ว่าด้วย นักเรียน นักศึกษา และ นักทำข้อสอบ


ผมพบว่าในจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชานี้มีประมาณครึ่งหนึ่งที่แสดงความตั้งใจเรียน แต่เพียงหนึ่งในสี่ทำข้อสอบได้ดี ที่ประหลาดใจก็คือมีนักศึกษาบางคนที่ไม่เข้าห้องเรียนเลยกลับทำข้อสอบของผมได้ค่อนข้างดีกว่านักศีกษาที่เข้าเรียนส่วนใหญ่เสียอีก

ในภาคการศึกษาต้น ปี ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ผมได้ทดลองวิธีการสอนแบบ "กรณีศึกษา" ในวิชาการจัดการทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม ระดับชั้นปีที่ ๔

โดยใช้สถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นทางด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและของโลกในปัจจุบัน

ไม่ว่าจะเป็น

  • กรณีน้ำท่วม
  • ภัยแล้ง
  • ป่าไม้ถูกบุกรุก ทำลาย
  • การท่องเที่ยว
  • การพัฒนาอุตสาหกรรม และพลังงานทดแทน 
  • การทำการเกษตรแบบต่างๆ
  • การจัดการภาครัฐ
  • ระบบธุรกิจข้ามชาติ และ
  • ความเกี่ยวข้องกับปัญหาหนี้สินและการสูญเสียที่ทำกินของเกษตรกร
  • ฯลฯ

โดยนำเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิด ที่ไป ที่มา ความจริง ความเชื่อ และความเข้าใจผิดต่างๆในทุกระดับ

นำมาแจงให้เห็นข้อดีและข้อด้อยในการบริหารจัดการ

และพยายามชี้ประเด็นการวิวัฒนาการของปัญหาและสถานการณ์ต่างๆอย่างเป็นจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้

โดยพิจารณา

  • เงื่อนไข
  • แรงจูงใจ และ
  • แรงผลักดันในทุกๆด้านอย่างเป็นธรรม

ให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีอคติต่อใครทั้งสิ้น

เมื่อสอนจบประเด็นตามเวลาที่มี โดยใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ ๒๑ ชั่วโมง

ผมได้ออกข้อสอบแบบปรนัย ด้วยคำถามลูกโซ่จำนวน ๕๐ ข้อ ใน ๕ ระดับของระบบทรัพยากร และ ๑๐ ขั้นตอนของการแก้ไขปัญหาที่เป็นจริงในสังคมไทย

  • ที่ใครจะเริ่มตอบจากจุดไหนก่อนก็ได้
  • แต่ต้องตอบให้ครบประเด็น
  • และแสดงความเชื่อมโยงของปัญหา สาเหตุ ทางออก ทางแก้ไขอย่างยั่งยืน
  • และสิ่งที่แก้ไขได้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว

ผมพบว่า

  • ในจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชานี้ทั้งหมด ๒๔ คน
  • มีประมาณครึ่งหนึ่งที่แสดงความตั้งใจเรียน ตื่นตัว มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีตลอดเวลาของการสอน
  • ประมาณ หนึ่งในสาม มานั่งฟังเฉยๆ 
  • ประมาณ หนึ่งในห้า แสดงความไม่สนใจ เดินเข้าเดินออกห้องเรียนแบบไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน หรือคุยกันในประเด็นอื่นๆในเวลาเรียน
  • มี ๒ คน ที่เข้าเรียนน้อยมาก และ
  • ๑ คนไม่เข้าเรียนเลยตลอดการสอนของผม

จากผลการตรวจข้อสอบ พบว่า

  • เพียงหนึ่งในสี่ของนักศึกษาทำข้อสอบได้ดีถึงดีมาก เกิน ๘๐% หรือเกือบเต็ม
  • ครึ่งหนึ่งของห้อง อยู่ระดับกลางๆ
  • ประมาณหนึ่งในสี่ ต้องแก้ไขปรับปรุงโดยการให้ไปทบทวนและทำรายงานเพิ่ม
  • ที่ค่อนข้างประหลาดใจ ก็คือมีนักศึกษาบางคนที่เรียนน้อย หริอไม่เข้าห้องเรียนเลยกลับทำข้อสอบของผมได้ค่อนข้างดีกว่านักศีกษาที่เข้าเรียนส่วนใหญ่เสียอีก
  • และที่ประหลาดใจมาก ก็คือ มีนักศึกษาที่เข้าเรียนประจำ แสดงความสนใจในการเรียนค่อนข้างดี แต่กลับทำข้อสอบไม่ค่อยได้ แต่เมื่อมาซักถามก็ตอบได้ดี สมควรให้ผ่านได้
  • แต่ที่ประหลาดใจมากที่สุดคือ มีนักศึกษาคนหนึ่งเข้าเรียนสม่ำเสมอ โต้ตอบดีในการเรียน ทำข้อสอบไม่ได้เลย คะแนนเกือบ ๐  
    • และเมื่อใช้วิธีสอบแบบสัมภาษณ์เพิ่มเติมหลังการตรวจพบผลการสอบ กลับหลุดประเด็นสำคัญๆ
      • ที่กำลังหาวิธืประเมินอยู่ ว่าจะต้องประเมินโดยวิธีใดจึงจะวัดผลการเรียนได้ดีที่สุด

ผมจึงได้ข้อสรุปสำคัญมากว่า

  • คนที่ดูตั้งใจเรียนนั้น อาจมีผลการสอบที่ไม่ดีได้ ขึ้นกับวิธีการวัดผล
  • คนที่ไม่เข้าเรียนเลยอาจมีผลการเรียนรู้ที่ดีได้
  • และ นักศึกษาบางคนมีวิธีการอธิบายผลการเรียนของตนเองที่ไม่สามารถใช้ข้อสอบมาตรฐานอย่างหนึ่งอย่างใดได้
  • อาจต้องพัฒนาการวัดผลอย่างหลากหลายและเหมาะสมกับกลุ่มที่มีพฤติกรรมการเรียน การแสดงผลการเรียนแตกต่างกัน

ผมได้ความรู้เพิ่มเติมอีกมากเลยจากการสอนและการวัดผลแบบที่ผมลองใช้ในภาคการศึกษานี้ครับ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนครับ

หมายเลขบันทึก: 464015เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2011 08:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 23:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณคะ

ที่อาจารย์เปิดกว้างนำ วิธีการสอน และการสอบของอาจารย์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ขออนุญาตแสดงความเห็น เพื่อร่วมเรียนรู้ดังนี้คะ

เท่าที่อ่าน เข้าใจว่าการสอบนี้ ต้องอาศัยทักษะ problem solving skill (logical thinking)

คือ จับประเด็นปัญหา -> ประมาณการณ์ ทางออก -> คิดหาทางแก้หลายๆ ทาง -> ประเมินชั่งน้ำหนักแต่ละทาง ->เลือกทาง และวิธีบริหารจัดการ ที่เหมาะสมกับทรัพยากร วัฒนธรรม อันนำไปสู่ความยั่งยืน

Problem solving คือ IQ ที่เราวัดกัน

คนที่รู้ตัวว่า IQ ดี บางที เชื่อว่าตัวเองไม่ต้องเรียนในห้อง ถึงเวลาสอบก็ใช้ความได้เปรียบทาง logical skill ได้

คนที่เข้าเรียนประจำ อาจเป็นกลุ่ม EQ ดี มีวินัย ยอมรับคนอื่น

หรือไม่ถนัด Problem solving เท่ากับ

- Creative thinking ( ฉายประกาย ตอน brain stroming)

- Critcal thinking ( กลุ่มนี้น่าจะทำข้อสอบได้ค่อนข้างดี แต่ตกม้าตายตอนบริหารจัดการทรัพยากร )

- Conceptual thinking ( ฉายแวว ตอน เขียนอัตนัยอธิบายหลักการ ทฤษฎี)

ขอบคุณคะ ที่สละเวลาอ่าน

I had my time teaching and mentoring undergrads on IT.

In my first year, I tried to deliver (knowledge, tricks and experiences).

That did not go well in my view - though the results were much 'normal' (distribution).

Then I tried to deliver only experiences (through stories, practices, hands-on tests and class forums).

That did strange things - the results were divided clearly into very good and very poor with a few on 'average'.

I would now try to focus on 'learning to learn' because I think learning skill is 'foundational' to critical thinking, problem solving, etc. And I think everyone is born with a natural drive to learn (by observing, measuring/reckoning, testing, summarizing, memorizing, adjusting/adapting and adopting). Children learn this way. Undergrads had been 'conditioned' to learn differently. I would love to see young children continue to use this natural approach to the best they can throughout their lives.

Sadly, today we see learning as a means to get a piece of paper.

When we should really see learning as a continuing process.

Learning (to learn) can be used to achieve successes.

Learning (to learn) can be improved as we go on (learning).

เป็นประเด็นที่ดีมากเลยครับ ขอนำไปปรับขยายผลการประเมินนะครับ

ขอบพระคุณมากครับ

 

ดีใจที่ได้ยินอาจารย์ประเมินผลการเรียนการสอนได้น่าสนใจ เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่ผมเห็นด้วย และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่า คนส่วนใหญ่ มีความรู้ แต่อาจจะขาดทักษะความสามารถในการตอบหรือเขียนเพื่อให้ได้คะแนน ผมเองก็เคยถูกอาจารย์ที่ปรึกษาแซวอยู่บ่อย ๆ ว่า High potential but low performance.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท