จันดิปุระ… ฮานตา…นิปาห์...เวสน์ไนล์ ...ไทย


จันดิปุระ… ฮานตา…นิปาห์...เวสน์ไนล์ ....ไทย

ชื่อบันทึกข้างบน...เป็นชื่อพื้นที่ของการอุบัติใหม่ของโรคติดเชื้อ

เมื่อวานผมได้รับหนังสือที่ส่งมาถึงสถานีอนามัย เรื่อง โรคไข้หวัดใหญ่และโรคติดต่ออุบัติใหม่ สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข พ.ศ. 2552 …บ่ายวันเสาร์นี้ 15 ตุลาคม 2554 ผมจึงถือกลับมาอ่านที่บ้าน

เมื่อผมอ่านมาถึงหัวข้อของ ศ.เกียรติคุณ น.พ.ประเสริฐ  ทองเจริญ

มีความน่าสนใจมากครับ...ตรงประเทศไทยของเรา

มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้หลายทาง  ได้แก่

1) โรคที่มีศักยภาพสูงที่จะแพร่ระบาดไปทั่วโลก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่ระบาดในเพื่อนบ้านมีโอกาสจะแพร่เข้าประเทศไทย

2) โรคที่อยู่ประจำถิ่นเดิมอาจจะระบาดได้เป็นครั้งคารวเมื่อโอกาสอำนวย หรือมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง และ

3) การก่อการร้ายสากลทางชีวภาพ (bioterrorism)

 

………………………………………………….

 

โรคซาร์ส  (Severe  Acute  Respiratory  Syndrome : SARS) ระบาดในเกาะฮ่องกง แล้วแพร่ไปทั้งโลกและประเทศไทย สันนิษฐานว่า เชื้อในชะมดในกวางตุ้ง ทางใต้ของจีน  ติดมาสู่คนและแพร่ระบาดจากคนสู่คน

 

ไข้สมองอักเสบเวสน์ไนล์  (West  Nile  Fever) เป็นเชื้อไวรัสที่พบในตำบลเวสท์ไนล์ ประเทศยูกันดา เมื่อปี พ.ศ. 2480  ในอัฟริกา พบเชื้อได้บ่อย ๆ ในคน นก และสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด  แล้วแพร่กระจายไปยูดรปตะวันออก  เอเชียตะวันตก และตะวันออกกลาง และประเทศตะวันตก  วงจรการแพร่กระจายเชื้อจากยุงหลายชนิดที่ดูดเลือดนกที่ติดเชื้อไวรัสเวสท์ไนล์ แล้วไปดูดเลือดสัตว์อื่น ๆ ต่อไป  แม้ว่า ประเทศไทย ขณะนี้ยังไม่มีการระบาด แต่ควรมีการเฝ้าระวังในนก และการสำรวจยุง  นกป่า ว่ามีเชื้อหรือไม่ ?

 

ภาพประกอบจาก...

http://www.agdepartment.com/Programs/Livestock/BOAH/WestNile.htm

 

ไข้สมองอักเสบนิปาห์ (Nipah  Virus) ผู้ป่วยรายแรกเป็นหญิงอายุ 41 ปี อาศัยอยู่ในเมืองคินตา ประเทศมาเลเซีย อาชีพเป็นแม่ค้าเลี้ยงหมู  คนไข้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนไข้สมองอักเสบ (JE) แล้วก็ยังตายด้วยโรคนี้ เมื่อเจาะเลือดคนไข้มาตรวจ JE ก็จะได้ผลเป็นลบ หมายถึงไม่พบเชื้อ จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์คิดว่าน่าจะมาจากไวรัสตัวอื่น  วันที่ 1 มีนาคม 2542 จึงค้นพบไวรัสตัวใหม่ มีลักษณะคล้าย Hendra virus ของออสเตรเลีย จึงตั้งชื่อว่า NIV หรือ นิปาห์ไวรัส แปลว่า "ต้นจาก" ตามชื่อหมู่บ้านที่แยกเชื้อนี้ได้  มีรายงานการระบาดในมาเลเซีย  บังคลาเทศ  และอินเดีย  ก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นอันมาก

 

โรคมือเท้าปาก (Hand, Foot  and  Mouth  Disease : HFMD)  เป็นโรคที่พบในเด็กเล็กและเด็กโต  เกิดจากเชื้อฮานตาไวรัส  มีหหนูเป็นพาหะนำโรค ทำให้เกิดไข้  เลือดออก  และไตวาย พบการระบาดครั้งแรกในทหารที่พักบริเวณแม่น้ำฮานตา ประเทศเกาหลี เคยมีการสำรวจ serology ในคนกรุงเทพ ฯ ในปี 1989  พบผลบวกร้อยละ 8 และสำรวจพบเชื้อในหนูในหลายจังหวัด

 

โรคไข้หวัดนก (Avian  Influenza  in  Man)  ประเทศไทยพบผู้ป่วย 25 ราย เสียชีวิต 17 ราย โดยเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 13 ปี 10 ราย  เสียชีวิต 7 ราย  และอายุมากกว่า 12 ปี 15 ราย  เสียชีวิต 10 ราย เป็นต้น

 

โรคติดเชื้อจันดิปุระ (Chandipura  Virus  Infection)  Chandipura  Virus เป็นไวรัสที่มีรายงานใหม่ที่ก่อโรคในประเทศอินเดีย เมื่อ ปี พ.ศ. 2518 เบื้องต้นแยกเชื้อได้จากเลือดผู้ป่วย 2 ราย จากตำบลจันดิปุระ  รัฐมหาราชตระ ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ป่วยเป็นโรคไข้สมองอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุ ในภาคกลางของประเทศอินเดีย อาการของโรคนอกจากสมองอักเสบแล้ว ยังมีไข้และปวดข้อด้วย ต่อมาในเดือน มิถุนายน – สิงหาคม 2546 โรคได้ระบาด ที่อันตระประเทศและมหาราชตระ มีผู้ป่วย 329 คน ตาย 183 คน และในปี 2547 เกิดการระบาดประปรายในเด็กอีก ที่รัฐกูจาร์ท สันนิฐานว่า แมลง sandfly เป็นพาหะนำโรคจากการกัดดูดเลือด

หมายเลขบันทึก: 464868เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2011 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตามมาอ่านข้อมูลดีๆ มีประโยชน์

ขอบคุณที่แบ่งปัน

 

bioterrorism

ขอบคุณค่ะคุณหมอฯ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท