การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จุดดูงานที่สอง


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเกษตรธรรมชาติ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเกษตรธรรมชาติบ้านนาป่าแดง ตำบลคุยบ้านโอ่ง อำเภอพรานกระต่าย 

คณะทำงาน KM จากกองพัฒนาการเกษตรพื้นที่เฉพาะ กรมส่งเสริมการเกษตรได้มาร่วมศึกษาแลกเปลี่ยนการทำ KM ของจังหวัดกำแพงเพชร และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเกษตรธรรมชาติบ้านนาป่าแดง เรามาถึงได้มีการตอนรับอย่างดี ขณะที่เรามาก็มีเจ้าหน้าที่จากทางธนาคารธกส. กำลังฝึก อบรมเกษตรกรโดยใช้ เกษตรกรสอนเกษตรกรเอง ทางคณะทำงานของศูนย์เรียนรู้บ้านนาป่าแดง            ได้เล่าให้พวกเราฟังว่า ประวัติการก่อตั้งศูนย์เป็นมาอย่างไร ก้อเริ่มมาจากการมีปัญหาจนเป็นหนี้ใช้สารเคมีมากต้นทุนสูงและจากการไปดูงานที่อื่น และได้อบรมเทคนิคโรงเรียนเกษตรกรได้รูปแบบมาใช้คิดแก้ปัญหา หาปัญหา ทำสาเหตุของปัญหาและหาแนวทางแก้ไขโดยใช้แผนชุมชนมาเป็นแผนในการแก้ไขปัญหาของชุมชน มีการวิเคราะห์ตนเอง ค้นหาสาเหตุของปัญหา ก็ได้แนวทางแก้คือ เศรษฐกิจพอเพียง มีการลดรายจ่าย ออมเงิน และพึ่งตนเอง คณะเราถามว่าแผนชุมชนของที่นี่ทำอย่างไร จึงสำเร็จ  ท่านผู้ทำแผนชุมชนเล่าให้เราฟังว่า แผนที่นี้เกิดจากคนในชุมชนอย่างแท้จริงมีการวิเคราะห์ทำแผนร่วมกัน และผู้นำมีส่วนเป็นอย่างมากต้องช่วยทำให้แผนปฏิบัติได้ และผู้นำต้องทำเป็นตัวอย่าง และมีการติดตามผลการปฏิบัติด้วย เราจึงได้ค้นพบองค์ความรู้ว่า แผนชุมชนจริงๆแล้ว จะต้องทำอย่างไร ถึงจะสำเร็จ จับเรื่องราวประเด็นหลักๆ ได้ว่า

1.       ต้องมีส่วนร่วม ของคนในชุมชนเพื่อการทำแผนอย่างแท้จริง

2.       ต้องทำการผลักดันให้สู่การปฏิบัติให้ได้

3.       ผู้นำต้องทำเป็นตัวอย่างด้วย

 

 ละเรายังค้นพบจากการเล่าเรื่องหมูหลุมให้ฟังอีกว่าการที่จะรับองค์ความรู้มาจากที่อื่น เค้ายังมีการมากลั่นกรองหรือพิจารณาอีกว่าเหมาะสมทำได้รึไม่ ทำแล้วมีปัญหารึไม่ จะนำไปเชื่อมโยงหรือเข้ากับเรื่องอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วได้รึไม่ ทางคณะทำงานศูนย์ฯ ได้เล่าให้เราฟังว่า หลังจากไปดูงานหมูหลุมมาและตนเองก็มีประสบการณ์ในการเลี้ยงหมูมา 10 ปี ก็นำมาคิดว่าถ้านำวิธีการเลี้ยงหมูหลุมมาเลี้ยงในหมู่บ้านตนเองแล้ว จะมีกลิ่นเหม็นรึไม่ ได้ทดลองใช้น้ำหมักชีวภาพลาดลงในเล้าหมู ก็พบว่าแก้ปัญหาได้ และน่าจะได้หมูคุณภาพดี โตเร็วเพราะหมูไม่เครียดจากการเลี้ยงแบบหมูหลุม และได้ปุ๋ยคอกเอาไว้ใช้ แทนปุ๋ยเคมีอีกด้วย จึงได้ตัดสินใจเลือกเลี้ยงหมูหลุม ย้อนไปถึงการให้เกษตรกรสอนกันเองก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ทำได้ดี โดยให้เกษตรกรที่  เก่งเรื่องใด  ก็ให้เป็นวิทยากรเกษตรสอนเพื่อนในชุมชนเราก็พบว่า วิทยากรเกษตรทุกคนมีความสามารถในการบรรยาย พูดสื่อสารได้ดีมาก ซึ่งต่อไปก็พัฒนาขึ้นมาเป็นผู้นำได้ในอนาคต แล้วเราก็คิดว่าแบบนี้แหละ ที่น่าจะเป็นแบบอย่าง การพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างแท้จริงโดยมีการคิดวิเคราะห์ปัญหาว่างแผนแก้ไขปัญหาร่วมกัน ผลักดันในมีการปฏิบัติ ผู้นำก็ทำเป็นตัวอย่าง และมีการติดตามอีกด้วยช่างเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์มากๆ  <p align="center">…………………………………………………………..   มนัส เสียงก้อง  ผู้บันทึก </p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 46335เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน พี่มนัส  เสียงก้อง

  • รออ่านบันทึกของพี่อยู่ครับ
  • บันทึกได้ยอดเยี่ยมมากครับ เขียนบันทึกต่อไปนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท