ขั้นตอนก้าวเข้าสู่การเป็นข้าราชการบำนาญ,ก้าวเข้าเป็นสมาชิกทหารผ่านศึก


ทหารผ่านศึกนอกประจำการ,ครอบครัวทหารผ่านศึก,ทหารนอกประจำการ,ผู้มีสิทธิได้รับบัตรประจำตัวทหารผ่านศึก,บัตรมี ๖ ประเภท,บัตรชั้นที่๓,บัตรชั้นที่๔

ข้อแนะนำเกี่ยวกับบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ
ครอบครัวทหารผ่านศึก
 และทหารนอกประจำการ 

 ทหารผ่านศึกนอกประจำการ ครอบครัวทหารผ่านศึก
หรือทหารนอกประจำการ ที่จะได้รับการสงเคราะห์
ต้องมีบัตรประจำตัวที่องค์การสงคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) เป็นผู้ออกให้และยังมิได้ถูกเพิกถอนหรือเรียกคืนไว้ใช้ควบคุมและประมาณการงบประมาณ  ในการให้การสงเคราะห์ประเภทต่าง ๆ ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวก จึงได้จัดทำข้อแนะนำเกี่ยวกับการขอบัตรประจำตัวทหารผ่านศึก ดังนี้

 ทหารผ่านศึกนอกประจำการ  หมายความว่า  ทหารผ่านศึกผู้ที่ไม่ใช่ทหารผ่านศึกประจำการ

 ครอบครัวทหารผ่านศึก  หมายความว่า  บิดามารดา สามีภริยา และบุตร
ที่ถูกต้องตามกฎหมายของทหารผ่านศึก

 ทหารนอกประจำการ  หมายความว่า 
ทหารกกองหนุนประเภทที่ ๑ หรือผู้ที่พ้นราชการทหารประเภทที่ ๑ รวมทั้งนายทหารสัญญาบัตร และนายทหารประทวนนอกประจำการซึ่งมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด
บำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นทหารผ่านศึกหรือไม่

บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ  ออกให้แก่

     ๑.  ทหารหรือบุคคล  ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในราชการ  หรือบุคคลซึ่งทำหน้าที่ทหาร  ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดและได้ทำหน้าที่นั้นในการสงคราม หรือในการรบ ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามการจลาจล

     ๒.  ทหารหรือบุคคล ซึ่งทำการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง  หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร  ตามที่กระทรวงกลาโหม  หรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด

ผู้มีสิทธิได้รับบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

     ๑.  เป็นทหารผ่านศึกนอกประจำการ

     ๒.  ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ทหารผ่านศึก

       ๒.๑ ไม่ถูกปลดออกจากทหารกองประจำการ เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ เพราะกระทำความผิด

      ๒.๒ ไม่กระทำความผิดฐานหนีราชการ

      ๒.๓ ไม่ถูกไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ

      ๒.๔ ไม่ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิด ที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดที่มีกำหนดโทษชั้นลหุโทษ  

บัตรมี ๖ ประเภท คือ 

      ๑.  บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑

      ๒. บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๒  

      ๓.  บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๓

      ๔. บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๔

      ๕.  บัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ ๑

      ๖.  บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ

บัตรชั้นที่ ๑  ได้แก่บุคคล  ๒  กลุ่ม  ดังนี้

        ทหารผ่านศึกนอกประจำการที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีด้วยความกล้าหาญ  เหรียญดุษฎีมาลาเข็มกล้าหาญ  หรือเหรียญกล้าหาญ  โดยใช้หลักฐาน ดังนี้

        ๑.  สำเนาหนังสือสำคัญประจำตัวทหารกองหนุน  (สด.๘)  หรือสำเนาทะเบียนทหารกองประจำการ  (สด.๓)  หรือสำเนาประวัตินายสิบ  พลทหาร  หรือสำเนาคำสั่งออกจากราชการ  หรือสำเนาบัตรรับบำนาญ

       ๒.  สำเนาราชกิจจานุเบกษาที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯ  หรือเหรียญกล้าหาญ

       ๓. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  หรือสำเนาบัตรอื่นใด  ที่ติดภาพถ่ายของผู้ขอทำบัตร

       ๔.  รูปถ่ายสีธรรมชาติหรือขาวดำขนาด  ๒.๕ x ๓  ซม. จำนวน  ๓ 
ภาพ  ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน(ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร แต่งกายเครื่องแบบ หรือเสื้อพระราชทาน หรือสูทสากลผูกเนคไท หรือแต่งกายสุภาพสวมเสื้อมีปก มีแขน ไม่มีลวดลาย) 

       ๕.  สำเนาพระบรมราชโองการพระราชทานยศ  หรือสำเนาราชกิจจานุเบกษาเรื่องพระราชทานยศ  หรือ สำเนาคำสั่งแต่งตั้งยศ  (กรณีเลื่อนยศ)

       ๖.  หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล  (กรณีเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล)
หนังสือรับรองเป็นบุคคล คนเดียวกันจากฝ่ายปกครอง ซึ่งทางอำเภอออกให้  หรือจากหน่วยต้นสังกัด (กรณีชื่อตัว - ชื่อสกุลไม่ตรงกัน)

        ทหารผ่านศึกนอกประจำการ ที่พิการทุพพลภาพ จากการปฏิบัติหน้าที่ในการสงครามหรือในการรบ หรือป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร  ไม่ว่าภายในหรือ ภายนอกราชอาณาจักรหรือในการปราบปรามการจลาจล ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด  โดยมีคณะกรรมการเฉพาะกิจขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกที่มีแพทย์ร่วมด้วย  จำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน  ตรวจรับรอง  โดยใช้หลักฐาน   ดังนี้

        ๑.  สำเนาคำสั่งปฏิบัติหน้าที่  หรือหนังสือรับรองของหน่วยต้นสังกัด
กรณีปฏิบัติราชการพิเศษ

        ๒.  รายงานการสูญเสียทางเอกสาร แบบ กพ.๓  หรือรายงานการสูญเสียกำลังพล แบบ กพ.๔  (กระดาษเขียนข่าววิทยุ) 

        ๓. สำเนาหนังสืออนุมัติเงินค่าทดแทนจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) หรือ สำเนาคำสั่งอนุมัติการจ่ายเงินบำเหน็จความชอบ  ค่าทดแทนและการช่วยเหลือ (บ.ท.ช.)

        ๔.  สำเนาคำสั่งปูนบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุฉุกเฉิน 
และสำเนาหลักฐานการรับเงินบำนาญพิเศษจากกรมบัญชีกลาง  (ยกเว้นผู้ไม่มีสิทธิรับเงินบำนาญพิเศษ)

       ๕. สำเนาใบสำคัญความเห็นแพทย์  หรือสำเนาใบสำคัญสำหรับคนพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคไม่สามารถรับราชการทหารได้ ซึ่งมีแพทย์ ๓ คนรับรอง  

       ๖.  สำเนาคำสั่งออกจากราชการจากหน่วยต้นสังกัด  หรือหนังสือสำคัญสมุดประจำตัวทหารกองหนุน (สด.๘)                        

       ๗.  สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

       ๘.  รูปถ่ายสีธรรมชาติหรือขาวดำขนาด  ๒.๕ x ๓  ซม. จำนวน  ๓ 
ภาพ  ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน (ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร แต่งกายเครื่องแบบ หรือเสื้อพระราชทาน หรือสูทสากลผูกเนคไท หรือแต่งกายสุภาพ สวมเสื้อมีปก มีแขน ไม่มีลวดลาย)                   

       ๙. สำเนาพระบรมราชโองการพระราชทานยศ  หรือสำเนาราชกิจจานุเบกษาเรื่องพระราชทานยศ  หรือ สำเนาคำสั่งแต่งตั้งยศ  (กรณีเลื่อนยศ)

     ๑๐.  หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล  (กรณีเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล)
หนังสือรับรองเป็นบุคคล คนเดียวกันจากฝ่ายปกครอง ซึ่งทางอำเภอออกให้  หรือจากหน่วยต้นสังกัด (กรณีชื่อตัว - ชื่อสกุลไม่ตรงกัน) กรณีทหารผ่านศึกฯ ที่ปลดพิการตามกฎกระทรวงฯ ซึ่งมีใบสำคัญความเห็นแพทย์ หรือ (สด.๖) แสดงว่าสภาพความพิการเป็นอุปสรรคสำคัญในการประกอบอาชีพทหาร  แต่ผู้ที่มีสิทธิจะได้รับบัตรประจำตัวฯ บัตรชั้นที่ ๑ จะต้องมีความพิการที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการประกอบอาชีพทั่วไป  จึงต้องตรวจสภาพความพิการจากคณะแพทย์ของ อผศ. อีกครั้งหนึ่ง หากคณะแพทย์ฯ ลงความเห็นว่าความพิการไม่เป็นอุปสรรคสำคัญในการประกอบอาชีพ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับบัตรชั้นที่  ๑  อผศ. จะออกบัตรชั้นที่ ๒,๓ หรือ ๔ ให้ใช้สิทธิ ตามเหรียญราชการสงครามที่ได้รับพระราชทาน และ  ในโอกาสต่อไป หากความพิการกำเริบมากขึ้นจนเป็นอุปสรรคสำคัญในการประกอบอาชีพ ก็สามารถมาขอตรวจสภาพความพิการได้อีก

บัตรชั้นที่ ๒  ได้แก่ 

         ทหารผ่านศึกนอกประจำการที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ  เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นที่ ๑  เหรียญงานพระราชสงครามยุโรป หรืเหรียญอื่นที่เทียบเท่า โดยใช้หลักฐาน ดังนี้

         ๑.  สำเนาหนังสือสำคัญประจำตัวทหารกองหนุน  (สด.๘)  หรือสำเนาทะเบียนทหารกองประจำการ (สด.๓)  หรือสำเนาประวัตินายสิบ  พลทหาร  หรือสำเนาคำสั่งออกจากราชการ  หรือสำเนาบัตรรับบำนาญ

         ๒.  สำเนาราชกิจจานุเบกษาที่ได้รับพระราชทานเหรียญฯ

         ๓.  สำเนาพระบรมราชโองการพระราชทานยศ  หรือสำเนาราชกิจจานุเบกษาเรื่องพระราชทานยศ  หรือ สำเนาคำสั่งแต่งตั้งยศ  (กรณีเลื่อนยศ)

        ๔.  หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล (กรณีเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล) หนังสือรับรองเป็นบุคคลคนเดียวกันจากฝ่ายปกครอง ซึ่งทางอำเภอออกให้  หรือจากหน่วยต้นสังกัด (กรณีชื่อตัว - ชื่อสกุลไม่ตรงกัน)

        ๕. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  หรือสำเนาบัตรอื่นใด  ที่ติดภาพถ่ายของผู้ขอทำบัตร          

        ๖.  รูปถ่ายสีธรรมชาติหรือขาวดำขนาด  ๒.๕ x ๓  ซม. จำนวน  ๓ ภาพ  ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน (ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร แต่งกายเครื่องแบบ หรือเสื้อพระราชทานหรือสูทสากลผูกเนคไท หรือแต่งกายสุภาพสวมเสื้อมีปก มีแขน ไม่มีลวดลาย)

บัตรชั้นที่ ๓  ได้แก่   

         ทหารผ่านศึกนอกประจำการที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เหรียญราชการชายแดน  เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นที่ ๒  หรือเหรียญอื่น ๆ  ที่เทียบเท่า และต้องมีเวลาปฏิบัติงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๘ เดือน  นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่ง และเริ่มปฏิบัติหน้าที่ และได้ปฏิบัติสมความมุ่งหมายของทางราชการ        เว้นแต่ในขณะปฏิบัติหน้าที่ได้กระทำการปะทะต่อสู้  หรือปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่มีการสู้รบและเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต

โดยใช้หลักฐาน  ดังนี้

         ๑.  สำเนาหนังสือสำคัญประจำตัวทหารกองหนุน  (สด.๘)  หรือสำเนาทะเบียนทหารกองประจำการ (สด.๓)  หรือสำเนาประวัตินายสิบ  พลทหาร  หรือสำเนาคำสั่งออกจากราชการ  หรือสำเนาบัตรรับบำนาญ 

         ๒.  สำเนาคำสั่งปฏิบัติหน้าที่  พ้นหน้าที่ 
หรือหนังสือรับรองเวลาราชการเป็นทวีคูณ  หรือหนังสือรับรองจากหน่วยต้นสังกัด

         ๓. สำเนาหนังสือสำคัญแสดงการปฏิบัติหน้าที่จบภารกิจ  หรือหนังสือรับรองศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก (ศปก.ทบ. ๓๐๙)  กรณีปฏิบัติราชการพิเศษ

         ๔.  สำเนาราชกิจจานุเบกษาที่ได้รับพระราชทานเหรียญฯ

         ๕.  สำเนาพระบรมราชโองการพระราชทานยศ  หรือสำเนาราชกิจจานุเบกษาเรื่องพระราชทานยศ  หรือ  สำเนาคำสั่งแต่งตั้งยศ  (กรณีเลื่อนยศ)

         ๖.  หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล  (กรณีเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล) หนังสือรับรองเป็นบุคคลคนเดียวกันจากฝ่ายปกครอง ซึ่งทางอำเภอออกให้  หรือจากหน่วยต้นสังกัด (กรณีชื่อตัว - ชื่อสกุลไม่ตรงกัน)                 

         ๗. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  หรือสำเนาบัตรอื่นใด  ที่ติดภาพถ่ายของผู้ขอทำบัตร                                          

         ๘.  รูปถ่ายสีธรรมชาติหรือขาวดำขนาด  ๒.๕ x ๓  ซม. จำนวน  ๓ 
ภาพ  ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน (ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร แต่งกายเครื่องแบบ หรือเสื้อพระราชทานหรือสูทสากลผูกเนคไท หรือแต่งกายสุภาพ สวมเสื้อมีปก มีแขน ไม่มีลวดลาย)

บัตรชั้นที่ ๔  ได้แก่ 

          ทหารผ่านศึกนอกประจำการที่มิได้รับเหรียญราชการสงครามใด ๆ 
และไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับบัตรชั้นที่ ๑, ๒ และ ๓ และต้องมีเวลาปฏิบัติงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๘ เดือน  นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งและเริ่มปฏิบัติหน้าที่ และได้ปฏิบัติสมความมุ่งหมายของทางราชการ    เว้นแต่ในขณะปฏิบัติหน้าที่ได้กระทำการปะทะต่อสู้ หรือปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่มีการสู้รบและเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต
  โดยใช้หลักฐาน  ดังนี้

          ๑.  สำเนาหนังสือสำคัญประจำตัวทหารกองหนุน  (สด.๘)  หรือสำเนาทะเบียนทหารกองประจำการ (สด.๓)  หรือสำเนาประวัตินายสิบ  พลทหาร  หรือสำเนาคำสั่งออกจากราชการ  หรือสำเนาบัตรรับบำนาญ

          ๒.  สำเนาคำสั่งปฏิบัติหน้าที่  พ้นหน้าที่ หรือหนังสือรับรองเวลาราชการเป็นทวีคูณ  หรือหนังสือรับรองจากหน่วยต้นสังกัด

          ๓. สำเนาหนังสือสำคัญแสดงการปฏิบัติหน้าที่จบภารกิจ  หรือหนังสือรับรองศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก (ศปก.ทบ. ๓๐๙)  กรณีปฏิบัติราชการพิเศษ 

          ๔.  แบบบันทึกการสอบประวัติราชการสงคราม  ประกอบการขอทำบัตรตามแบบ  บ.๕  (กรณีพิพาทอินโดจีน หรือสงครามหาเอเซียบูรพา ผู้ที่ไม่มีหลักฐานการได้รับพระราชทานเหรียญราชการสงครามมาแสดง)

         ๕.  สำเนาพระบรมราชโองการพระราชทานยศ  หรือสำเนาราชกิจจานุเบกษาเรื่องพระราชทานยศ  หรือ สำเนาคำสั่งแต่งตั้งยศ  (กรณีเลื่อนยศ)

         ๖. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล (กรณีเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล)
หนังสือรับรองเป็นบุคคลคนเดียวกันจากฝ่ายปกครอง ซึ่งทางอำเภอออกให้  หรือจากหน่วยต้นสังกัด (กรณีชื่อตัว - ชื่อสกุลไม่ตรงกัน)

         ๗. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  หรือสำเนาบัตรอื่นใด  ที่ติดภาพถ่ายของผู้ขอทำบัตร                                          

         ๘.  รูปถ่ายสีธรรมชาติหรือขาวดำขนาด  ๒.๕ x ๓  ซม. จำนวน  ๓ 
ภาพ  ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน (ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร แต่งกายเครื่องแบบ หรือเสื้อพระราชทานหรือสูทสากลผูกเนคไท หรือแต่งกายสุภาพสวมเสื้อมีปก มีแขน ไม่มีลวดลาย) ในการพิจารณาออกบัตรชั้นที่
๓ และ ๔ จะต้องดำเนินการสอบประวัติทหารผ่านศึกนอกประจำการ ตามแบบ(บ.๕) ว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกหรือไม่

บัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ ๑ ออกให้แก่ 

          บิดา มารดา สามีหรือภริยา และบุตร ของทหารผ่านศึกที่ถึงแก่ความตายเพราะเหตุปฏิบัติหน้าที่ในการสงครามหรือในการรบหรือป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการปราบปรามการจลาจล  ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด  โดยใช้หลักฐาน ดังนี้

          ๑. สำเนาคำสั่งปฏิบัติหน้าที่  หรือหนังสือรับรองของหน่วยต้นสังกัด
กรณีปฏิบัติราชการพิเศษ                   

          ๒.  รายงานการสูญเสียทางเอกสาร แบบ กพ.๓  หรือรายงานการสูญเสียกำลังพล แบบ กพ.๔ (กระดาษเขียนข่าววิทยุ)

         ๓. สำเนาหนังสืออนุมัติเงินค่าทดแทนจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) หรือสำเนาคำสั่งอนุมัติการจ่ายเงินบำเหน็จความชอบ  ค่าทดแทนและการช่วยเหลือ  (บ.ท.ช.)

         ๔. สำเนาคำสั่งปูนบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุฉุกเฉิน และสำเนาหลักฐานการรับเงินบำนาญพิเศษของทายาทจากกรมบัญชีกลาง  (ยกเว้นผู้ไม่มีสิทธิรับเงินบำนาญพิเศษ)

         ๕.  สำเนาพระบรมราชโองการพระราชทานยศ  หรือสำเนาราชกิจจานุเบกษาเรื่องพระราชทานยศ  หรือ สำเนาคำสั่งแต่งตั้งยศ  (กรณีเลื่อนยศ)

         ๖.  สำเนามรณบัตร หรือทะเบียนคนตาย  (กรณีสูญหาย ปฏิบัติราชการพิเศษต้องมีสำเนาคำสั่งสูญหาย จากหน่วยต้นสังกัด)     

          ๗.  สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้เสียชีวิต
และชื่อผู้ขอทำบัตร และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรอื่นใดที่ติดภาพถ่ายของผู้ขอทำบัตร

          ๘.  สำเนาใบสำคัญการสมรส  หรือสำเนาทะเบียนการสมรส  (กรณีสามีภริยาและบุตร)

          ๙.  สำเนาสูติบัตร  หรือสำเนาทะเบียนคนเกิด  (กรณีบุตร)

         ๑๐.  รูปถ่ายสีธรรมชาติหรือขาวดำขนาด  ๒.๕ x ๓  ซม. จำนวน  ๓ 
ภาพ  ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน (ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร แต่งกายเครื่องแบบ หรือเสื้อพระราชทาน หรือสูทสากลผูกเนคไท หรือแต่งกายสุภาพสวมเสื้อมีปก มีแขน ไม่มีลวดลาย)

        ๑๑. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล(กรณีเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล)
หนังสือรับรองเป็นบุคคลคนเดียวกันจากฝ่ายปกครอง ซึ่งทางอำเภอออกให้  หรือจากหน่วยต้นสังกัด (กรณีชื่อตัว - ชื่อสกุลไม่ตรงกัน) กรณีบุตรของทหารผ่านศึกที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งได้รับบัตรครอบครัว บัตรชั้นที่ ๑ ที่มีอายุครบ ๒๐ปีบริบูรณ์แล้วสามารถใช้บัตรไปขอรับสิทธิภายนอก อผศ. ได้ โดยประทับข้อความด้วยหมึกสีแดงว่า “ใช้ภายนอก อผศ.”  ด้านหลังบัตรครอบครัว รวมทั้งใช้สิทธิจาก อผศ.สำหรับผู้ที่ยังมีสิทธิได้รับการสงเคราะห์ด้านการศึกษาถึงระดับปริญญาตรี ในประเทศต่อไป จนอายุไม่เกิด ๒๗ ปีบริบูรณ์

         บัตรประจำตัวทหารนอกประจำการ  ให้ใช้หนังสือสำคัญประจำตัวทหารกองหนุนมาแสดง และให้ อผศ. ประทับตราสลักหลัง รับรองใช้เป็นบัตรประจำตัวได้ ทหารนอกประจำการที่ไม่มีหนังสือสำคัญประจำตัวทหารกองหนุนให้นำสำเนาคำสั่งให้ออกจากราชการ หรือ เอกสารรับรองการรับราชการของต้นสังกัดมาแสดง และให้ อผศ.ประทับตราสลักหลังรับรองใช้เป็นบัตรประจำตัวได้ ทหารผ่านศึกนอกประจำการที่ไม่มีสิทธิได้รับบัตรประจำตัวทหารผ่านศึก  ให้ดำเนินการเกี่ยวกับบัตรประจำตัว เช่นเดียวกับบัตรประจำตัวทหารนอกประจำการ

         การขอบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการและบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก  ให้บุคคลซึ่งมีสิทธิยื่นคำร้องด้วยตนเองตามแบบที่ อผศ. กำหนด พร้อมแนบหลักฐานการขอบัตรประจำตัว  บัตรประจำตัวให้ใช้ได้ ๖ ปี นับแต่วันออกบัตร เว้นแต่บัตรที่ยังใช้ได้ในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบ ๗๐ ปีบริบูรณ์ ให้คงใช้ได้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ขอบัตรครั้งแรก หรือเปลี่ยนบัตร ในวันที่ยื่นคำร้องมีอายุครบ ๖๔ ปีบริบูรณ์ให้กำหนดวันหมดอายุบัตรเป็น “ตลอดชีวิต”

การเปลี่ยนบัตร
เปลี่ยนได้ในกรณีต่อไปนี้

        ๑.  บัตรเดิมหมดอายุ หรือชำรุด  ใช้หลักฐาน บัตรเดิมหรือสำเนาบัตร  สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  หรือสำเนาบัตรอื่นใดที่ติดภาพถ่ายของผู้ขอเปลี่ยนบัตร

       ๒.  บัตรสูญหาย  ใช้หลักฐาน สำเนาเอกสารการแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรอื่นใดที่ติดภาพถ่ายของผู้ขอเปลี่ยนบัตร

       ๓.  เปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล  ใช้หลักฐาน 
บัตรเดิมหรือสำเนาบัตร (บัตรเดิมสูญหายให้ใช้เอกสารการแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ) สำเนาหนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว (ช.๓) เปลี่ยนชื่อสกุล (ช.๒)  หรือหนังสือรับรองจากฝ่ายปกครอง ซึ่งทางอำเภอออกให้  สำเนาทะเบียนบ้าน
และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรอื่นใดที่ติดภาพถ่ายของผู้ขอเปลี่ยนบัตร

       ๔.  เปลี่ยนคำนำหน้านาม หรือเปลี่ยนยศ  ใช้หลักฐาน บัตรเดิมหรือสำเนาบัตร (บัตรเดิมสูญหายให้ใช้เอกสารการแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ)  สำเนาทะเบียนสมรส (คร.๓) หรือสำเนาทะเบียนการหย่า (คร.๗) หรือหนังสือรับรองจากอำเภอ สำเนาพระบรมราชโองการพระราชทานยศ หรือสำเนาราชกิจจานุเบกษา เรื่อง พระราชทานยศ หรือสำเนาคำสั่งแต่งตั้งยศ (กรณีเปลี่ยนยศ) สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรอื่นใดที่ติดภาพถ่ายของผู้ขอเปลี่ยนบัตร

       ๕.  ขอเลื่อนชั้นบัตร  ใช้หลักฐาน บัตรเดิมหรือสำเนาบัตร (บัตรเดิมสูญหายให้ใช้เอกสารการแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ) สำเนาราชกิจจานุเบิกษาการได้รับพระราชทานเหรียญในราชการสงครามสำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรอื่นใดที่ติดภาพถ่ายของผู้ขอเปลี่ยนบัตรการขอเปลี่ยนบัตร  ให้ผู้ถือบัตรประจำตัวยื่นคำร้องด้วยตนเองตามแบบที่ อผศ. กำหนด 
พร้อมด้วยรูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรง  สีธรรมชาติหรือขาวดำขนาด  ๒.๕ x ๓  ซม.
จำนวน  ๓  ภาพ ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน (ข้าราชการพลเรือน ตำรวจทหาร แต่งกายเครื่องแบบ หรือเสื้อพระราชทาน หรือสูทสากลผูกเนคไท หรือแต่งกายสุภาพสวมเสื้อมีปก มีแขน ไม่มีลวดลาย) ให้ผู้ถือบัตรประจำตัวยื่นคำร้องขอเปลี่ยนบัตรใหม่ได้ก่อนล่วงหน้า ๙๐ วัน และเมื่อได้รับบัตรประจำตัวฉบับใหม่แล้วต้องคืนบัตรประจำตัวฉบับเก่า ทหารผ่านศึกนอกประจำการมีสิทธิได้รับการสงเคราะห์ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ และสิทธินี้ให้สิ้นสุดเมื่อกลับเข้ารับราชการประจำในกระทรวง ทบวง กรม เว้นแต่ผู้ที่เป็นข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญหรือลูกจ้าง ผู้ได้รับบัตรประจำตัวขาดคุณสมบัติ หรือถูกงดการสงเคราะห์ ตามข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกกำหนด  ให้ส่งบัตรประจำตัวคืน อผศ. โดยเร็ว

****************


ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่  ส่วนบัตรประจำตัว ฝสส.อผศ. โทร. ๐ ๒๓๕๔ ๘๖๐๐ - ๑๐ ต่อ ๒๖๔, ๒๔๙, ๒๕๗, ๒๕๘, ๒๗๒, ๒๗๓



 

หมายเลขบันทึก: 465901เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2011 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2015 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับกระผม.ร.ป.ภ.อ.ผ.ศ.ส.ป.ภ.พล.พยัพ..ทิพย์มนต์ขอบคุณครับผม.เกียรติศักดิ์เหล่าผู้กล้าขออนุญาติเป็นสมาชิกครับผม

เทิดศักดิ์ บุญเรือง

We have problems captain paybackสวัสดีครับผมแคปชันสิบเหล่าโทรขออนุญาตเฮ็ดบัตรทหารผ่านศึกแล้วก็ฐานห่อพระเจ้ากล้ากระสอบค่าจัดการโรงเรียนเตรียมทหารโรงเรียนเตรียมทหารตำรวจขอบคุณครับแล้วแต่อารมณ์ครับขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท