ฟื้นพลังจิตหลังน้ำท่วม


เมื่อวานมีโอกาสจัดกิจกรรมบำบัดในหัวข้อ "สุขภาวะกับพลังจิต" จึงได้บทเรียนและนำมา "เตือนสติ" คนไทยที่กำลังประสบภัยธรรมชาติขณะนี้

พลังจิต หรือ ปราณ (Prana) เกิดจาก ความคิดที่ทบทวนตัวเอง ใน 3 ระดับ

1. ระดับของความคิดความเข้าใจว่า จิตของเราอยู่ที่ใดบ้าง จากระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบการหายใจ ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการสื่อสารภายในและภายนอกร่างกาย และระบบการบริหารจัดการสุขภาวะ

2. ระดับจิตของเราในแต่ละระบบเชื่อมโยงเพื่อนำไปใช้เป็นความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต อย่างไร ได้แก่ การเคลื่อนไหว การรู้คิด การรับความรู้สึก การมีจิตสำนึกเชิงบวก และการพัฒนาจิตวิญญาณ (ความคิดที่ทำให้จิตใจและร่างกายมีชีวิตชีวา) อย่างต่อเนื่อง

3. ระดับจิตของเราที่พัฒนาเกิดทักษะชีวิตที่จัดการตนเองได้ เกิดความสุขความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ในทุกสถานการณ์ชีวิตที่ดีและไม่ดี มีจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) ที่จะประเมินและสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ที่เป็นจิตอาสาช่วยเหลือและนำพาผู้อื่นให้มีพลังจิตจากระดับที่ 1 สู่ระดับที่ 2 และสู่ระดับที่ 3 ข้างต้น

 

ขั้นตอนการฟื้นพลังจิตหลังน้ำท่วม เริ่มจากการตรวจสุขภาวะหรือความสุขของท่านขณะปัจจุบันว่า

1. มีความสุขทางร่างกาย ที่คะแนนเท่าไร จาก 0 (ไม่มี) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 (มีมากที่สุด)

2. มีความสุขทางจิตใจ ที่คะแนนเท่าไร จาก 0 (ไม่มี) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 (มีมากที่สุด)

3. มีพลังจิตหรือความคิดที่จะจัดการปัญหาต่างๆ ที่ตามมากับน้ำท่วมด้วยตนเองอย่างไร...มี หรือ ไม่มี

4. มีจิตวิญญาณหรือความคิดความเข้าใจในความรู้สึกของตนเองได้อย่างมีชีวิตชีวา หลังจากประสบกับปัญหาต่างๆ ที่ตามมากับน้ำท่วม อย่างไร...มี หรือ ไม่มี

5. มีความคิดไม่อ่อนล้า คิดออกว่าจะจัดการชีวิตของตนเองอย่างไร หลังน้ำท่วม...มี หรือ ไม่มี

หากตอบคะแนนข้อ 1 และ 2 มากกว่าหรือเท่ากับ 7/10 ก็ให้ระบุว่า "ไม่มีความล้าทางร่างกาย และ จิตใจ ตามลำดับ"

หากตอบว่า "มี" ในข้อ 3-5 ก็ให้ระบุว่า "มีจิตหรือความคิดในการจัดการอุปสรรคด้วยตนเองได้"

หากท่านใดตอบคะแนนข้อ 1 และ 2 น้อยกว่า 7/10 และตอบว่า "ไม่มี" ให้ฟื้นพลังจิตของตนเองตามคำแนะนำเบื้องต้นทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคมดังนี้

1. หลับตา หายใจเข้าทางจมูกลึกลงไปที่ท้องจนป่อง แล้วนับในใจ 1-6 จากนั้นหายใจออกทางปากยาวๆ เปล่งเสียง "อา" ดังๆ นับในใจ 1-12 ฝึกอย่างน้อย 10 รอบ

2. นั่งหรือนอนทบทวนความคิดของตนเอง โดยสื่อสารภายในใจของตนเองพร้อมหลับตาทำสมาธิ บอกกับตนเองใน 3 ระดับ คือ 1) เราจะนิ่งวางเฉยๆๆๆ 2) เราจะนึกถึงความสุขความสามารถที่จะเข้มแข็งๆๆๆ และ 3) เราจะผ่อนคลาย สบาย และจะจัดการพลังจิตของตนเองและผู้อื่นๆๆๆ นับถอยหลังจาก 10-9-8-7-6-5-4-3-2-1 ลืมตา

3. จับการเต้นของชีพจร (บริเวณหลอดเลือดบริเวณข้อมือทางนิ้วโป้ง) ของตนเองและผู้อื่นที่กำลังฟื้นพลังจิต ให้จังหวะการเต้นนิ่งนาน ไม่เร็วเกินไป ไม่ช้าเกินไป หากคาดหวังจะนับเป็นตัวเลขพอดีๆ คือ 60-100 ครั้งต่อนาที และจับการหายใจโดยสัมผัสหน้าอกยกขึ้นลงนับ 1 ครั้ง ให้พอดีในช่วง 10-24 ครั้งต่อนาที

4. หากชีพจรและการหายใจเต้นเร็วหรือช้าเกินไปในช่วง 1-3 นาที แสดงถึง "พลังจิตไม่นิ่ง" หากฝึกข้อ 1-2 แล้วยังคงไม่นิ่ง ให้ตรวจผ่านเครื่องวัดความดันโลหิตและปรึกษาแพทย์ต่อไป

5. หากชีพจรและการหายใจนิ่งในช่วงอัตราข้างต้น คราวนี้นั่งนิ่งๆ เพื่อทบทวนโจทย์แห่งชีวิตของตนเอง เช่น "ความสุขหลังน้ำท่วมคืออะไร" ชีวิตที่มีความสุขทำได้อย่างไร" เป็นต้น อาจเปิดเพลงที่ไม่เนื้อร้องแต่มีทำนองที่ทุ้มและบรรเลงช้าๆ ทำสมาธิแบบลืมตา หรือเพ่งไปที่วัตถุใดๆ หรือเพ่งมองพร้อมเดินก้าวข้างๆ รอบๆ ผลงานหลังจากนั่งพับกระดาษ หรือเขียนความคิดในกระดาษหลังร้องเพลงที่มีความหมายให้กำลังใจ หรือฝึกตอบโจทย์ความจำบอกสีเร็วๆ หรืออื่นๆ สักช่วงเวลาไม่เกิน 5 นาที  

6. คิดเขียนตอบโจทย์ข้างต้น แล้วสื่อสารกับตัวเองและผู้อื่นแบบระดมสมอง แบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบแปลความรู้ หรือแบบสร้างสรรค์นวัตกรรม หรืออื่นๆ ให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา เช่น น้ำท่วมบ้านหมดแล้ว จะทำอย่างไรต่อไปในปัจจุบัน จะทำอย่างไรต่อไปหลังน้ำลด จำดำเนินชีวิตให้มีความสุขอย่างไร ...เน้นคิดบวกเพื่อแก้ไขปัญหาจริงๆ มากกว่าที่จะคิดแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจนอ่อนล้าทางความคิด-จิตใจ-ร่างกาย-เครียด-ซึมเศร้า" เช่น บ่นว่าไม่มีใครช่วยเหลือ บ่นว่าลำบากมากมาย บ่นว่าไม่รู้จะทำอะไร หนีน้ำท่วมอย่างเร่งรัดโดยไม่เตรียมถุงยังชีพของตนเอง อยู่เฉยให้คนมาช่วยเหลืออย่างเดียว ฯลฯ

7. หลังจากคิดบวกแล้วให้ทบทวนความคิดที่ช่วยฟื้นพลังจิตของตัวเองว่า "มีความมั่นใจที่จะทำได้อย่างแท้จริงเท่าไร จาก 1 (ได้น้อยที่สุด) ถึง 10 (ได้มากที่สุด)"

หากตอบว่า มากกว่าหรือเท่ากับ 7/10 ...จงทำไปเลย

หากตอบว่า น้อยกว่า 7/10 ...จงกลับไปฟื้นพลังจิตตั้งแต่ข้อ 1 อีกครั้งในวันเดียวกัน

หากกลับไปทำข้อ 1 ในครั้งที่สอง แล้วยังไม่มั่นใจ (น้อยกว่า 7/10) ก็จงหยุดคิด เพราะพลังจิตไม่นิ่งพอที่จะเกิดพลังงานในการสร้างความสุขความสามารถในการดำเนินชีวิตของวันนี้ได้...ควรนิ่งปล่อยวาง สังเกตสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตรอบตัว แล้วค่อยๆ เริ่มคิดใหม่ตั้งแต่ข้อ 1-7 ในวันถัดไป

หากฝึกจัดการความคิดเพื่อพลังจิตอย่างน้อย 3-5 วันติดต่อกัน แล้วไม่ดีขึ้น แสดงว่า "เกิดภาวะเครียด" ต้องปรึกษานักกิจกรรมบำบัดหรือบุคลากรสุขภาพจิต เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการความเครียดและทักษะการจัดการความคิดความเข้าใจมากกว่า 6 สัปดาห์ต่อไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 465404เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2011 08:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณมากครับสำหรับพลังจิตจากคุณอรปภา ผิวเหลือง อาจารย์ ดร. ขจิต ฝอยทอง และคุณหญ้า@ แสนฝน

สื่อสารกับตัวเองและผู้อื่นแบบระดมสมอง แบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบแปลความรู้ หรือแบบสร้างสรรค์นวัตกรรม หรืออื่นๆ ให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา เช่น น้ำท่วมบ้านหมดแล้ว จะทำอย่างไรต่อไปในปัจจุบัน จะทำอย่างไรต่อไปหลังน้ำลด จำดำเนินชีวิตให้มีความสุขอย่างไร

ขอบคุณคะ เป็นวิธีคิดบวก ด้วยการคิดไปข้างหน้า

แทนที่จะ Feedback มาเป็น Feed-forward กับตัวเอง

ทุกประสบการณ์ที่ผ่านมามีคุณค่าในการเรียนรู้
แต่รับมือกับอารมณ์ด้วยตนเองไม่ง่ายนัก
คิดว่า สำหรับชาวบ้านทั่วไป อาจต้องการ "โค้ช" ในเบื้องต้นก่อนคะ

เห็นด้วยครับคุณหมอ ป. ที่ชาวบ้านมีหลากหลายพื้นฐานอารมณ์และต้องการ "กระบวนกร" ในการฝึกพลังจิตให้เป็นมิตรกับน้ำท่วม

แม้แต่บุคลากรทางการแพทย์ในต่างประเทศก็ตื่นตัวและกำลังฝึกอบรมเรื่อง การฟื้นพลังชีวิตหลังภัยธรรมชาติ ซึ่งจัดโดย WHO และองค์กรสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น กิจกรรมบำบัดจิตสังคม จิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิกชุมชน เป็นต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท