สัญลักษณ์ในการสื่อสารภาษาไทย (ตอนที่ ๓)


สัญลักษณ์ทางความเชื่อ

เครื่องหมายวรรคตอน เป็นเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเขียนอักษรในภาษาหนึ่ง ๆ เพื่อประโยชน์ในการแบ่งวรรคตอน มักจะไม่เกี่ยวกับระบบเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น

ในแต่ละภาษาจะมีเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ กัน และมีกฎเกณฑ์การใช้ต่าง ๆ กัน ซึ่งผู้ใช้ภาษานั้น ๆ จะต้องทราบ และใช้ตามกฎที่ปฏิบัติกันมา เพื่อให้มีความเข้าใจในภาษาไปในทางเดียวกัน

เครื่องหมายวรรคตอนของไทย

ในเอกสารโบราณของไทยมีเครื่องหมายวรรคตอนของไทยอยู่หลายตัว และบางตัวนิยมใช้มาถึงปัจจุบัน โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มตามเกณฑ์การใช้งาน ดังนี้

หรือแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามเกณฑ์ที่มา ดังนี้

  • เครื่องหมายวรรคตอนที่เป็นของไทยแต่เดิม ได้แก่ ฟองมัน ตาไก่ โคมูตร เป็นต้น
  • เครื่องหมายวรรคตอนที่รับอิทธิพลการเขียนจากต่างประเทศ เช่น จุลภาค มหัพภาค เป็นต้น

๓. เครื่องหมายการค้า 

เครื่องหมายการค้า หรือ ยี่ห้อ (จีน: 字號; พินอิน: zìhào, แต้จิ๋ว: หยี่ห่อ) หมายถึง ตราสินค้าหรือส่วนหนึ่งของตราสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น เจ้าของมีสิทธิตามกฎหมายเพียงผู้เดียว เราไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นและบุคคลอื่นก็ไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของเราได้ เว้นแต่จะมีสัญญาและข้อตกลงต่อกัน (เช่นการควบกิจการ) สัญลักษณ์อาจจะประกอบไปด้วย ชื่อ ข้อความ วลี สัญลักษณ์ ภาพ งานออกแบบ หรือหลายส่วนร่วมกัน โดยมีความหมายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องหมายแสดงถึง ชื่อสินค้าเฉพาะอย่าง หรือทุกประเภทในเครื่องหมายการค้าจะเป็นการแสดงภาพเครื่องหมาย ชื่อ ตราสัญลักษณ์เพื่อแสดงถึง อ้างถึง มีความหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ตามที่มีความเกี่ยวข้องกัน

เครื่องหมายการค้าอาจมีการกำกับด้วย หมายถึงเครื่องหมายการค้าที่มิได้จดทะเบียน หรือ ® หมายถึงเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน เป็นสัญลักษณ์สากล

๔.สัญลักษณ์ทางศาสนา

 

  

 

 

 

ชื่อของธรรมจักร

แม้ว่าคำเรียกทุกคำส่วนมากจะแปลได้ความหมายว่า วงล้อแห่งชีวิต แต่วงล้อนี้ก็มีหลายชื่อเช่น

  • วงล้อแห่งการเปลี่ยนแปลง (วัฐจักร)
  • วงล้อแห่งธรรม (ธรรมจักร)

สัญลักษณ์นี้เรียกได้อีกอย่างว่า จักร หรือ จักรา โดยวงล้อแห่งชีวิตจะเรียกชื่อเฉพาะว่า ธรรมจักร ซึ่งหมายถึง "วงล้อแห่งธรรม" หรือ "ต๋าหม่าหลุน"ในภาษาจีนกลาง

ธรรมจักรในพุทธศาสนา

 

ธงธรรมจักร (ธรรมจักรในธงนี้มีกำ 12 ซี่)

ธรรมจักรแปดซี่จะใช้ในพุทธศาสนาเท่านั้น โดยซี่ทั้งแปดจะหมายถือ มรรคแปดซึ่งเป็นหนทางสู่การบรรลุ โดยความหมายอื่นที่มีการเอ่ยถึงคือ:

  • รูปทรงวงกลม (จักร) แทนความสมบูรณ์แบบของพระธรรม
  • แกนกลางแทนคำสอนซึ่งเป็นแก่นของการฝึกเพื่อนิพพาน
  • ขอบที่เชื่อมซี่ของธรรมจักรไว้จะหมายถึงความสมถะ มั่นคงยึดถือทุกสิ่งไว้ด้วยกัน

จำนวนกำของธรรมจักรที่มากกว่า 8 ซี่ จะมีความหมายอื่นในทางพระพุทธศาสนาที่ต่างออกไป ดังนี้

  • ถ้ามี 12 ซี่ หมายถึง ปัจจยาการ หรือปฏิจจสมุปบาท 12
  • ถ้ามี 24 ซี่ หมายถึง ปัจจยาการทั้งด้านเกิด 12 และด้านดับ 12
  • ถ้ามี 31 ซี่ หมายถึง ภูมิ 31(กามภูมิ 11 รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4)[1]

สัญลักษณ์ของศาสนาต่างๆ ในโลก
ศาสนาพุทธ
  
ศาสนาพุทธเป็นปรัญชาที่ก่อกำเนิดขึ้นในอินเดีย ปรัญชานั้นคือวิธีที่ช่วยให้เข้าใจโลกทำให้โลกมีความหมายสำหรับเรา
               
ธรรมจักร (วงล้อ) มีกรงล้อ 8 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคำสอนแห่งศาสนาพุทธ


ศาสนาฮินดู
 
อินเดียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดหลายศาสนา หนึ่งในหลายศาสนาที่เกิดก็คือศาสนาฮินดู สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดูคือโอม  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพรหม

ศาสนายิว
         
ศาสนาที่เเก่าแกมาก เริ่มต้นในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่าตะวันออกกลาง ชาวยิวเชื่อว่าพระเจ้าปนะทานประเทศชาติพิเศษให้แก่เขา
     
ในปัจจุบันประเทศนี้มีชื่อว่าอิสราเอล และเมืองที่สำคัญที่สุดของประเทศนี้ก็คือกรุงเยรูซาเลม
 
ดาวของกษัตริย์ดาวิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาวยิวนั้น เป็นสัญลักษณ์ที่ชาวยิวใช้กันอย่างกว้างขวาง
             
แต่คันประทีปที่มีก้าน 7 ก้านหรือที่เรียกว่า เมโนราห์ นั้นเป็นสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของประเทศอิสราเอล

ศาสนาคริสต์
           
สองพันกว่าปีที่แล้วชายชาวยิวชื่อ เยซู ถือกำเนิดบนโลก พระองค์มีสาวกจำนวนหนึ่งเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้ส่งพระเยซูลงมาบนโลก
           
พวกเขาเรียกพระเยซูว่า "ผู้ที่ถูกเลือกสรร" หรือ "ผู้ที่ได้รับการเจิมไว้" ซึ่งภาษากรีกก็คือ "พระคริสต์" สาวก "พระเยซูคริสต์"
           
เรียกว่าคริสเตียนหรือชาวคริสต์  กางเขนเป็นเครื่องเตือนใจว่า พระองค์ทรงวายพระชนม์บนกางเขนเพื่อมนุษย์ทั้งปวง

ศาสนาอิสลาม
 อิสลามเป็นอีกศาสนาหนึ่งที่สำคัญ เริ่มจ้นในตะวันออกกลาง เมื่อ 600 ปี หลังจากการประสูติของพระเยซู  ประชาชนในดินแดนทะเลทรายที่ร้อนระอุนั้น ดวงดาวเป็นเครื่องนำทางของพวกเขา แสงจันทร์ให้ความสว่างแก่การเดินทาง
                ศาสนาอิสลามนำทางและให้ความสว่างในการเดินทางชีวิตของผู้ที่ศรัทธาในศาสนานี้


ศาสนาซิกข์
 
ศาสนาซิกข์เริ่มต้นในอินเดีย แต่เกิดหลังจากศาสนาหลักอื่นๆ คานดา เป็นชื่อของดาบสองคม เป็นสัญลักษณ์แทนความจริง
           
และความยุติธรรมของพระเจ้า

อ้างอิงhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9D%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 464992เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2011 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"...ศาสนาซิกข์เริ่มต้นในอินเดีย แต่เกิดหลังจากศาสนาหลักอื่นๆ คานดา เป็นชื่อของดาบสองคม..."

คานดา (canda) is read as จันทะ or จันทร์ in Thai

'c' is 'จ' and 'd' is 'ท' in Thai (for some reasons).

so 'citta' is read จิตตะ, 'vaada' is วาทะ and so on

A trip to a Buddhist website may clarify this convention.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท