ความก้าวหน้า R2R2P เบาหวาน (๑)


สังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัย R2R และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จัดทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับระบบบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๔.๐๐-๑๗.๐๐ น.ทีมทำงานเรื่อง R2R2P เบาหวาน นำโดยทีมสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันฯ พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ ผู้จัดการงานวิจัย สวรส. นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการ สปสช. นพ.จักรกริช โง้วศิริ ผู้จัดการกองทุนบริหารจัดการโรคเรื้อรัง สปสช. รศ.นพ.สมพนธ์ ทัศนิยม ผู้รู้เรื่อง R2R รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีประสบการณ์ในงานบริการเบาหวาน อาทิ ศ.พญ.วรรณี นิธิยานันท์ อาจารย์ นพ.เพชร รอดอารีย์ พญ.ประนอม คำเที่ยง ฯลฯ รวมประมาณ ๑๕ คน ได้มาประชุมร่วมกันที่ รร.ริชมอนด์

บุคคลสำคัญคือ นพ.สมเกียรติ โพธิสัตย์ ผู้ทำหน้าที่สังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัย R2R และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จัดทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับระบบบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน การประชุมในวันนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ

คุณหมอลัดดาเล่าให้ที่ประชุมฟังว่า สวรส.จับเรื่องงาน R2R มา ๔ ปีแล้ว มีการจัดประกวดผลงานวิจัย พบ common features หรือ issues อยู่หลักๆ ไม่กี่เรื่อง มีเรื่อง DM, HT เยอะมาก แสดงว่าเป็น concern มีการคิดปรับปรุงพัฒนาต่อยอดจากงานคุณภาพของ สรพ. เป็นเรื่องดีในแง่การแก้ปัญหา มีการขยายผล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง practice ของตัวเอง

ได้เอางานวิจัยเหล่านี้มาวิเคราะห์แล้วจัดกลุ่ม หา common recommendation กรองแล้วร่อน พบว่างานเบาหวานมี ๓ ประเด็น (กลุ่ม) คือ การแก้ปัญหาเมื่อเกิดโรคแล้ว รูปแบบการ practice เพื่อควบคุมน้ำตาล การควบคุมและป้องกัน มีการไปสัมภาษณ์ผู้ที่ทำวิจัยด้วย...

งานวิจัยเหล่านี้มีอยู่ในการประกวดของกระทรวงสาธารณสุขทุกปี ที่ส่งมามักเป็นงานระดับโรงพยาบาล จริงๆ มีงาน R2R อยู่ในโรงพยาบาลทุกระดับ แต่พบมากใน รพช. รพสต. เวลาที่ไปสัมภาษณ์ได้ถามว่ามี practice เปลี่ยนไปหรือเปล่า ยังอยู่ต่อไหม ขยายผลหรือเปล่า เอาคนกลุ่มนี้มา ลปรร. ขุดค้นเบื้องหลัง

ได้มีการจัดกระบวนการ ลปรร. แล้ว (อ่านที่นี่) นักวิจัยมา capture และ review เพิ่มเติม เพื่อหาข้อเสนอที่จะนำไปสู่ recommendation วันนี้มารับฟังจากคนในแวดวงว่าควรจะมีการเติมอะไรอีกบ้าง และช่วยกันสังเคราะห์ต่อ (ในเดือนสิงหาคมเราประชุมกันกลุ่มเล็กๆ มาครั้งหนึ่งแล้ว)

นายแพทย์สมเกียรติเล่าว่าคุณหมอลัดดาให้ช่วยสังเคราะห์งานวิจัย ตนเองจับงาน NCD อยู่หลายโครงการ งานนี้เลยน่าสนใจ ต่อจากนั้นจึงได้นำเสนอ PowerPoint ที่เตรียมมา ซึ่งบอกวัตถุประสงค์ของโครงการ ขั้นตอนการทำงาน กรอบแนวคิด (Chronic care model, CCM) ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการปรับระบบการดูแลทั้งหมด (R2R เป็นส่วนที่สะท้อนการรับมือกับ chronic conditions ของผู้ปฏิบัติงาน) งาน R2R ที่นำมาสังเคราะห์ (กระบวนการ KM ลงรายละเอียดเจาะลึกไปถึงการปฏิบัติ เอาประเด็นมาจับกับ CCM) รวมทั้ง evidences จาก explicit knowledge

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ที่สรุปมาได้มี ๓ ประเด็น
- ปฏิรูประบบการจัดการโรคเรื้อรัง : ทีมสหวิชาชีพ
- สร้างความเข้าใจในการดูแลตนเองและระบบการสนับสนุนการจัดการตนเอง รวม ถึง home care system
- Capacity building of workforce

ให้ทำความเข้าใจกับคำหลายคำที่มีการใช้กันอยู่ เช่น การจัดการโรค Disease management of diabetes, Case management… เรื่องของทีม ช่วงหลังๆ ข้ามไปถึงคนที่ไม่ใช่วิชาชีพสุขภาพ เช่น Integrated Care มีทาง Social science ร่วมด้วย

ภาพสไลด์ที่หลายคนชอบใจคือ Chronic Disease Management and Integrated Care ที่แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนของ self care และ professional care กลุ่มคนที่มี risk ในระดับต่างๆ กัน (Low-risk population; Increased disease risk; Most diabetes, CVD, mental health; Most COPD & CHF) และรูปแบบการดูแล (Acute services occasionally; Systematic case detection; Case coordination; Case management)

สุดท้ายเป็นภาพโครงของข้อเสนอที่จะมี evidences จาก explicit knowledge และจาก R2R สนับสนุน

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 465343เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2011 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เช้ามาชื่นชมความก้าวหน้า ของกระบวนการ R2R ค่ะ ๔ ปีแห่งการเติบโต

สรุปมาได้ไงเนี่ย

สุดยอดมากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท