเรื่องน้ำท่วม

* การศึกษา

* การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น

5 ศาสตร์และศิลป์ที่สำคัญในการสื่อสารเชิงนวัตกรรม (Communication) นับว่ามากเพราะนายกฯยิ่งลักษณ์ไม่มีบารมีพอที่จะเป็นผู้นำ จึงมีตัวละครหลายคนช่วยเสริม แต่กลับสร้างความล้มเหลวในการออกข่าวสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นให้คนไทย ซึ่งมีแต่ทางลบมากกว่าทางบวก

การแก้ปัญหาครั้งนี้ขาดจุดศูนย์รวมในการให้ข่าว โดยปกติน่าจะเป็นนายกฯ แต่ท่านได้แต่อ่าน รู้ไม่จริงและขาดประสบการณ์ เลยมีตัวแทนที่ออกข่าวแทน ซึ่งไม่ชัดเจนว่าประชาชนจะฟังใคร? เช่น

* ผู้ว่าฯ กทม. (ซึ่งทำได้ดีพอควร)

* รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

* คุณปลอดประสพ สุรัสวดี สื่อแซวว่าเป็นคนปลอดประสบการณ์

* พลตํารวจเอกประชา พรหมนอก ซึ่งไม่เก่งเรื่องสื่อสาร แต่ก็มีประสบการณ์มากพอควร


ภาพจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันพุธที่ 19 ตุลาคม 2554

6 วางแผนให้ดีว่า หลังน้ำลดแล้วจะมีนโนบายอะไรที่เด่นชัด

* นโยบายแรกคือ ใช้โอกาสสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ปลูกข้าวนาปรังในระหว่างที่น้ำลด

* อย่างน้อย อย่าให้ภัยแล้งมาสร้างปัญหาเร็วเกินไป

* จะดูแลความมั่นใจของผู้ลงทุนต่างประเทศอย่างไร โดยเฉพาะญี่ปุ่น

* ฟื้นฟูจิตใจของคนไทยที่ถูกกระทบ

7 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจมีหลายด้านรุนแรงมากใครจะดูแล

* จุดแรกคือ อัตรา GDP จะลดไปเท่าไหร่

* ปัญหาการว่างงานชั่วคราว 3 - 4 เดือน

* ต่อมาคือ งบประมาณ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแถลงแล้วว่า ปี 2512 จะขาดดุล 400,000 ล้าน ซึ่งผมเขียนเตือนแล้วว่า อย่าขาดดุลงบประมาณเกินรัฐบาลอภิสิทธิ์ เคยกำหนดว่า 350,000 ล้าน ซึ่งอันตรายเพราะจะทำให้ การคลังขาดเสถียรภาพในระยะกลางและระยะยาว

8 จะฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมอย่างไร น่าคิดว่าทำไมนิคมอุตสาหกรรมตั้งในที่ลุ่มส่วนใหญ่ อาจจะมองจากปัจจัยโลจิสติกส์ คือใกล้สนามบินดอนเมือง และวิธีการวางแผนมีแต่สร้างเขื่อนป้องกันน้ำ ไม่ได้ถมที่ให้สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนต่ำ แต่ไม่ได้บริหารความเสี่ยงในอนาคต

9 นักการเมืองต้องไม่ฉกฉวยโอกาสเพื่อผลงานระยะสั้น บางคนก็อยากดัง อยากแสดง เพื่อไม่ให้ตกกระแส คนไทยต้องแยกแยะให้ออกว่า ใครทำอะไร อย่างไร ทำแล้วคนไทยได้ประโยชน์หรือไม่?

10 สื่ออาชีพออกข่าวมากทุกช่อง ทุกจุด แต่วิเคราะห์ให้เป็นประโยชน์ต่อคนไทยหรือเปล่า? บริโภคสื่อมากไปจะสร้างความเครียดได้ในระยะยาว

11 ถึงเวลาที่จะเรียนรู้จาก ประสบการณ์ต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นเนเธอร์แลนด์ หรือจีน ต้องมีนโยบายที่จะปรึกษาหาประสบการณ์จากประเทศที่มีปัญหาน้ำท่วม

12 เป็นการเตือนให้เยาวชนไทยที่จะเติบโตภายภาคหน้าได้มีโอกาสเรียนและมีอาชีพต่างๆ เพื่อมีงานทำที่มีคุณค่าในการสร้างความมั่นคงให้ประเทศ เช่น

* วิศวะแหล่งน้ำ

* สิ่งแวดล้อม

* ภาวะโรคร้อน

* เรื่อง ภาวะอากาศต่างๆ

13 มหาวิทยาลัยที่น่ายกย่องคราวนี้ก็คือ มหาวิทยาลัยที่มีนักวิชาการที่รู้เรื่องแหล่งน้ำ วิศวกรรมแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หรือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรืออื่นๆ ที่ปิดทองหลังพระ ทำงานวิจัยอย่างมีคุณค่า สังคมไทยต้องยกย่องบุคคลเหล่านั้น

14 ข้อมูลดีๆ ที่มาจากที่บริษัทที่ปรึกษา (Consultants) ที่ทำงานด้านวิศวกรรมแหล่งน้ำ การวางแผนเมืองและสามารถให้ข้อมูลที่มีคุณค่าต่อสังคมอย่างครบถ้วนและรอบด้าน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นบทเรียนที่ผมขอฝากให้ผู้อ่านเพื่อเรียนรู้จากบทเรียนราคาแพงครั้งนี้และหวังว่าจะไม่เกิดอีก

สังคมไทยต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เราต้องสร้างสังคมการเรียนรู้ เพื่ออยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไม่ใช่สังคมจอมปลอม ซึ่งคนไม่รู้ออกความเห็น คนรู้ไม่ได้มีบทบาท อย่าให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ อวิชา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์ 0-2273-0181
หมายเลขบันทึก: 466799เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2011 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท