15 กันยายน 2554 สมบัติของสารละลายกรดและกรดในชีวิตประจำวัน ความหลากหลายทางชีวภาพ


สมบัติของสารละลายกรดและกรดในชีวิตประจำวัน ความหลากหลายทางชีวภาพ

07.00 น.ลงชื่อลงเวลาปฏิบัติงาน คุมเด็กทำความสะอาดห้องเรียน เช็คซื่อเด็กตอนเข้าแถว 

ตอนเช้า 08.00-10.00 น. สอนชั้นม.1/2  และในตอน 13.00-15.00 น. สอนชั้นม.1/3 เรื่อง สมบัติของสารละลายกรดและกรดในชีวิตประจำวัน 

กรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง กรดทำปฏิกิริยากับโลหะและสารประกอบคาร์บอเนตได้แก๊ส และทำให้โลหะและสารประกอบคาร์บอเนตผุกร่อน นำไฟฟ้าได้มีค่า pH < 7 การใช้สารที่มีสมบัติเป็นกรดต้องใช้อย่างถูกต้องปลอดภัย ระมัดระวังไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 

ตอนสาย 10.00 น. สอนชั้น ม.4/1 เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ 

ความหลากหลายทางชีวภาพมีหลายระดับ ได้แก่ ความหลากหลายทางระบบนิเวศ ความหลากหลายของสปีชีส์ และความหลากหลายทางพันธุกรรม   สปีชีส์ คือ กลุ่มประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่ผสมพันธุ์กันแล้วได้ลูกหลานสืบทอดต่อไป สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันก็อาจมีลักษณะบางอย่างต่างกัน เนื่องจากมีความแตกต่างทางพันธุกรรม   สิ่งมีชีวิตในโลกมีจำนวนหลายล้านสปีชีส์ สามารถจำแนกออกได้เป็น 5 กลุ่ม ได้โดยใช้เกณฑ์ต่างๆ หลายเกณฑ์ร่วมกัน ได้แก่ ความคล้ายคลึงทางโครงสร้าง ออร์แกเนลล์และสารเคมีภายในเซลล์ สารพันธุกรรม พฤติกรรมและแบบแผนการเจริญเติบโต หลักฐานทางวิวัฒนาการ การแพร่กระจายตามสภาพภูมิศาสตร์ การจำแนกสิ่งมีชีวิตเป็นกลุ่มอาจแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่นักวิทยาศาสตร์ ใช้ในการจำแนก ในที่นี้เสนอการจำแนก 5 กลุ่มใหญ่ หรือ 5 อาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรมอเนอรา อาณาจักรโพรทิสตา อาณาจักรเห็ดราและยีสต์ อาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์ 

หมายเลขบันทึก: 466137เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2011 03:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท