ประชาคมอาเซียน 2015 กับทฤษฎี Bridge ธุรกิจใหญ่และธุรกิจระดับชุมชน ต้องได้ประโยชน์ทั้งคู่


บทความแนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2554 ติดตามอ่านบทความย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างนี้ครับ

http://www.naewna.com/allnews.asp?ID=97&HL=0&no=1

 

ประชาคมอาเซียน 2015 กับทฤษฎี Bridge ธุรกิจใหญ่และธุรกิจเล็กระดับชุมชน ต้องได้ประโยชน์ทั้งคู่ (บทเรียนจากความจริง กับดร.จีระ)

 
มีอดีตนักข่าวเนชั่น ถามผมว่าคำว่า Bridge คืออะไร?

ผมตอบว่า Bridge คือ สะพาน หรือสิ่งที่เชื่อมให้ทุกอย่าง ได้ประโยชน์ร่วมกัน ถ้าไม่มี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้เปรียบ อีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ ซึ่งเรียกว่า Zero - Sum

เรื่อง ประชาคมอาเซียน ผมไม่อยากให้

* กลุ่มที่ได้ประโยชน์ หรือกลุ่มที่รวยอยู่แล้ว ฉกฉวย รวยมากกว่าเดิม เช่น สภาอุตสาหกรรมหรือสภาหอการค้า

* ผมอยากให้คนไทยทั้ง 65 ล้านคน มีโอกาสด้วยความเสมอภาคกัน

ปรากฏการณ์ครั้งนี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้คนไทยคิดว่าเปิดเสรีประเทศได้อะไร คนไทย 65 ล้านคนได้ด้วย โดยการกระจายโอกาสไม่ใช่กระจุกตัวหรือวัดจากตัวเลขรวมๆ

ถ้าใช้ทฤษฎี 2 R's

R แรก ก็คือ Reality ความจริง ถ้าไม่พิจารณาดูให้รอบคอบก็จะพบว่า กลุ่มที่แข็งแรงกว่าจะได้มากกว่ากลุ่มที่อ่อนแอเสมอ

ผมจึงชื่นชอบงานที่ผมไปร่วมด้วย 9 ครั้ง ที่กรมปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจัดร่วมกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้มีโอกาสเห็น หน่วยงานระดับชาติ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศมองไปที่ ผู้นำท้องถิ่น ซึ่งเรียกว่า สร้างสะพานเชื่อม (Bridge) ให้เกิดโอกาสกระจายไปทั่วประเทศ

แต่ Bridge ไม่ได้เกิดทางเดียว One-way เพราะธุรกิจใหญ่หรือระดับชาติ พิจารณาให้ดีก็อาจจะเกิด Bridge อีกทางหนึ่งก็คือ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุนทางวัฒนธรรมที่ท้องถิ่นสะสมมานาน แต่ยังไม่มี

* Benchmarking

* Quality (คุณภาพ)

* Standard มาตรฐาน

* Best Practice

* Excellent

สิ่งเหล่านี้ ธุรกิจใหญ่ผ่าน กระทรวงพาณิชย์ช่วยเป็นสะพาน (Bridge) ได้ดี

ถ้าทำได้ ปรากฏการณ์ของการเปิดประชาคมอาเซียนจะยกฐานะความเป็นอยู่คนไทยอีก 65 ล้านคน ให้ก้าวไปอย่างยั่งยืน

เพราะตัวอย่างมีแล้วคือ จีนในช่วง 1980 ที่เปิดประเทศ เติ้ง เสี่ยว ผิง ทำให้ภายในประเทศจีนไม่ถึง 30 ปี ร่ำรวยและกระจายความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก

อีก 4 - 5 ปีก็จีนก็จะเป็นอันดับหนึ่งของโลก จีนเปิดประเทศ ให้คนจีนที่อยู่ระดับล่างได้เห็นโอกาสและสร้างงาน GDP ของประเทศเกินกว่า 10 % ทุกปี

อินเดีย เมื่อปี 1991 เปิดประเทศ ก่อนเปิดประเทศอินเดียเคยเจริญแค่ 2 % หลังจากเปิดประเทศ เจริญกว่า 8 % ติดต่อกัน และกระจายโอกาสไปยังรากหญ้าและท้องถิ่น ประชาชนได้รับโอกาสมากขึ้น

ไทยก็เช่นกันในอดีตท้องถิ่นไม่ค่อยจะได้รับโอกาส ท่านศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้สร้าง Bridge สะพานไปเชื่อมแล้ว ซึ่งผมไปร่วมด้วย 9 ครั้ง มีลูกศิษย์ท้องถิ่นกว่า 2,000 คน (ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Blog : www.chiraacademy.com )

สำหรับตัวผม สะพาน Bridge ที่สำคัญก็คือการให้ท้องถิ่น ค้นหาตัวเอง สร้างเป็นทุนมนุษย์ 8K's, 5K's ที่มีคุณภาพอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม

อบจ. เทศบาล และ อบต. ในอดีตเน้นทรัพยากรธรรมชาติ เน้นโครงสร้างพื้นฐาน จากนี้ต่อไปถ้าเข้าใจทุนมนุษย์แล้ว ก็จะสามารถสร้างได้ เพราะคนไทยเป็นคนหัวอ่อน สอนได้


บรรยากาศ นายขวัญชัย วงศ์นิติกร อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
และนางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ได้ลงนามสัญญาร่วมกัน เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 ณ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น



ช่วงปาฐกถาพิเศษและบรรยายหัวข้อ 10 ประเด็น
ที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี"



ช่วงทำกิจกรรมและ Workshop

ผู้นำสามารถชี้นำสิ่งดีๆได้ ทำไมจะสร้างไม่ได้ ท้องถิ่นมีภูมิปัญญามากมาย ถ้าผู้นำมีความสนใจเรื่อง ทุนมนุษย์ จะช่วยให้ท้องถิ่นคิดเป็น วิเคราะห์เป็น มีปัญญา มีจริยธรรม มีความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่นวัตกรรมต่างๆ ได้แน่นอน

ยิ่งไปกว่านั้น ทุนทางวัฒนธรรม จะเป็นจุดแข็งในประชาคมอาเซียนธุรกิจของไทย เช่น รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ หรือเคมี ในอนาคตเป็นเทคโนโลยีที่ไทยไปลอกเลียนมา คงไม่เหมาะกับประเทศไทยในระยะยาว ต้องหันมาใช้ภูมิปัญญาในประเทศมากขึ้น

ประเทศไทยควรเน้น ความเป็นไทย (Thainess) คือสิ่งที่ประเทศอื่นในอาเซียนไม่มี เช่น

ธุรกิจบริการ เป็นอันดับหนึ่งของโลกได้

* การท่องเที่ยว และอาหารไทย

* ธุรกิจสุขภาพ (Wellness)

* เกษตรมูลค่าเพิ่ม

* อัญมณี

* โลจิสติกส์

จะเป็นสิ่งที่ประเทศไทยทำได้อย่างดีในประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ยังมีเรื่อง

1. ภาษา ต้องเอาจริง ต้องศึกษาทั้งภาษอังกฤษและภาษาอาเซียน

2. รู้เขามากขึ้น คือสนใจเศรษฐกิจสังคม กฎหมายของประเทศอาเซียน

3. ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่น ต้องคิดบวก ใฝ่รู้มากขึ้น คิดว่าสู้ได้ มีความมั่นใจในตัวเอง

4. ทำต่อเนื่องและต่อเนื่อง ชนิดกัดไม่ปล่อย

ผมมั่นใจว่า ถ้าทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ สร้าง Bridge (สะพาน) ระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลางต่อไปในหลายๆ จุด โอกาสที่จะทำให้คนไทยมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศจะเป็นจริงได้อย่างแน่นอน โดยกระจายโอกาสไปยังท้องถิ่น เพื่อดึงเอาความเป็นเลิศออกมาให้ได้

และพัฒนาไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

บรรยากาศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศร่วมกับกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น จัดโครงการติดอาวุธทางการค้า หลักสูตร "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รอบรู้ AEC" ให้กับกลุ่ม อบต. อบจ. เทศบาล และบุคลากรของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้รับเกียรติให้กล่าวปาฐกถาพิเศษ และบรรยายหัวข้อ "10 ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี" รวมทั้งหมด 9 ครั้ง เน้นการสร้างผู้นำท้องถิ่นทั่วประเทศกว่า 2,000 คน ให้รองรับการเปิดเสรีอาเซียน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์ 0-2273-0181
หมายเลขบันทึก: 464144เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2011 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท