ย่ำทุ่ง รับแดด รับลม เพื่อการเรียนรู้


เกษตรกรเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกสนาน
         วันที่ 25 สิงหาคม 2549   ท่านเกษตรอำเภอมอบให้ผมทำหน้าที่อำนวยการกระบวนการถ่ายทอดความรู้อีกครั้ง  เนื่องจากวิทยากรจาก 2 หน่วยงานที่กำหนดไว้ในแผนติดราชการ  ไม่สามารถมาร่วมในการจัดงานวันสาธิตถ่ายทอดความรู้เรื่องการผลิตข้าวได้  กิจกรรมดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จัดขึ้น ณ  ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลท้ายสำเภา  เกษตรกรเป้าหมายจากทุกตำบลของอำเภอพระพรพรหม 4 ตำบล  8 กลุ่มผู้ผลิตข้าว  จำนวน 200 คน 
         เกษตรอำเภอพระพรหม ท่านวิจิตร นวลพลับ บอกผมว่าวิทยากรจาก 2 หน่วยงานที่ผมกล่าวข้างต้นได้โทร.แจ้งมาเมื่อสักครู่  จึงบอกให้ผมปรับแผนกระบวนการไว้ก่อน  ก่อนที่การลงทะเบียนจะเสร็จสิ้น  ซึ่งผมต้องปรับอย่างเร็วเพราะเวลาเริ่มต้นใกล้เข้ามาแล้ว  จึงรีบประสานพูดคุยกับเพื่อนนักวิชาการส่งเสริมการของสำนักงานเกษตรอำเภอ  และตกลงว่า ให้คุณอำพร สุชาติพงศ์ รับหน้าที่ประจำที่  สถานีที่ 1 การถ่ายทอดความรู้เรื่องดิน  ให้ใช้การกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยบรรยายให้น้อยที่สุด  ส่วนคุณสุภาพ คำนุ่น    ประจำสถานีที่ 4 สุดท้าย  กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง"  ส่วนสถานนีที่ 2 ให้นักวิชาการของศูนย์บริการด้านพืชและปัจจัยการผลิตอีกท่านที่มาด้วย  ได้ช่วยทำหน้าที่วิทยากร
             เมื่อการลงทะเบียนเสร็จสิ้นเกษตรกรเป้าหมายนั่งรวมกัน  ที่จุดรวมหลัก  เมื่อท่านเกษตรอำเภอได้พบปะพูดคุยทำความเข้าใจในโครงการ/กิจกรรมสั้น ๆ  เสร็จแล้วก็มอบให้ผม  ดำเนินการ  อำนวยกระบวนการเรียนรู้  วันนี้ได้แบ่งสถานีการเรียนรู้  4  สถานี (ตามแผนที่กำหนดเดิม)  คือ
            1. การเตรียมดิน    โดย นักวิชาการ จากสนง.พัฒนาที่ดินนครศรีธรรมราช
            2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์  โดย นักวิชาการ จาก สนง.เกษตรจังหวัด
            3. การดูแลรักษา  โดย นักวิชาการ  จาก ศูนย์บริการด้านพืชและปัจจัยการผลิตนครศรีธรรมราช
            4. การใช้ชีวิต "เศรษฐกิจพอเพียง" 
            และได้ปรับเปลี่ยนวิทยากรประจำสถานีแล้ว   เมื่อได้เวลาพอสมควรผมก็เริ่ม  แบ่งกลุ่ม  และแจ้งให้แต่ละกลุ่ม ทราบว่าเริ่มที่สถานีใด  ได้ถือเก้าอี้กันคนละตัว  เดินไปรวมกันที่สถานีเริ่มต้นของตนเอง    

<p> </p><p></p><p align="left">(ในภาพเกษตรกรเดินไปยังสถานที่เริ่มต้นตามที่ตกลง)</p><p align="left">           </p><p align="justify">         การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยให้เกษตรกรผู้มีประสบการณ์เล่า  เรื่อง การเตรียมดิน</p><p align="justify"></p><p align="justify">      การแลกเปลียนเรียนรู้  โดยเกษตรกร นายเจริญ หอยสังข์  เล่าเรื่องการทำนาในเขตชลประทาน</p><p align="justify">        </p><p align="justify"></p><p align="justify">              เมื่อได้เวลาก็ให้หมุนเปลี่ยนโดยแต่ละกลุ่มที่อยู่ในสถานีลุกเดินไปสถานีใหม่ปรับเปลี่ยนกันไป   จนครบทุกสถานี  โดยผมจะแจ้งจากเครื่องกระจายเสียงหอกระจายข่าวให้วิทยากรทราบ ช่วง 5 นาทีสุดท้ายของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้สรุป</p><p align="justify">                 
นักวิชาการ : ศูนย์บริการด้านพืชและปัจจัยการผลิต ฯ แนะนำการเตรียมเมล็ดพันธุ์ จากแปลงนาโดยไม่ต้องซื้อ</p><p align="justify"></p><p align="justify">โดยนักวิชาการ : ศูนย์บริการด้านพืชและปัจจัยการผลิต ฯ ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษา</p><p align="justify">         จากการสังเกตการถ่ายทอดความรู้ในลักษณะการใช้กระบวนการลักษณะนี้  ซึ่งมีการบรรยายเป็นบางตอนเพื่อเสริมกับการเล่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรผู้ประสบความสำเร็จ  พบว่า เกษตรกรเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกสนานกับบรรยากาศการลุกเดินเปลี่ยนสถานีเรียนรู้  และ เปลี่ยนวิทยากร   รวมถึงการที่ได้แสดงนำเสนอประสบการณ์ของตนเอง  และรับความรู้จากเกษตรกรรายอื่น ๆ ที่มาจากต่างตำบล</p><p align="justify"> </p>

หมายเลขบันทึก: 46613เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2006 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท