วิกฤติหนี้อิหร่าน เจ็บนี้อีกนาน [EN]


สำนักข่าว The-Diplomat ตีพิมพ์เรื่อง 'Iran's untenable economy' = "เศรษฐกิจอิหร่านที่ไม่จีรังยั่งยืน (เปราะบาง)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
  • [ untenable ] > [ อั่น - เท้น - เหนะ - เบิ่ว; ตัวสะกด 'L' ออกเสียงคล้าย "ว" ] > http://www.thefreedictionary.com/untenable > adjective = unsustainable (un- = ไม่; sustain = ดำรงอยู่ คงอยู่; -able = ได้) = ไม่จีรังยั่งยืน ไม่เสถียร ไม่มั่นคง ไม่คงทน เปราะบาง

อิหร่านเป็นอดีตมหาอาณาจักรใหญ่ที่ประกาศใช้วิถีทางแห่งการพัฒนาแบบไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใครหลังล้มกษัตริย์(พระเจ้าชาห์)ได้... เริ่มจากการทุ่มผลิตลูก เพื่อเป็นกำลังรบกับอิรัก โดยเชื่อว่า ยิ่งมีคนมากยิ่งมีทหารมาก ยิ่งมีทหารมากยิ่งมีกองทัพใหญ่

ทว่า... ลืมไปว่า กองทัพรบด้วยท้อง และเมื่อประชากรมากเกินทรัพยากรจะรับไหวก็ประกาศใหม่ ให้คุมกำเนิดได้
.
ปีนี้ (2554) อิหร่านมีประชากร 77.89 ล้านคน หรือประมาณ 78 ล้านคน, 70.9% อยู่ในวัยทำงาน (15-64 ปี); 24.1% อยู่ในวัยเด็ก (0-14 ปี); 5% เป็นคนสูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) ทำให้เป็นประเทศที่มีสัดส่วนคนวัยทำงานสูงมาก  [ indexmundi ]
.
เป็นที่ทราบกันดีว่า ภัยภายนอกที่คุกคามอิหร่านค่อนข้างมากอาจมาจากการตัดสินใจถล่มโรงงานนิวเคลียร์ของอิสราเอล ซึ่ง ณ เวลานี้มีความเร่งด่วนน้อยลง
.
ปีนี้ (2554) มีการลอบสังหารนักฟิสิกส์ชั้นนำไปหลายท่าน และมีการใช้ไวรัสคอมพิวเตอร์ (โปรแกรม) โจมตีระบบการปั่นแยกยูเรเนียม ให้เครื่องปั่นแยกสาร ทำงานเกินกำลังจนเจ๊ง ทำให้การผลิตยูเรเนียมเข้มข้นล่าช้าไปอย่างน้อยหลายเดือน
.
ทว่า... ภัยภายในใหญ่ที่หนักหนาสาหัส คือ เงินเฟ้อกับอัตราการว่างงานที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจเป็นชนวนของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหม่ได้ในไม่ช้า
.
อิหร่านประกาศจะปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อให้มีอัตราการเติบโตของผลิตผลประเทศ (GDP) เพิ่มเป็น 3.2% ในปี 2010-11/2553-4 ซึ่งอุปสรรคใหญ่ คือ งบสวัสดิการ "ถ้วนหน้า" ผ่านการควบคุมราคาสินค้า (subsidy programme)
.
เป็นที่ทราบกันดีว่า อัตราการเติบโตผลิตผลประเทศ (GDP) ควรมีค่าสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ทว่า... อิหร่านมีอัตราเงินเฟ้อสูงมากจน GDP โตไม่ทัน (อีกต่อไป...)
.
อิหร่านมีน้ำมัน-แก๊สมาก แต่ถูกคว่ำบาตร ขาดอะไหล่-เทคโนฯ จนกลั่นน้ำมันได้ไม่พอใช้ ต้องขายน้ำมันดิบให้จีน และซื้อน้ำมันที่กลั่นแล้วกลับเข้าไป คล้ายชาวนาที่ขายข้าวเปลือกไว้ซื้อข้าวสาร
.
อิหร่านใช้เงิน 1/4 ของผลผลิตประเทศ (GD) ชดเชยค่าอาหาร เชื้อเพลิง ไฟฟ้าให้มีราคาถูกลงมากว่า 10 ปี ทำให้มีหนี้ภาครัฐสะสมสูง
.
รัฐบาลมีโปรแกรมจ่ายเงินตรงให้ครอบครัวที่มีรายได้น้อย $40/เดือน = 1,200 บาท/เดือน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า
.
เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศใด "ลด-แลก-แจก-แถม" โดยไม่พัฒนาการศึกษา-สาธารณสุข(ป้องกันโรค) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ "คนในชาติ" แล้ว, นโยบายทำนองนี้มักจะ "รอดยาก" ในระยะยาว
.
กองกำลังปฏิวัติ (Revolutionary Guards) เป็นผู้ควบคุมเงินส่วนนี้... ถ้าครอบครัวใดทำตัวไม่ถูกใจจะถูกตัดเงินส่วนนี้ และมีความเป็นไปได้ว่า น่าจะมีการหักค่านายหน้ากันนิดหน่อย
.
2-3 ปีที่ผ่านมา... อัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับเกือบ 15% ทำให้มีเสียงวิจารณ์ท่าน ปธน.มาฮ์มูด อมาดิเนจัด ซึ่งประกาศจะสร้างงานให้ได้ 1.7 ล้านตำแหน่งในปี 2553
.
รัฐบาลอิหร่านรายงานอัตราเงินเฟ้อรายไตรมาส (3 เดือน) ตามปฏิทินอิหร่าน (เริ่ม 20 มีนาคม 2554) = 13.2%; 14.2%; 15.4% ตามลำดับ
.
ส่วนสำนักข่าว Khabar Online ประมาณการณ์ว่า น่าจะสูงกว่านี้ และจะเพิ่มถึง 26% ภายในปลายปีนี้ (เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศที่มีอัตราการว่างงานเกิน 10% จะเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง)
.
นสพ. Iraninan Financial รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อที่คิดจากค่าครองชีพ (ปัจจัย 4) ที่รัฐบาลรายงานต่ำไป จริงๆ น่าจะอยู่ที่ 137%
.
จุดอ่อนที่สำคัญของอิหร่านเมื่อเทียบกับประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายอื่น คือ ถูกคว่ำบาตร ขาดอะไหล่-เทคโนฯ ด้านน้ำมัน ทำให้ต้องขายน้ำมันราคาค่อนข้างต่ำ แถมต้องนำเข้าน้ำมันที่กลั่นแล้วเข้าไปในราคาแพง
.
หนี้ภาครัฐทำให้ไม่มีเงินเหลือสำหรับลงทุนด้านการศึกษา หรือทำกองทุนสำหรับลงทุนในพันธบัตร-ตราสารหนี้-หุ้น-ทองคำต่างประเทศ
.
ตรงนี้เป็นระเบิดเวลาที่พร้อมจะทำงานทันทีที่อิหร่านผลิตน้ำมันได้น้อยลง ซึ่งจะเกิดภายในไม่กี่สิบปีเป็นอย่างช้า
.
กองกำลังปฏิวัติทำงานในรูปแบบรัฐวิสาหกิจใหญ่ ทำให้มีการคอรัปชั่น และใช้ระบบเส้นสาย (nepotism) ทำให้เกิดการหมกเม็ดจนมีการสั่งธนาคารกลางให้หยุดรายงานตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคมศกนี้
.
อิหร่านเป็นประเทศ "เศรษฐีน้ำมัน-ลูกดก" ที่ใช้นโยบายรัฐสวัสดิการขนาดใหญ่ (สังคมนิยม) จนมีหนี้ภาครัฐมหาศาล... บางทีอาจจะมากจนกรีซแอบยิ้ม ขอเป็นเพื่อนทางใจ
.
บทเรียนจากอิหร่านสอนเราว่า การใช้นโยบาย "ลด-แลก-แจก-แถม", การมีรัฐวิสาหกิจใหญ่, หรือมีหนี้ภาครัฐมากไปน่าจะไม่ดีในระยะยาว
.
ในช่วงที่โลกประสบวิกฤติเศรษฐกิจ ทั้งจากสหรัฐฯ-ยุโรป-ญี่ปุ่น (3/4 เสาหลัก, และจีนกำลังเสี่ยงเข้าคิวเป็นรายต่อไป)... ประเทศไทยควรรีบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของคน โดยเฉพาะการศึกษา-ป้องกันโรค, รีบรักษามิตรภาพกับเพื่อนบ้านให้ดี เพราะตรงนี้จะเป็นจุดแข็งของอาเซียนได้ในระยะยาว 
.
 
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 5 ตุลาคม 2554. ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 464123เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2011 01:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท