คราบกัดกร่อนแบบรูเข็ม บนผิวเครื่องมือจ่ายกลาง


การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (pitting corrosion) พบเห็นได้บ่อยในเครื่องมือสแตเลส ที่ส่งล้างยังหน่วยจ่ายกลาง สาเหตุหลักๆ เกิดจาก

1.การขัดถูเครื่องมือไม่ถูกวิธี ใช้วัสดุถู (แปรงถู) ที่แข็ง ถูลงบนเครื่องมือสแตนเลส

2.คราบสกปรกปกคลุมผิวเครื่องมือ

โดยมีปัจจัยเสริม คือ คุณภาพน้ำที่นำมาล้าง มีสารคลอไรด์ ผสมอยู่ (ธาตุหมู่ที่ 7 เช่น ฟลูออไรด์ คลอไรด์ โบร์ไมด์ ไอโอไดด์ หรือซัลเฟต (sulphate))

ปัจจัยเสริมอีกอย่างหนึ่งคือ ภายในรูที่ผิวเครื่องมือ มีน้ำขังอยู่ (เปียก) ทำให้ออกซิเจนเข้าไปไม่ถึง ทำให้ผิวสแตนเลสสร้าง passive film ได้ลดลง (passive film คือ CrO2 มีหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนของสแตนเลส ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากส่วนผสมของสแตนเลส)

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิด ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี บนผิวเครื่องมือ (เกิดขั่วแอนโนด , แคทโนด) ทำให้เหล็กกล้า (Fe) ที่ผสมอยู่ในเนื้อสแตนเลส สูญเสียไป เนื้อสแตนเลสจะผุกร่อน

การแก้ไขและป้องกัน

1.รักษา passive film เอาไว้ อันนี้สำคัญจริงๆ ต้องถูล้างผิดวิธี ไม่ใช้แปรง โลหะขัดถู , ป้องกันเครื่องมือกระแทกกัน หลังการใช้งาน และระหว่างส่งล้าง+ล้างที่จ่ายกลาง , หลังล้างเครื่องมือเสร็จแล้ว ควรพักเครื่องมือสัก 1 วัน อย่า pack และ sterile เลย ตามตำราบอกไว้ว่าโครเมี่ยม จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เกิดเป็น passive film บนผิวเครื่องมือ ใช้เวลา 1 วัน ต้องรอเวลาให้เกิด passive film ก่อน

2.แก้ไขที่น้ำ ที่นำมาล้าง ลดคลอไรด์ ลงให้ได้ ตามมาตรฐาน AAMI TIR 34;2007 บอกไว้ว่าน้ำที่นำมาล้างเครื่องมือ มี chloride <1 mg/l (ที่ รพร.ฉวาง ส่งตรวจน้ำที่นำมาล้างเครื่องมือ มีค่า chloride 3.6 - 4.1 mg/l เรื่องน้ำก็ปัญหาใหญ่ แก้ยากจริงๆ

3.หลังล้างต้องทำเครื่องมือให้แห้งสนิท ในรูจะชื้น มีน้ำอยู่ จะเป็นเกราะป้องกันออกซิเจน ไม่ให้ทำปฏิกิริยากับโครเมี่ยม จะเร่งการผุกร่อนมากขึ้น

กรณีล้างเครื่องมือด้วยมือ เมื่อล้างถาดเครื่องมือ หลังล้างเสร็จจะตะแคงถาดเรียงกัน ถาดมักจะไม่เกิดการกัดกร่อนแบบรู เพราะแรงดึงดูดของโลก ดึงดูดน้ำจากการตะแคงถาด ทำให้ถาดแห้งเร็วขึ้น กระบวนการง่ายๆ ตามวิธีธรรมชาติ แล้วกรรไกร needle หละ หลังล้าง นอนยาวเลย ไม่มีตะแคง ฮาๆๆๆๆ

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 462991เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2011 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2016 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นความรู้ที่มีคุณค่ามากมาย  สำหรับคนเบื้องหลังอย่างหน่วยจ่ายกลาง

ขอบคุณบันทึกดีดี...

หวังว่าเรื่องราวดีดีจะมีขึ้นในบันทึกอีกเรื่อยๆ...นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท