10 ปีลำเค็ญของคนอเมริกันชั้นกลาง [EN]


สำนักข่าว CNN Money ตีพิมพ์เรื่อง 'A rough 10 year for the middle class' = "10 ปีลำเค็ญของคนอเมริกันชั้นกลาง", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
10 ปีที่ผ่านมา... รายได้คนอเมริกันชั้นกลางลดลง 7% (median household income = $48,423(1990); $53,164(2000); $49,445(2010) ทั้งๆ ที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และที่สำคัญ คือ ค่าประกันการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นมากกว่าเงินเฟ้อ ทำให้คนอเมริกันชั้นกลาง "จนลง" ไปเรื่อยๆ
.
ยอดการจ้างงานที่หายไปในช่วงวิกฤติฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ 2008-10/2551-3 ทำให้การจ้างงานที่มีรายได้ปานกลาง ($35,560 = 1,066,800 บาท/ปี) ลดลงกว่า 3.5 ล้านตำแหน่ง มากกว่าการจ้างงานรายได้ต่ำ (ลดลง 1.4 ล้านตำแหน่ง) และการจ้างงานรายได้สูง (ลดลง 1.2 ล้านตำแหน่ง)
.
ช่วงเดียวกัน, มีการลดภาษีคนรวยของพรรครีพับลิกันฝ่ายขวาติดต่อกันหลายปี (นับตั้งแต่รัฐบาล ปธน.บุช) มีส่วนกระตุ้นให้เกิดกลุ่ม 'ออคคิวพาย วอลล์สตรีท (Occupy Wall Street)' ซึ่งเรียกร้องให้เพิ่มภาษีคนรวยไปลงทุนด้านการศึกษามากขึ้น
.
ศ.นพ.ประเวศ วะสี พยากรณ์ไว้เมื่อ 10 กว่าปีก่อน คือ สังคมอเมริกันมีการฟ้องหมอมาก ทำให้หมอต้องทำประกันการฟ้อง บวกต้นทุนนี้ไปกับค่าหมอ (doctor fee), ไม่รีบรักษา แต่จะทำการส่งปรึกษากันให้มากที่สุด ส่งตรวจพิเศษให้มากที่สุด (เพื่อป้องกันตัว และถ้าพลาด... จะได้มีตัวหารค่าถูกฟ้องมากขึ้น)
.
ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ทำให้ค่าประกันการรักษาพยาบาลที่นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มขึ้น จึงมีการอพยพโรงงานออกนอกประเทศ หรือจ้างผลิตนอกประเทศมากขึ้น จนอัตราการจ้างงานในประเทศลดลงไปเรื่อยๆ
.
การที่สหรัฐฯ ก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจยุคคลื่นที่ 3 หรือยุคข้อมูลข่าวสาร / IT  เร็วกว่าชาติส่วนใหญ่ในโลก (คลื่นลูกแรกคือ เกษตร, คลื่นลูกสองคือ อุตสาหกรรม) ทำให้มีการใช้เครื่องจักรไฮเทค คอมพิวเตอร์-IT, โปรแกรมมาใช้ ทำให้เพิ่มการผลิตได้มาก โดยใช้แรงงานน้อยลง
.
ตัวอย่างบริษัทในยุคคลื่นลูกที่ 3 เช่น อเมซอน ซึ่งขายทั้งหนังสือ และของอีกสารพัด ฯลฯ จ้างงานไม่มาก ทั้งๆ ที่มีรายได้สูงมาก
.
ทั้งหมดนี้ทำให้ "ชนชั้นกลาง (middle class)" เกิดการหดตัวในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งปริมาณ (จำนวนคน) และคุณภาพ (รายได้ต่ำลง เสี่ยงตกงานมากขึ้น ปัจจัย 4 โดยเฉพาะบ้าน-ค่ารักษาพยาบาลแพงขึ้นมากกว่าอัตราเพิ่มของรายได้)
.
ตรงนี้บอกเราเช่นกันว่า ทำไมนักศึกษามหาวิทยาลัย-อาชีวะ ซึ่งเป็นลูกหลานของชนชั้นกลางในโลกตะวันตก (ฝรั่ง) จึงไม่พอใจ และทำการต่อต้านสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ
.
รายงานการสำรวจประชากรครั้งล่าสุด (census report) พบว่า คนอเมริกันที่มีฐานะยากจนเพิ่มขึ้นเป็น 46.2 ล้านคน (15.1%) สูงสุดในรอบ 17 ปี, และมีคน 49.9 ล้านคน (16.3%) ไม่มีหลักประกันสุขภาพอะไรเลย
.
สถิติที่ผ่านมาพบว่า รายได้คนอเมริกันชั้นกลางเกือบจะไม่เพิ่มเลยตั้งแต่กลางช่วง 1970s (ประมาณ 40 ปี) แถมยังต่ำลงในช่วงปี 2000-2010 หรือ 11 ปีที่ผ่านมา, คิดเฉลี่ยหลังหักเงินเฟ้อ = ลดลง 7%/10 ปี
.
นับตั้งแต่ช่วง "ดอทคอม (dot-com)" หรือบริษัท IT ที่ใช้นามสกุล "ดอทคอม" ในอินเตอร์เน็ต "โต-เต่ง-แตก" มา 10 กว่าปี... รายได้คนชั้นกลางลดลงไปเรื่อยๆ
.
ช่วงเวลาเดียวกันพบว่า คนอเมริกันที่รายได้ค่อนข้างต่ำ 60% จนลง, สวนทางกับคนรวย 40% รวยขึ้น โดยพบภาคอสังหาริมทรัพย์ (housing sector - บ้าน ที่อยู่อาศัย) หดตัวลงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ
.
คนอเมริกันมีจุดอ่อนที่ชอบสร้างบ้านใหญ่ ใช้รถคันใหญ่ ทำให้สินทรัพย์ของคนชั้นกลางกระจุกตัวที่บ้านกับที่ดิน ซึ่งมีราคาตกลงมากหลังช่วงฟองสบู่อสังหาฯ
.
ขณะที่บ้าน-ที่ดินหลังเก่าของชนชั้นกลางมีราคาต่ำลง, ของจำเป็นอื่นๆ เช่น น้ำมัน ค่ารักษาพยาบาล อาหาร บ้านหลังใหม่ ฯลฯ กลับแพงขึ้น
.
ค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยเพิ่มสูงขึ้นเร็ว ทำให้คนชั้นกลางและลูกหลานของคนชั้นกลางเสียโอกาสในการศึกษาต่อ ซึ่งถ้าปรากฏการณ์นี้เกิดนาน จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศของคนอเมริกันลดลงในระยะยาว
.
ทั้งหมดนี้มีส่วนทำให้ความฝันของคนอเมริกัน (American Dream = บ้านหลังใหญ่สักหลัง) หดหายไป คนรุ่นใหม่เลื่อนเวลาซื้อ-ผ่อนบ้านไป แถมอีกหลายๆ คนยังอาศัยบ้านหลังเก่า (บ้านคุณแม่คุณพ่อ) นานขึ้น
.
ตอนนี้คนอเมริกันอายุ 25-34 ปี 14.2% ยังคงอาศัยบ้านพ่อแม่ สูงกว่า 11.8% ในปี 2007/2550 (เดิมสังคมฝรั่งเชื่อว่า นกน้อยควรออกจากรังตอนอายุ 16 ปี คือ ไปอยู่หอพักมหาวิทยาลัย-อาชีวะ จบแล้วต้องหางานทำทันที)
.
ประเทศทั่วโลก (รวมทั้งไทย) ที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมคลื่นยุคที่ 3 หรือยุคข้อมูลข่าวสาร-IT มากขึ้นเรื่อยๆ จะพบคนชั้นกลางตกงานมากขึ้นเรื่อยๆ จากการนำเครื่องจักร-หุ่นยนต์-โปรแกรม(ซอฟท์แวร์)-IT
.
ทุกวันนี้คนอเมริกันพอจะหางานทำได้จากภาคบริการ เช่น ธนาคาร-การเงิน-ประกัน, โรงพยาบาล-คลินิก, การบิน-ขนส่ง-โลจิสติก ฯลฯ และมีปัญหาคนตกงานร่วมกับขาดแรงงานวิชาชีพ โดยเฉพาะขาดพยาบาล ขาดหมอทั่วไป โดยเฉพาะเขตห่างไกล-รายได้ไม่มาก
.
การที่อาเซียนส่งเสริมการค้า-ขนส่ง-ลงทุน-คมนามคมร่วมกัน เป็นการลงทุนที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะรัฐบาลยุคปัจจุบันมีนโยบายส่งเสริมมิตรภาพกับเพื่อนบ้าน
.
ประเทศไทยควรรีบเพิ่มการผลิตสาขาที่จบมาแล้วมีงานทำ 3 เท่า โดยเฉพาะหมอฟัน-นักบิน-นักบัญชี-พยาบาล-วิศวกร/สถาปนิกบางสาขา-นักกฎหมายที่เก่งภาษาอังกฤษและกฎหมายระหว่างประเทศ (เราเพิ่มการผลิตหมอหลายเท่ามา 10 กว่าปีแล้ว แต่ไม่เพิ่มสาขาอื่นๆ)
.
ช่วงนี้เป็นช่วงที่พยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคน (ยุคเบบี้บูม 1946-1964/2489-2507) ทยอยกันเกษียณอย่างรวดเร็ว (หมอส่วนใหญ่ทำงานหลังเกษียณแบบไม่เต็มเวลา ทำให้โอกาสขาดแคลนต่ำกว่า) ควรจะต้องรีบเพิ่มการผลิต
.
ถ้าเราขอความร่วมมือเพื่อนบ้าน ทำสถาบันสุขภาพนานาชาติในไทย (พม่า-ไทย, ลาว-ไทย,กัมพูชา-ไทย, มาเลย์-ไทย และ/หรือ สิงคโปร์-ไทย), รับนักศึกษาฝ่ายละ 1/2, พัฒนาอาจารย์ร่วมกัน, รับปริญญา 2 ใบ (เช่น ลาว-ไทย ฯลฯ) ได้... น่าจะผลิตพยาบาล-หมอฟัน-หมออนามัยได้ด้วย กระตุ้นเศรษฐกิจได้ด้วย
.
เราน่าจะขอความช่วยเหลือชาติที่ผลิตเครื่องบิน-คอปเตอร์ โดยเฉพาะรัสเซีย-จีน-อินเดีย ทำสถาบันการบิน โดยใช้สนามบินต่างจังหวัดที่ยังใช้ไม่เต็ม 100% ผลิตนักบิน-วิศวกร-ช่างการบินได้มาก, ทำหลักสูตรภาษาอังกฤษ จะผลิตสาขาขาดแคลนได้ด้วย กระตุ้นเศรษฐกิจได้ด้วย
.
และเมื่อผลิตได้มากพอแล้ว... ต่อไปอาจรับนักศึกษาจากเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพม่า-ลาว-กัมพูชา มาเรียนร่วมกัน ทำมาตรฐานให้ดี คิดค่าเล่าเรียน-ที่พัก-อาหารให้เต็มที่ แบบนี้จะทำให้เศรษฐกิจไทยก้าวไกลไปโลดเลย
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 7 ตุลาคม 2554. ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 464122เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2011 01:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท