ขยายความ...สุขภาวะกับพลังจิต


ผมกำลังเตรียมเนื้อหาเชิงแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติในหัวข้อ "กิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาวะ - เน้นฝึกพลังจิตสังคม" เลยนำมาบันทึกครับ

คลิกอ่านพลังจิตในมิติที่เรียกว่า ปราณ (Prana) ที่ Wikipedia Prana

แล้วทำความเข้าใจในคำจำกัดความของสุขภาวะ (Well-being) ซึ่งอ้างอิงรายละเอียดของคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (Health Related Quality of Life, HRQoL)

เมื่อนำมาเชื่อมโยงกัน จึงต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ทางกิจกรรมบำบัดสากล ในมิติของ กิจกรรมบำบัดเพื่อจิตวิญญาณในชุมชน

ดังนั้นความรู้ที่ทุกคนควรศึกษา คือ

  • ปราณ (ภาษาสันสกฤต) หมายถึง ลมแห่งชีวิต ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการของการเกิดพลังงานทางระบบสรีรวิทยาของมนุษย์ ได้แก่ 1. พลังงานในระบบหัวใจ หลอดเลือด และการหายใจ 2. พลังงานในระบบขับถ่ายของเสียจากปอดและอวัยวะต่างๆ 3. พลังงานในระบบการสื่อสาร (พูด หัวเราะ ร้องเพลง ร้องไห้ และภาษาท่าทาง) 4. พลังงานในระบบการย่อยอาหารและการสันดาป/เผาพลาญให้เกิดพลังงานระดับเซลล์ และ 5. พลังงานในระบบการควบคุมประสาทกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว
  • กิจกรรมที่นำหลักการเรื่องปราณเพื่อสุขภาวะไปผสมผสาน เช่น การเล่นโยคะ การให้บริการสุขภาพจิตชุมชน การจัดการความเครียดในนักศึกษา การพัฒนาโปรแกรม Mental Life Practice การจัดกิจกรรมบำบัดด้วยสมาธิ การฝึกสมาธิจิตอาสา การจัดการความล้าด้วยกิจกรรมบำบัดจิตสังคม ฯลฯ
  • หากในโปรแกรม 2 ชม. ผู้เข้าร่วมโปรแกรมได้เรียนรู้กระบวนการเกิดพลังงานใน 5 ระบบข้างต้น แล้วค่อยๆ ฝึกปฏิบัติจิตผ่านกระบวนการรู้คิด (Cognitive Mind Training) ด้วยการผสมผสานดนตรี กวี ศิลป์ และการใช้เวลาว่างในการจัดกลุ่มแบบพลวัติและเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา แล้วมีการประเมินปราณด้วยวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เช่น ความเร็วในการนึกจำ ความถูกต้องในการจดจำ ความเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของชีพจรและการหายใจ ตลอดจนการวัดความเร็วในการตอบสนองทางจิตประสาทสรีรวิทยา เป็น ก็น่าจะเป็นโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณได้อีกระดับหนึ่ง หากแต่ต้องมีกระบวนการประเมินเชิงคุณภาพพร้อมกับปริมาณ ซึ่ง ดร.ป๊อป กำลังศึกษาวิจัยแปลแบบประเมินชื่อ Spiritual Well-being Scale (FACIT-Sp) เป็นภาษาไทยอยู่

 

หมายเลขบันทึก: 465249เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2011 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณคะ เชื่อว่า mental science จะเป็นศาสตร์ที่น่าค้นคว้า ศึกษามากที่สุดแขนงหนึ่ง

ยังมีอะไรที่ยังไม่รู้อีกมาก กลับไปหวังว่าจะมีโอกาสฟังการบรรยายของอาจารย์คะ

 สวัสดีค่ะ

Ico64

ขอเป็นกำลังใจให้การพัฒนากิจกรรมบำบัดสากล ในมิติของ กิจกรรมบำบัดเพื่อจิตวิญญาณในชุมชนโปรแกรม Mental Life Practice การจัดกิจกรรมบำบัดด้วยสมาธิ การฝึกสมาธิจิตอาสา ด้วยกิจกรรมบำบัดจิตสังคม ฯลฯ ...ตามหลักการแล้วกายกับจิตจะแยกออกกัน...กายสามารถศึกษาด้วยวิธีวิทยาศาสตร์...ส่วนจิตเป็นมิติทางจิตวิญญาณไม่สามารถศึกษาด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ได้...เป็นการผสมผสานที่ท้าทายมาก...ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

ขอบคุณมากครับคุณหมอ ป. ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศาสตร์ทางจิตสังคมกับคุณหมอเสมอครับ

ขอบคุณมากครับ ดร. พจนา การผสมผสานกายและจิตวิญญาณนั้นท้าทายจริงๆ ครับ นักวิทยาศาตร์หลายแขนงพยายามวิจัยและพัฒนารูปแบบหรือเครื่องมือการวัดทั้งกายและจิตได้ระดับหนึ่งด้วยการวัด Psychomotor ตามหลัก Neuropsychophysiology ครับ แต่ระดับจิตวิญญาณต้องใช้ข้อมูลการวัดเชิงมนุษยวิทยาและสังคมวิทยามากขึ้นครับ

ขอเป็นกำลังใจให้ อาจารย์ ดร.ศุภลักษ์ ค่ะ ที่สร้างผลงานที่มีคุณค่าให้ผู้ป่วยและทีมสุขภาพค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท