โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

ความฉลาดทางสุขภาวะ


คณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน

แผนการจัดการเรียนรู้สาระคณิตศาสตร์ บูรณาการ การพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะ (HL :Healt Literacy) ชั้นประถมศึกษาปีที่1 เรื่องการชั่ง และการเปรียบเทียบ โดยนางอุบลวรรณ หาญณรงค์ โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ดังนี้

       ให้นักเรียนชั่งน้ำหนักโดยเครื่องชั่งนำหนักและวัดส่วนสูงแล้วนำมาเปรียบเทียบน้ำหนักส่วนสูงว่าคนที่มีว่าคนที่มีส่วนสูงในระดับต่างๆควรจะมีน้ำหนักเท่าใดจึงจะเหมาะสม  ไม่เป็นคนผอมหรืออ้วนเกินไป   ซึ่งวิธีนี้ทำได้โดยการนำส่วนสูง (หน่วยเป็นเซนติเมตร) ลบด้วยเลขมาตรฐานสากล 105 (สำหรับคนไทยนิยมใช้ 110) แล้วนำผลลัพธ์มาเปรียบเทียบกับน้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) โดยใช้เกณฑ์อนุโลมคือ +10 หรือ -10 ในการตัดสินว่าปรกติ อ้วนหรือผอม
ตัวอย่างเช่น นางสาว วิว สูง 155 เซนติเมตร หนัก 58 กิโลกรัม จะพบว่าน้ำหนักของ นางสาว วิว ที่ควรเป็นคือ 155-110 = 45 กิโลกรัม (หาค่าอนุโลมโดยการบวก 10 และลบ 10) ดังนั้น นางสาว วิว ควรมีน้ำหนักระหว่าง 35 - 55 กิโลกรัม แต่ปรากฏว่านางสาว วิว มีน้ำหนัก 58 กิโลกรัม แสดงว่าเป็นคนอ้วนในวงการแพทย์นิยมใช้ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index : BMI) ในการประเมินมากกว่า โดยมีสูตรจำนวน ดังนี้ตัวอย่าง
น้ำหนักตัว(กิโลกรัม)

BMI = --------------------

ส่วนสูง (เมตร)
และมีเกณฑ์การเปรียบเทียบดังนี้

ค่าที่ได้ น้อยกว่า 18.5     แสดงว่า ผอม

ระหว่าง 18.5-24.9         แสดงว่า ปรกติ

ระหว่าง 25.0-29.9         แสดงว่า น้ำหนักเกิน

ระหว่าง 30.0-39.9         แสดงว่า อ้วน

มากว่า 40                   แสดงว่า อันตราย

     ครูและนักเรียนร่วมสนทนาและสรุปถึงความสำคัญของอาหารและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่นักเรียนรับประทานเพื่อแก้ปัญหาสู่การบริโภคที่ดี

คำสำคัญ (Tags): #อ้วนหรือผอม
หมายเลขบันทึก: 463937เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2011 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

             ยอมรับจริง ๆ เลยค่ะ คุณครูอุบลวรรณ สามารถบูรณาการความฉลาดทางสุขภาวะเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ได้ ...เจ๋ง...เจ๋ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท