ช้างไถนา ตอนที่ 1


ช้างไถนากับวิถีชีวิตของชาวบ้านแม่โขง ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

    เมื่อกล่าวถึงช้างแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสัตว์ใหญ่บ้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองบ้าง สัตว์ที่ใช้ลากซุงลากไม้ ขนของต่าง ๆ แต่สำหรับปัจจุบันคนส่วนใหญ่หรือเด็ก จะนึกถึงก้านกล้วย ชบาแก้ว และช้างที่เห็นตามท้องถนนในเมืองหลวง ที่เดินออกหากินหรือทำเงินให้กับควาญช้าง และจะเห็นช้างทั่วไปในเชิงธุรกิจการท่องเที่ยวมากขึ้น ช้างที่มีคุณค่ามีคว่มสำคัญและมีความผูกพันกับสังคมไทยในอดีต ปัจจุบันถูกลดคุณค่านั้นลงมาก เป็นเพียงแค่ทช้างข้างถนน ช้างที่ต้องเผชิญและมีความเสี่ยงกับกับระเบิดมากมายตามแนวตะเข็บชายแดน...

    แต่สำหรับชาวบ้าน บ้านแม่โขง ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ พวกเขาได้นำช้างมาไถนา โดย นายพะก่าหนุ เขาเป็นผู้คิดค้นเกี่ยวกับช้างไถนา
เริ่มจากการที่เขาได้เห็นช้างลากตอไม้แห้ง เพื่อปรับพื้นดินในการทำนาใหม่  ในการลากลักษณะคล้ายๆ กับการใช้ควาย ไถนาทั่วไปแต่ก็ไม่เหมือนเลยทีเดียว ทำให้พะก่าหนุเกิดแนวคิดว่า  จากเดิมเราใช้ควายไถนากับคันไถ น่าจะลองมาใช้กับช้างดูบ้าง จึงปรึกษาหารือกับคนในครอบครัว เพื่อทดลองการใช้ช้างไถนา
จากนั้นทุกคนในครอบครัวก็ร่วมมือกันคิดค้นและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้กับช้าง  แล้วนำมาทดลองประกอบให้เสร็จในเร็ววัน  ซึ่งในการทดลองทำในช่วงแรกๆ นั้น  พะก่าหนุและครอบครัวมักแอบไถนาตอนที่ไร้ผู้คนพบเห็น เป็นเวลาเย็นที่ผู้คนกลับจากการทำงาน  เพราะกลัวว่าเมื่อผู้คนในหมู่บ้านได้พบเห็นหรือพบเจออาจเอาไปพูดกันในทางที่ไม่ดี เช่น บ้าหรือเพี้ยนๆ หรืออาจเป็นเรื่องตลกก็เป็นได้ 
เนื่องจากการใช้ช้างไถนาในสมัยนั้นเป็นเรื่องที่แปลกมาก ไม่เคยมีใครทำกันมาก่อนแต่เมื่อเวลาผ่านไปในระยะหนึ่ง  ทุกคนต่างก็ชื่นชมในแนวคิดใหม่นี้และยอมรับเกี่ยวกับช้างไถนา  ด้วยเหตุนี้  พะก่าหนุจึงเป็นต้นแบบของการนำแนวคิดและการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เกี่ยวกับช้างไถนาจึงได้เกิดช้างไถนา  ณ
ถิ่นนาเกียนจนถึงทุกวันนี้

      จากวิถีชีวิตการไถนาด้วยช้าง ชาวบ้านจึงเห็นคุณค่าและความสำคัญของช้างมากมาย มีการทำพิธีบวงสรวง เพื่อแสดงถึงความรักความเคารพที่ช้างได้ทำคุณมากมายให้แก่พวกเขา....

     แล้วพบกันใน "ช้างไถนา ตอนที่ 2" ค่ะ

    "ต่อจากนี้ไปขอประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ ข่าวสารของเยาวชนในพื้นที่ นำโดยนายพะลาโป๊ะ ประยูรยืนยง เป็นผู้ประสานงานและได้เริ่มโครงการ การรวบรวม อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้ช้างไถนาในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้และสืบสานให้ชนรุ่นหลังต่อไป...ในการนี้ทางเยาวชนได้วาดภาพประกอบวิถีชีวิตต่าง ๆ ในชุมชน จำหน่าย และนำรายได้มาทำเป็นพิพธภัณฑ์ต่อไป"

ตัวอย่างภาพวาดของเยาวชน

ภาพช้างไถนา  วาดโดย นายพะลาโป๊ะ ประยูนยืนยง ลูกหลานของชุมชนบ้านนาเกียน

ภาพผืนนากลางหุบเขาของชาวบ้าน  วาดโดย นายพะลาโป๊ะ ประยูนยืนยง ลูกหลานของชุมชนบ้านนาเกียน

ภาพวิถีชีวิตการทำนาของชาวบ้าน  วาดโดย นายพะลาโป๊ะ ประยูนยืนยง ลูกหลานของชุมชนบ้านนาเกียน

คำสำคัญ (Tags): #ช้างไถนา
หมายเลขบันทึก: 465029เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2011 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ภาพสวยมาก ๆ ครับ ครูชอบอ่ะ ...

มีแบบทำ Wall Paper บ้างไหมครับ

ส่งผ่านเมล์มาให้ครูหน่อยสิ ;)...

หนูไม่แน่ใจค่ะ แต่วันนี้จะไปเจอน้อง ๆ ล่ะ

จะถามให้นะค่ะ ถ้ามีภาพด้วยจะถ่ายรูปมาฝากค่ะอาจารย์

ใช้ช้างแทนควายก็ดีเหมือนกัน

เหมาะกับพื้นที่ดีค่ะ

ช้างก็มีแรงเยอะอยู่แล้ว

แปลกดีครับ เคยได้ยินเรื่องเล่า วันนี้มีภาพประกอบ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะเวียนเข้ามาอ่านและทักทายกัน

แล้วจะนำภาพมาฝากอีกค่ะ

วาดรูปได้อย่างยอดเยี่ยมมากๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท