ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

“ตามรอยความเผ็ด”


ร้าน “ซาดิสส์” เป็นร้านอาหารไก่ย่าง ส้มตำ กินแล้วหูแดงลุกเป็นไฟ เพราะมันเผ็ด สมกับชื่อร้านจริงๆ ด้วยรสชาติของ capsicin ซึ่งเป็นสารที่ให้ความเผ็ดในพริก (Chillies)

            ความเผ็ดคืออะไร

              วันนี้ 25 สิงหาคม 2549 มีโอกาสได้ไปกินข้าวเที่ยงกับเพื่อนร่วมงานที่ร้าน ซาดิสส์ซึ่งเป็นร้านอาหารไก่ย่าง ส้มตำ  ของชอบของชาวอิสาน พอไปถึงก็เริ่มสั่งเมนูเด็ดทันที คือ ตำลาวแซ่บๆ (อร่อย) 3 จาน ไก่ 2 ไม้ พออาหารมาถึงโต๊ะเท่านั้นแหละครับ ถึงได้รู้ว่าความแซ่บมันไม่ได้ปราณีใคร ต่างคนต่างหิวเริ่มซัดซะเต็มที่ พอเริ่มรู้สึกตัวเท่านั้นหละครับ หูแดงลุกเป็นไฟ เพราะมันเผ็ด สมกับชื่อร้านจริงๆ ด้วยรสชาติของ capsicin ซึ่งเป็นสารที่ให้ความเผ็ดในพริก (Chillies) จึงทำให้ผมนึกถึงอดีตเมื่อต้นปี 2549 ที่ผ่านมาทันที ครั้นเมื่อคราวที่ผมและทีมงานวิจัยได้ศึกษาช่องทางการตลาดพริกในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ        

          พริกวันละ 200 กว่าตัน ต่อวันไปไหนพี่น้องชาว KM ทราบไหมครับว่าจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษเป็นแหล่งผลิตพริกที่ใหญ่ที่สุดในเขตภาคอิสาน เพราะในช่วงของเดือนพฤศจิกายน มีนาคมของทุกปี และในปีนี้ผลผลิตพริกที่ปลูกโดยพี่น้องเกษตรกร และถูกรวบรวมโดยพ่อค้าคนกลาง แล้วถูกลำเลียงส่งไปขาย ที่จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา กรุงเทพ นครปฐม ที่เป็นพริกแดง และสำหรับพริกเขียวจะถูกลำเลียงส่งไปขายในเขตภาคใต้ของประเทศไทย และอีกส่วนหนึ่งถูกลำเลียงไปขายแถวประเทศมาเลเซีย  

 

           ลานกว้างของปั๊มน้ำมันคือจุดซื้อขายพริก  ความเอื้ออาทรที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันระหว่างพ่อค้าคนกลาง และเจ้าของปั๊มน้ำมัน กล่าวคือ พ่อค้ารวบรวมผลผลิตพริกรายใหญ่จะมารอผู้รวบรวมผลผลิตพริกรายย่อย ที่ปั๊มน้ำมันติดถนนสายหลัก และมีลานกว้าง หลังจากนั้นเวลาประมาณ 1-2 ทุ่ม พ่อค้ารวบรวมผลผลิตพริกรายย่อยก็จะมาส่งผลผลิตพริกเพื่อขายให้กับพ่อค้ารวบรวมรายใหญ่ ที่จุดนัดพบ รับเงินเสร็จพอจะกลับบ้าน ส่วนใหญ่ก็จะเติมน้ำมันไปด้วย จึงเป็นการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันเรียกได้ว่า Win-Win ทั้งคู่นะครับ           

                     ทำไมทั้งสองจังหวัดจังมีพริกขายในช่วงนี้ นี่คือการจัดการความรู้ของพี่น้องเกษตรกรที่มีการมาจากบรรพบุรุษ นั่นก็คือการเอาชนะธรรมชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตพริกที่ดีมีคุณภาพ  กล่าวคือพี่น้องเกษตรกรทั้งสองจังหวัดนี้ จะมีการจัดการความรู้และได้มีการวางแผนการผลิตเพื่อให้ผลผลิตที่ออกมาไม่ให้ไปชนกับผลผลิตที่มาจากที่อื่น ซึ่งจะทำให้ได้ราคาที่สูง อีกทั้งในการจัดการความรู้สำหรับพี่น้องเกษตรเกษตรที่ไม่มีที่ดินที่อยู่ที่ดอนจะได้วางแผนการผลิต โดยทำการปรับระดับดินให้มีความสูงขึ้นมาเหนือระดับที่น้ำท่วมไม่ถึง เนื่องจากการที่จะได้ผลผลิตพริกออกมาในช่วงดังกล่าว เกษตรกรต้องปลูกในฤดูฝน ดังนั้นจึงต้องยกระดับดินให้สูงขึ้นป้องกันน้ำท่วมขังอันจะส่งผลเสียหายต่อผลผลิตได้????   แล้วท่านล่ะครับเผ็ดไหมๆ....

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

25 สิงหาคม 2549  

หมายเลขบันทึก: 46432เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เ็ห็นชื่อบันทึกแว็บแรก นึกว่า เรื่องเห็ด ที่แท้คือ เผ็ดนี่เอง
นายบอนนึกว่า พริกส่วนใหญ่จะมาจากทาง จ.เลย หรือ เพชรบูรณ์ ที่แท้ก็มาจากทางอุบลนี่เอง เ็ป็นความรู้ใหม่จริงๆครับ
  • ตามมาให้กำลังใจครับ
  • บันทึกนี้ยอดเยี่ยมมากครับ
  • ขอพลังความรู้จงสถิตกับท่านตลอดไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท