มหกรรมเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ


 

ผมขออนุญาตประชาสัมพันธ์งานมหกรรมเกษตรอินทรีย์ที่จังหวัดเชียงใหม่ครับ

 

โครงการมหกรรมเกษตรอินทรีย์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน  ๑

“สร้างอาหารเพื่อชุมชน   สร้างสังคมที่เป็นธรรม”

ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่   วันที่ ๒๗-๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๔

 

๑.   หลักการและเหตุผล

เนื่องจากการที่จะทำเกษตรอินทรีย์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนประสบผลสำเร็จได้นั้น จะต้องทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ประกอบด้วย การผลิต การแปรรูป การขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การตลาดที่เป็นธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้บริโภค การสื่อสารสาธารณะและการผลักดันนโยบาย

ซึ่ง “มหกรรมเกษตรอินทรีย์” ก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกร ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ องค์กรสนับสนุน สถาบันวิชาการ สื่อมวลชน ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ และประสบการณ์ในทุกๆด้านของเกษตรอินทรีย์ดังกล่าวข้างต้น

ด้วยความสำคัญของมหกรรมเกษตรอินทรีย์ดังกล่าว ทางกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ โดยความรับผิดชอบของจังหวัดลำพูน จึงได้มหกรรมเกษตรอินทรีย์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ ขึ้น

 

๒.       วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

๑)        เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรที่เข้าร่วมมหกรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ด้านการผลิต การแปรรูป การรับรองมาตรฐาน การตลาด การทำงานผู้บริโภค การทำงานเพื่อขยายผลและการผลักดันทางนโยบายด้านเกษตรอินทรีย์

๒)      เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้บริโภค สาธารณชน ผู้มีอำนาจตัดสินใจทางนโยบาย และสื่อสารมวลชน  ได้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องเกษตรอินทรีย์และระบบตลาดที่เป็นธรรม รวมทั้งตระหนักในเรื่องของการบริโภคผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์โดยตรง

๓)       เพื่อให้ผู้เข้าร่วมทั้งเกษตรกร ผู้บริโภค องค์กรสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันวางแผนการพัฒนาด้านระบบอาหาร ด้านคุณภาพชีวิต และด้านอื่นๆ ร่วมกัน

 

๓.       กิจกรรมประกอบด้วย

  งานวิชาการ

  ข่วงนิทรรศการ สาธิต จำหน่าย ผลิตภัณฑ์

  ฝึกอบรมระยะสั้น

      แถลงข่าว

 

กิจกรรมที่ ๓.๑ ด้านวิชาการ

 

กำหนดการกิจกรรมด้านวิชาการมีดังต่อไปนี้

วันพฤศจิกายนที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๔  

๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น.     ลงทะเบียน

๐๙.๐๐ - ๐๙.๓๐ น.                  การแสดง “แห่กลองสบัดชัย”

๐๙.๓๐-๐๙.๔๕ น.        ชี้แจงวัตถุประสงค์ และกำหนดการ

โดย ดร. ชมชวน  บุญระหงษ์  ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน

๐๙.๔๕ – ๑๒.๐๐ น.     รายงานจากภาคสนาม สถานภาพเกษตรอินทรีย์พื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑

๑)  กรณีจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้รายงาน: คุณกิติศัพท์ วันทา ทีมหนุนเครือข่ายเกษตร ทางเลือกจังหวัดแม่ฮ่องสอน (สกว. ท้องถิ่นแม่ฮ่องสอน)

๒) กรณีจังหวัดเชียงใหม่     ผู้รายงาน: คุณเกียรติศักดิ์ ฉัตรดี ผู้ประสานงานโครงการฯสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน

๓) กรณีจังหวัดลำพูน         ผู้รายงาน: คุณวรรณฑิภา ปัญญากร กรรมการกลุ่มเกษตรกร ทำสวนผลไม้อินทรีย์ลุ่มน้ำลี้

๔) กรณีจังหวัดลำปาง        ผู้รายงาน: คุณรุ่งสุรีย์ ชัยศรี เจ้าหน้าที่ฝ่ายฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรฯ

 ผู้ดำเนินรายการ คุณอรุณี   เวียงแสง ผู้ประสานงานกลไกกลางสนับสนุนเครือข่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคเหนือ

๑๓.๐๐ – ๑๓.๔๕ น.    ๑)   ชมวีทีอาร์ เรื่องสถานภาพเกษตรอินทรีย์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนพื้นที่ 

                                           จังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑

๒)  พิธีเปิดงานและปาฐกถาเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม

       จังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑”  

 โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน

 กล่าวรายงานโดย   คุณบุญเวทย์ ศรีพวงใจ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำพูน

๑๓.๔๕ – ๑๔.๐๐ น.     การแสดง “รำนกรำโต

๑๔.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.               เสวนาเรื่อง สถานการณ์และความเคลื่อนไหวทางนโยบายและขบวนภาคประชาชน

                             ๑) ด้านสารเคมีทางการเกษตร และเกษตรพันธสัญญา

โดย คุณอุบล  อยู่หว้า คณะทำงานเฝ้าระวังสารเคมีทางการเกษตร

                             ๒) ขบวนการ “กินเปลี่ยนโลก”

                                   โดย คุณกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ผู้จัดการโครงการกินเปลี่ยนโลก

ผู้ดำเนินรายการ คุณสุภา ใยเมือง ผู้อำนวยการมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน

๑๕.๓๐ – ๑๕.๔๕ น.    การแสดง “มนต์เมืองลี้”

๑๕.๔๕-๑๗.๐๐ น.       เสวนาเรื่อง สถานการณ์และความเคลื่อนไหวทางนโยบายและขบวนภาคประชาชน

                               ๑)  แนวคิดและขบวนการจังหวัดจัดการตนเอง

                                    โดยคุณสวิง   ตันอุด        ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการทางสังคม

                              

 ๒) จังหวัดจัดการตนเองด้านการเกษตรอินทรีย์

   โดยคุณนาถพงศ์ พัฒนพันธ์ชัย นักวิจัยและนักวิชาการอิสระ

ผู้ดำเนินรายการ  

คุณสมัย แก้วภูศรี ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านเกษตรอินทรีย์ลุ่มน้ำลี้

 

วันศุกร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๔

๐๙.๓๐ – ๑๐.๐๐ น.   การแสดง “ร่ำเปิง ลำปาง”

๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐  น.  เสวนาเรื่อง “แผนพัฒนาเกษตรอินทรีย์”  

๑) แผนพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ และกระบวนการแปลงแผนเกษตรอินทรีย์สำหรับกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑

    โดย ดร. พจนา เอื้องไพบูลย์  ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ

๒) โครงการด้านเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ ประจำปี ๒๕๕๕ และ ๒๕๕๖

    โดย คุณสุขพล อินตาพรหม     เกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำพูน                 

๓) แผนพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของสภาเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน

    โดย คุณสถาพร ศรีวันชื่น       ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้ดำเนินรายการ

     คุณศรีษะเกษ สมาน ผู้อำนวยการสถาบันความรู้เพื่อท้องถิ่นลำปาง

๑๒.๐๐  - ๑๓.๐๐ น.  รับประทานอาหารเที่ยง

๑๓.๐๐ – ๑๓.๓๐ น.   การแสดง “ฟ้อนเล็บ”

๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐ น.  ปาฏกถา เรื่อง พลังของเกษตรกรและผู้บริโภคเกษตรอินทรีย์กับการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย”

                          โดย คุณรสนา โตสิตระกูล  สมาชิกวุฒิสภา

๑๔.๓๐-๑๔.๔๕ น      สรุปการจัดงานมหกรรมฯ โดย คุณจีรวรรณ โสดาวัฒน์ ผู้จัดการสมาคมมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ

๑๔.๔๕ – ๑๕.๐๐ น.  มอบเกียรติบัตร “ตัวแทนทีมกิน ทีมทำ ทีมหนุนเกษตรอินทรีย์กลุ่มจังหวัด

                                   ภาคเหนือตอนบน ๑”

                            โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน   

๑๕.๐๐ -๑๕.๓๐ น.    ปาฏกถา และกล่าวปิดงานมหกรรม

                            โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน

 

พิธีกรทั้งสองวัน :      คุณจีรวรรณ โสดาวัฒน์ ผู้จัดการสมาคมมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ

                

กิจกรรมที่ ๓.๒ ข่วงกิจกรรม   แบ่งออกเป็น  10  ข่วง

ข่วง 1 จำหน่าย พืช ผัก ผลไม้ สมุนไพร อินทรีย์

เลือกซื้อหา พืช ผัก สมุนไพร ฯลฯ          ข้าว ถั่ว งา ธัญพืช ฯลฯ           ผลไม้ อินทรีย์ ฯลฯ        กล้าพันธุ์ไม้ สมุนไพร ผักหวานป่า ผักกับลาบ ฯลฯ     ปุ๋ยหมักอินทรีย์ /น้ำหมักชีวภาพ/น้ำส้มควันไม้/กากน้ำตาล

ข่วง  2 อาหาร/อาหารแปรรูปและขนม

 อาหารพื้นบ้าน ปรุงสด ๆ จากพืชผัก อินทรีย์   ผัดไทยสุริยะ  ปรุงจากแสงอาทิตย์

ขนมจีน แป้งสดข้าวอินทรีย์                 ขนมพื้นบ้าน ข้าวเปี่ยง  ข้าวกั้นจิ้น ทองม้วนข้าวกล้อง ฯ

แปรรูป เต้าเจี้ยว ซีอิ้วขาวอินทรีย์           ไข่เค็มภูเขาไฟ (ลป)    ถั่วอบสมุนไพร  ถั่วคั่วทราย

น้ำพริกลาบ ลำปาง       ไก่เมืองนึ่ง (ลพ) สบู่ แชมพูสมุนไพร    

ข่วง 3 จิบกาแฟสดหอมกลุ่น ดื่มน้ำผัก ผลไม้ สมุนไพร อินทรีย์ เพื่อสุขภาพ

น้ำผัก ผลไม้อินทรีย์  น้ำสมุนไพร น้ำล้างพิษ  เพื่อสุขภาพ ฯลฯ   น้ำข้าวกล้องงอก / ข้าวกล้องงอกผงพร้อมชง  

ชาสมุนไพรพร้อมชง   กาแฟสดขุนลาว กาแฟอินทรีย์  จากดอยนางแก้ว กาแฟสดอินทรีย์  ห้วยแม่ส้าน  อ.แม่

 เมาะ ลำปาง กาแฟสดหนองเต่า อ.แม่วาง

ข่วง 4 นิทรรศการและการสาธิต 

 นำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านเกษตร ตัวแทนจาก ๔ จังหวัด      สาธิตการหีบน้ำมันงา       สาธิตการสีขาว

 กล้อง แสดงเครื่องสีข้าวและอุปกรณ์ต่างๆ      นิทรรศการและสาธิตการใช้พลังงานทดแทนในภาคเกษตร ฯลฯ    

 สาธิตทำถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด     สวนหลังบ้าน  เทศบาลตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน

 นิทรรศการของหน่วยงานต่าง ๆ

ข่วง 5  สวนผักคนในเมือง

         การปลูกผักบนดาดฟ้า       การปลูกผักในพื้นที่จำกัด         การปลูกผักในวัสดุเหลือใช้

         การปลูกผักในน้ำหมักชีวภาพ

ข่วง 6 กินเปลี่ยนโลก

         นิทรรศการ กินเปลี่ยนโลก   สาธิตการทำอาหารตามฤดูกาล จำหน่ายผลิตภัณฑ์รักษ์โลก(ปิ่นโต/หม้อโอ/เสื้อ/

         หนังสือ/CD/VCDฯลฯ)

ข่วง 7 แลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์พืช

    ผ้าป่าพันธุ์พืช      แลกเปลี่ยนพันธุ์พืช เมล็ดพันธุ์       แจกเมล็ดพันธุ์ กล้าไม้        สาธิตการตีเหล็ก  ขายมีด     

    จอบ เสียม เคียว ฯลฯ    อุปกรณ์ห่อผลไม้บนต้น

ข่วง 8 หมอเมือง

        นิทรรศการด้านสุขภาพ      ตรวจวัดสารเคมีตกค้างในเลือด        พอกโคลน      กัวซา      นวดผ่อนคลาย

         หมอเมือง

ข่วง 9 อบรมระยะสั้น

        ทำดอกไม้จากใบเตย      น้ำเอนไซน์เพื่อสุขภาพ      น้ำเขียว (น้ำคลอโรฟิล)      น้ำยาเอนกประสงค์

        ยาดม/ยาหม่องสมุนไพร      สลัดผักพื้นบ้าน              ข้าวปั้นจากข้าวและผักพื้นบ้านฯลฯ

ข่วง 10  หัตถกรรม งานฝีมือ

           จำหน่ายผ้าทอมือ /ผ้าปัก      เสื้อผ้าฝ้าย

 

ข่วง 11 ระดมทุนช่วยน้ำท่วมภาคกลาง

   

กิจกรรมที่ ๓. การแถลงข่าว

                        การแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๔.๐๐ น.

การแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน ในวันอังคารที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ น.

 

. ผู้เข้าร่วม ทั้งหมด ประมาณ ๑,๕๐๐ คน

          1) เกษตรกรเกษตรอินทรีย์จากจังหวัดลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน จำนวน ๕๐๐ คน

          2) ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ สื่อมวลชน จำนวน ๙๐๐ คน

          3) คณะทำงาน และองค์กรร่วมจัด ๑๐๐ คน

 

.  งบประมาณจาก

            จังหวัดลำพูน โดยกิจกรรมโครงการประชาสัมพันธ์และการตลาดเชิงรุกสินค้าเกษตรปลอดภัย กลยุทธ์การพัฒนาและเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตรครบวงจร ประเด็นยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เกษตรปลอดภัยและส่งเสริมเกษตรมูลค่าเพิ่ม ภายใต้กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑

 

๖.   องค์กรประสานงานการจัด 

๑)     สถาบันชุมชนเกษตรกรมยั่งยืน มูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน

๒)    สมาคมมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ

๓)    กลไกกลางสนับสนุนเครือข่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคเหนือ

๔)    สมาคมชีวิตดี

๕)    เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน

 

๗.  องค์กรร่วมจัด

๑)     สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง และ แม่ฮ่องสอน

๒)      สหกรณ์เกษตรยั่งยืนแม่ทาจำกัด

๓)      สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่จำกัด

๔)      มูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท และสหกรณ์การเกษตรพัฒนาจำกัด

๕)      กลุ่มแม่กาดตลาดนัดเกษตรอินทรีย์

๖)       โครงการบูรณาการเชียงใหม่จัดการตนเอง

๗)       เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา

๘)        เครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่

๙)         โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

๑๐)        มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

๑๑)       มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน

๑๒)      โครงการกินเปลี่ยนโลก

๑๓)      สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

๑๔)      สมาคม วาย เอ็ม ซี เอ  เสาหิน และสันกำแพง

๑๕)      สมาคมชีวิตดี

๑๖)       สำนักงานเทศบาลตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน

๑๗)      ร้านโขงสาละวิน จังหวัดลำพูน

๑๘)      สภาเกษตรกร จว. เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง และ แม่ฮ่องสอน

๑๙)       สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จว. เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง และ แม่ฮ่องสอน

๒๐)      หมอเมืองล้านนาเชียงใหม่

๒๑)      Heifer Project International Thailand

 

๘.       ผู้รับผิดชอบการจัดงาน และที่ติดต่อ

ดร. ชมชวน  บุญระหงษ์

                  เลขานุการมูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน

                  สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน

                  363 หมู่ 4 ต. หนองจ๊อม อ. สันทราย จ. เชียงใหม่ ๕๐๒๑๐

                  โทรศัพท์/โทรสาร ๐๕๓ ๓๕๔๐๕๓-๔ มือถือ ๐๘๑ ๘๘๕๖๒๗๒

                  [email protected]

๙.       ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑)   เกษตรกรที่เข้าร่วมมหกรรมจำนวน ๔๐๐ คนได้แลกเปลี่ยนและเรียนรู้องค์ความรู้ด้านการผลิต แปรรูป การรับรองมาตรฐาน การตลาด การทำงานผู้บริโภคด้านเกษตรอินทรีย์ ได้ทราบสถานการณ์และแนวคิดการพัฒนาชุมชน

๒) ผู้บริโภค สาธารณชน ผู้มีอำนาจตัดสินใจทางนโยบาย และสื่อสารมวลชน  ได้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องเกษตรอินทรีย์และระบบตลาดที่เป็นธรรม รวมทั้งตระหนักในเรื่องของการบริโภคผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์โดยตรง

๓)  แผนการพัฒนาด้านระบบอาหาร ด้านคุณภาพชีวิต และด้านอื่นๆในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรอินทรีย์
หมายเลขบันทึก: 464881เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2011 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พี่บางทรายครับ ขอช่วยประชาสัมพันธ์ต่อนะครับ พี่สบายดีไหมไม่ค่อยได้ข่าวเลยครับ...

ขอบคุณครับ อ.ขจิต เผยแพร่เลยครับ ทางกลุ่มอยากเชิญทุกท่านเข้าร่วมหากมีโอกาส จะเห็นว่า ชาวบ้านได้ตอบรับเกษตรอินทรีย์มากขึ้นๆครับ

พี่สบายดีครับ เดินทางไปมาระหว่างขอนแก่น-กรุงเทพฯครับ

ขอขอบคุณข่าวนี้มากเลยครับถ้ามีโอกาสไปจะเข้าร่วมนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท