24 สิงหาคม 2554 พลังงานกับการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร


24 สิงหาคม 2554 

 07.00 น. ลงชื่อลงเวลาปฏิบัติงาน คุมเด็กทำความสะอาดห้องเรียน เช็คซื่อเด็กตอนเข้าแถว 

ตอนเช้า ช่วยจัดเอกสารห้องธุรการ 

ตอนบ่าย 14.00 น.สอนชั้น ม.4/1 เรื่อง พลังงานกับการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร

การเปลี่ยนแปลงสถานะของสารจะเกิดการถ่ายเทพลังงาน โดยเมื่อให้ความร้อนสารจะเกิดการเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน แต่เมื่อให้ความเย็นสารจะเกิดการเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อน

เมื่อสารได้รับความร้อนขณะที่มีการเปลี่ยนสถานะ อุณหภูมิของสารจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยจะนำ ความร้อนที่ได้รับไปใช้เปลี่ยนสถานะ ซึ่งเรียกค่าพลังงานที่นำไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงของสารว่า ความร้อนแฝงจำเพาะของสาร สารแต่ละชนิดจะมีค่าความร้อนแฝงจำเพาะ 2 ค่าด้วยกัน คือ 1.ความร้อนแฝง   คือ   ปริมาณความร้อนที่สารใช้ในการเปลี่ยนสถานะ  โดยอุณหภูมิในขณะที่มีการเปลี่ยนสถานะคงที่เป็นสมบัติเฉพาะตัวของสาร   2. เป็นค่าพลังงานความร้อนที่นำมาใช้เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว  3. ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ เป็นค่าพลังงานความร้อนที่นำไปใช้ในการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอ    - น้ำมีค่าความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลว 80 แคลอรีต่อกรัม หมายความว่าในการทำน้ำแข็ง 1 กรัม ให้หลอมเหลวเป็นน้ำ ต้องใช้พลังงานความร้อน 80 แคลอรี     - น้ำมีค่าความร้อนแฝงจำเพาะของการกลายเป็นไอ 600 แคลอรีต่อกรัม หมายความว่าในการทำน้ำ 1 กรัม อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ให้เปลี่ยนเป็นไอน้ำ 1 กรัม อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ต้องให้พลังงานความร้อน 600 แคลอรี

17.00 น. ลงซื่อกลับ

หมายเลขบันทึก: 465933เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2011 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท