ช้างไถนา ตอนที่ 2


หน้าที่หลัก ๆ ของช้างคือ การขนของ

    หน่อดู ซะโท่   เป็นคำกล่าวของชาวกะเหรี่ยงในความหมายที่ว่า  สิ่งที่ยิ่งใหญ่  มีบารมีและมีศักดิ์ศรี ซึ่งหมายถึง ช้าง  นั่นเอง จึงก่อให้เกิดความเชื่อที่ว่า  ผู้ใดที่มีช้างไว้ครอบครองหรือมีส่วนร่วมในการซื้อช้างจะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในวงศ์ตระกูลและเป็นที่เคารพนับถือของผู้คนวิถีชีวิตของช้างบนดอยเริ่มมีมาช้านานเนื่องจากสมัยก่อนชาวบ้านทำมาหากินด้วยความยากลำบาก  การทำไร่ทำนาในแต่ละปีนั้นไม่พอกิน ต้องขุดมัน  หากลอยกินแทนข้าวเพื่อประทังชีวิตให้อยู่รอดไปวันๆต้องเดินด้วยเท้าเปล่าไปไกลเป็นร้อยๆ กิโลเพื่อไปหาข้าวสาร กินเวลานานห้าถึงหกวัน  ชาวบ้านจึงใช้ช้างเพื่อบรรทุกสิ่งของต่างๆโดยเฉพาะข้าวสาร  นอกจากนี้การทำนาทำไร่เลื่อนลอยในสมัยก่อนนั้นไร่นาอยู่ไกลออกไปจากหมู่บ้านมาก เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวไร่ และข้าวนาต้องใช้ช้างในการบรรทุกข้าวเปลือก  ดังนั้นงานที่ไกลๆ ใช้เวลาเดินทางหลายวันหรืองานที่หนักๆเกินกำลังของชาวบ้านจึงใช้แรงช้างเป็นส่วนใหญ่  ด้วยความผูกพันระหว่างคนและสัตว์  ควาญช้างเองก็รับรู้ถึงความเหนื่อยยากของช้างด้วยเช่นกันสิ่งหนึ่งที่ควาญช้างสามารถตอบแทนช้างได้คือ หาอาหารดีๆ ให้ช้างกินและร้องเพลงให้ช้างฟัง  ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่า  การร้องเพลงให้ช้างฟัง  ทำให้ช้างผ่อนคลายและมีอารมณ์ดี เมื่อช้างเจ็บป่วยก็ต้องทำการมัดมือช้างหรือการเรียกขวัญช้าง ช้างจึงมีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงบนดอยไม่น้อยเลยทีเดียวขณะเดียวกันชาวกะเหรี่ยงเองก็มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับช้างไม่น้อยเช่นกัน


ภาพช้างไถนา  วาดโดย นายพะลาโป๊ะ ประยูนยืนยง ลูกหลานของชุมชนบ้านนาเกียน


ภาพช้าง วาดโดย นายพะลาโป๊ะ ประยูนยืนยง ลูกหลานของชุมชนบ้านนาเกียน

 

คำสำคัญ (Tags): #ช้าง
หมายเลขบันทึก: 465972เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2011 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แวะมาตามดูช้างไถนาให้ดูครับ

วันหนึ่งน่าจะได้หลายไร่นะครับ

เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน ผมเคยนำเสื้อผ้าและผ้าห่มไปแจกให้กับตำบลนาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ไปกันหลาย 10 ชีวิต ไปนอนค้างที่นั่น 1 คืน โดยนายอำเภออมก๋อยเป็นผู้ช่วยประสานงานให้(สมัยนั้นนายอำเภออมก๋อย ชื่อว่า "นายพระนาย สุวรรณรัฐ" ซึ่งปัจจุบันเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย)

ครั้งนั้นมีโอกาสได้เห็น "ช้างไถนา" กับตาเป็นครั้งแรก ทึ่งมากๆ เลยครับ ถ่ายรูปเอาไว้หลายรูป แต่น่าเสียดายที่หายไปหมดแล้ว

หากมีโอกาส ก็อยากจะไปเยี่ยมอีกครั้งนะครับ

อ.wasawat ค่ะ ขอบคุณแทนน้องค่ะ

อ.โสภณ เปียสนิทค่ะ ขอบคุณที่แวะมาทักทายและเยี่ยมชมค่ะ ช้างสามารถไถนาได้วันละ ประมาณ 3 ไร่ค่ะ

แต่ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าไถแบบไม่รีบนะค่ะ เพราะต้องพาช้างพักบ้าง

อ.อักขณิชค่ะ ถ้ามีโอกาสหรือมีเวลาว่าง หน้าหนาวนี้ลองไปเที่ยวอีกครั้งนะค่ะ อาจจะได้ความรู้สึกอีกแบบหนึ่งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท