วัฒนธรรมไซเบอร์3


cyber culture

วัฒนธรรมไซเบอร์โลกเสมือนจริงในชีวิตจริงของเรา (ตอนที่3)

 

        ดังนั้น ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (Digital divide) จึงถูกมองว่าเป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมแบบใหม่ที่ได้รับการสรุปว่า มันสำคัญกว่าความไม่เท่าเทียมกันในด้านต่างๆ เช่นความรวยกับความจน ประเทศที่พัฒนาแล้วหรือด้อยพัฒนา เป็นต้น

วัฒนธรรมไซเบอร์: วัฒนธรรมซึ่งเกิดในอินเตอร์เน็ท

 ( Cyberculture: A Culture Born In The Internet)

           กลุ่มศึกษาซึ่งศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมอินเตอร์เน็ท ได้ศึกษาโดยเน้นการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งเกิดขึ้นในบริบทของสังคมออนไลน์ เช่น ในพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อโต้แย้งต่างๆในกระทู้ (Forum) พื้นที่ของกลุ่มข่าว และการพูดคุย (Chat) การศึกษาดังกล่าวนี้ใช้ทฤษฎีทางมานุษยวิทยาเพื่ออธิบายถึงวิวัฒนาการของสังคมที่เรียกว่าสังคมออนไลน์  ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญในการวิวัฒนาการที่มิใช่ประเด็นทางเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องการปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของโลกไซเบอร์  พวกเขาได้ชี้ว่า การติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ทสามารถเข้าใจได้จากมุมมองของวัฒนธรรม ในพื้นที่ของโลกเสมือนจริงนี้เราสามารถค้นพบระบบการแบ่งปันความเชื่อ ค่านิยม และบรรทัดฐานของแนวทางเฉพาะในการกระทำร่วมกัน เช่น ความเข้าใจพื้นฐานของสัญลักษณ์ทางอารมณ์ มารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ท และสัญลักษณ์การบอกแนวทางอื่นที่สามารถแสดงอารมณ์ร่วมของความเป็นเจ้าของและการสร้างสรรค์ชุมชน และในที่นี้เราสามารถพบภูมิหลังทางทฤษฎีซึ่งเชื่อมต่อกันของทัศนคติแบบองค์รวมของวัฒนธรรม เช่น ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ซึ่งอธิบายว่ากลุ่มสังคมออนไลน์สามารถเรียนรู้แยกส่วนต่างๆได้เสมือนดั่งในระบบทางวัฒนธรรมที่สมบูรณ์แบบ 

 ภาพจาก http://www.google.co.th/childebook

วัฒนธรรมไซเบอร์: ผลผลิตทางวัฒนธรรม

          วัฒนธรรมไซเบอร์ได้ถูกให้ความหมายในหลายๆทัศนะ เช่น มันเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมซึ่งใช้อินเตอร์เน็ตและสื่อหลายมิติ (Hypermedia)ในการพัฒนาสร้างสรรค์ เช่นงานทางศิลปะ วรรณกรรม และดนตรี วัฒนธรรมได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับผลผลิตนี้ในเชิงสัญลักษณ์ และมีความสัมพันธ์กับการขยายขอบเขตที่กว้างมากของความคิดรวบยอดทางวัฒนธรรมแบบตะวันตกซึ่งบางครั้งไม่มีความรู้เรื่องวัฒนธรรมและผลผลิตด้านวิจิตรศิลป์ที่มีความหมายเลย การศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมได้เปิดโอกาสให้ผลผลิตทางวัฒนธรรมชั้นสูงกลายเป็นวัฒนธรรมสมัยนิยม (Popular culture)ไปในที่สุด ตัวบ่งชี้คือสินค้าทางสื่อสารมวลชนและการบริโภคจากผู้คน รวมไปถึงในปัจจุบันมีการใช้สินค้าด้านศิลปหัตถกรรม สินค้าด้านสื่อวัฒนธรรมรวมไปถึงสินค้าด้านวิจิตรศิลป์ต่างๆอีกด้วย วัฒนธรรมไซเบอร์จึงเป็นผลพวงของผลผลิตทางวัฒนธรรมซึ่งมีการพัฒนาและแลกเปลี่ยนกันโดยผ่านอินเตอร์เน็ท เชื่อมโยงกับสินค้าทางวัฒนธรรมประเภทอื่นๆ มีการเผยแพร่ มีการตั้งกฎเกณฑ์ และมีการบริโภค

 ภาพจาก http://www.google.co.th/emarket

            ผู้คนในโลกไซเบอร์จะเน้นรูปลักษณ์ของความร่วมมือและการปฏิสัมพันธ์และสร้างวิธีการในการนำเอาเทคโนโลยีทางอินเตอร์เน็ทไปใช้ในการแสดงออกและนำเสนอตัวเองของพวกเขาด้วย

 

คำสำคัญ (Tags): #Cyber culture
หมายเลขบันทึก: 463689เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2011 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • รำพึงถึงพ้องเพื่อน
  • คำร้องเตือนมาฝากไว้
  • น้ำท่วมด้วยน้ำใจ
  • พี่น้องไทยรีบช่วยกัน .....

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท