กัมมจตุกะ (กรรม ๑๖)


กัมมจตุกะ (กรรม ๑๖)

 

กัมมจตุกะ (กรรม 16)

กรรม หมายถึง การกระทำที่เกี่ยวเนื่องด้วย กาย วาจา ใจ ทั้งที่ดี และที่ไม่ดี       ได้แก่เจตนาที่อยู่ในอกุศลจิต และโลกียกุศลจิต

พระอนุรุทธาจารย์ท่านแสดงกรรม หรือแบ่งกรรมออกเป็น ๔ หมวด แต่ละหมวดมี ๔  (รวมเป็น ๑๖) ดังนี้คือ

๑. กิจจจตุกกะ คือ กรรมที่ว่าโดยกิจ มี ๔

๒. ปากทานปริยายจตุกกะ คือ กรรมที่ว่าโดยลำดับแห่งการให้ผล มี ๔

๓. ปากกาลจตุกกะ คือ กรรมที่ว่าโดยเวลาแห่งการให้ผล มี ๔

๔. ปากัฏฐานจตุกกะ คือ กรรมที่ว่าโดยฐานะแห่งการให้ผล มี ๔

 

๑. กิจจจตุกกะ (ว่าโดยกิจ) มี ๔ คือ

๑.๑ ชนกกรรม  คือ กรรมที่ทำให้วิบากเกิดขึ้น

๑.๒ อุปัตถัมภกกรรม คือ กรรมที่ช่วยอุดหนุนกรรมอื่นๆ

๑.๓ อุปปีฬกกรรม คือ กรรมที่เข้าไปเบียดเบียนกรรมอื่นๆ

๑.๔ อุปฆาตกกรรม คือ กรรมที่เข้าไปตัดรอนกรรมอื่นๆ หรือตัดรอนผลของกรรม อื่นๆ

 

๒. ปากทานปริยายจตุกกะ (ว่าโดยลำดับแห่งการให้ผล) มี ๔ คือ

๑.๑ ครุกรรม คือ กรรมอย่างหนักที่กรรมอื่นๆไม่สามารถจะห้ามได้

๑.๒ อาสันนกรรม คือ กรรมที่ทำไว้เมื่อใก้ลจะตาย

๑.๓ อาจิณณกรรม คือ กรรมที่เคยทำไว้เสมอๆ

๑.๔ กฏัตตากรรม คือ กรรมที่ทำไว้พอประมาณไม่เท่าถึงกรรมทั้ง ๓ นั้นหรือ     กรรมที่เคยทำไว้ในอดีตชาติ

 

๓. ปากกาลจตุกกะ (ว่าโดยเวลาแห่งการให้ผล) มี ๔ คือ

๑.๑ ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุปันชาติ (ชาตินี้)

๑.๒ อุปปัชชเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาติที่ ๒

๑.๓ อปราปริยเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไปจนกว่าจะถึงพระนิพพาน

๑.๔ อโหสิกรรม คือ กรรมที่ไม่ให้ผล

 

๔. ปากัฏฐานจตุกกะ (ว่าโดยฐานะแห่งการให้ผล) มี ๔ คือ

๑.๑ อกุศลกรรม

๑.๒ กามาวจรกุศลกรรม

๑.๓ รูปาวจรกุศลกรรม

๑.๔ อรูปาวจรกุศลกรรม

 

นี้เป็นเพียงหัวข้อยังมีการอธิบายขยายความอีกมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก (หากสนใจหาอ่านได้ในพระอภิธรรม ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๒)

หมายเลขบันทึก: 466636เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2011 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 01:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท