เลี้ยงลูกไม่ได้เรียกว่า....แบบสองมาตรฐาน


ครูอ้อย มีลูกสาว 4 คน  ออกเรือนไปแล้ว และมีหลานน้อยวัย ขวบครึ่ง 1คน ส่วนลูกสาวคนที่สองของครูอ้อย  ยังไม่ออกเรือน  แต่ออกรถ  จึงมีเรื่องเล่าเช้านี้

น้องเอส  ทำงานแล้ว  เป็นอาจารย์ในโรงเรียนมัธยมชื่อดังแห่งหนึ่ง ใน กทม.การมีรถ ตั้งแต่เริ่มทำงาน  จึงทำให้เกิดแนวความคิด 2 ด้าน ทั้งทางลบ และบวก

ครูอ้อย เลี้ยงลูกแบบตามใจ แต่มีเหตุผล  มีความเป็นไปได้ แต่ไม่เสียหาย  ดังนั้น  การออกรถให้ลูกได้ใช้ครั้งนี้  ครูอ้อยมีส่วนช่วยเธอครึ่งหนึ่ง  แต่ต่อจากนี้ไป.....เธอจ่ายเอง

เหมือนครูอ้อยได้ช่วยเธอในระยะ ดาวน์ เท่านั้น ลำพังเงินเดือน ข้าราชการครูบรรจุใหม่ เพียง เจ็ดแปดพัน ผ่อนรถ ก็หมดแล้ว ค่าน้ำมัน ค่าขนม แต่งตัว....จะเอาที่ไหนมาใช้

ในระยะแรกนี้ ครูอ้อยส่งให้เธอเดือนละ สามพัน  ได้สองเดือน เธอก็ลดลง เพียงสองพัน

ทุกวันนี้  เธออยู่กับคุณตา  เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา  ครูอ้อย  ได้รับรายงานจากคุณตาคุณยายว่า.....กลับบ้านตั้งแต่ สี่โมงครึ่ง  ขนข้อสอบ และการบ้านนักเรียนมาตรวจมากมาย

การไปไหนมาไหน นอกเหนือจากการไปทำงาน ก็อาศัยรถคุณแม่น้า ไป  ไม่ไปเที่ยวไหนเลย  คงแชทคุยกับเพื่อน ตามสมัย และวัยรุ่นสาว

ดังนั้น  การออกรถให้ลูกได้ใช้  ไม่ได้ ทำให้ครูอ้อยผิดหวังเลย  แต่มาผิดหวังกับความตระหนี่ถี่เหนียวมากเกินไป  ขาดปฏิสัมพันธ์ เพราะ ตั้งแต่ออกรถนี้  ไม่เคยกดโทรศัพท์มาหา  ถ้าจะกดมาหา ก็กดแบบยิงมา...ดูลูกสิ

ครูอ้อย ก็จะปล่อยไปแบบนี้ก่อน  จนกว่า  ถึงเวลาที่เธอต้องการความช่วยเหลืออีกครั้ง  จึงจะบอกกันว่า....สมควร ทำอย่างไร จึงจะน่ารัก

เมื่อเกิดมาเป็น แม่เขา เราก็ต้องเสียสละ  และเป็นผู้ให้  ด้วยความรัก ความเมตตา  ความปรารถนาดี  แต่ต้องตั้งอยู่บนความถูกต้อง เหมาะสม

ครูอ้อย ไม่ได้ตั้งมาตรฐานให้ลูก  เพราะมาตรฐานของครูอ้อยที่ขีดไว้ มันคนละมาตรฐานกันเลยกับของเธอ.....แต่ไม่ได้เรียกว่า  สองมาตรฐาน  นะ

มีอะไรตั้งหลายอย่าง  ที่ครูอ้อยต้องการให้ลูกทำ  และลูกไปทำ เรื่องที่ครูอ้อยไม่ได้ตั้งใจ  อาจจะเพราะ เราเกิดมาคนละสมัย และครูอ้อย ก็ปล่อยให้ลูกคิดเอง  ทำเอง  ทำไม่ได้จึง กระโดดเข้าเป็นที่ปรึกษา

จะคิดว่า เลี้ยงลูกได้สำเร็จ ตามที่คิดไว้หรือไม่.....ก็ตอบไม่ได้อีก  เพราะ  ลูกเขามีชีวิต  ที่ขีดเขียนมาแบบนั้น  เราไปเปลี่ยน ไปกำหนด ไม่ได้เลย

คนเป็นแม่ ทุกคน คงเข้าใจ

*****

หมายเลขบันทึก: 462659เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2011 06:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • เคยอ่านแต่เรื่อง ผู้นำการเปลี่ยนแปลง จริง ๆ แล้ว น่าจะมี เรื่อง ครอบครัวแห่งการเปลี่ยนแปลงดูบ้างนะคะ พี่ครูอ้อย...เพราะโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปเยอะเลยค่ะ พ่อ - แม่ ก็ต้องปรับตัวไปตามบริบทของลูก ๆ ด้วย เนื่องจากสภาพเหตุการณ์ในแต่ละยุคแต่ละสมัยไม่เหมือนกันเลยค่ะ
  • ตอนลูกของน้องเรียนอยู่ ป.ตรี ก็ใช้ระบบการใช้โทรศัพท์มือถือ แบบกดเข้ามาหาโทรศัพท์แม่ แต่ไม่พูดนะคะ แล้วให้แม่โทร กลับ แต่พอเรียน ป.โท แล้ว ดีขึ้นค่ะ โทรมาเพื่อพูดคุยกับแม่ได้...ไม่กดเข้ามาเหมือนเช่นแต่ก่อนค่ะ...เขาคงรู้ตัวมังค่ะ เพราะน้องเคยว่า โทรมาคุยกับแม่ไม่ได้ แต่ถ้าคุยกับเพื่อน กับสาว ล่ะคุยได้...555555...

เข้าใจความรู้สึกของคนเป็นพ่อเป็นแม่ได้ดี  แต่บางครั้งก็ต่างมุมมองกันเลยทำ

ให้ความคิดไม่ตรงกัน.....

ขนาดคุณพ่อบ้านยังเป็นเลยค่ะ  เขาซื้อเครื่องเสียงและทีวีใหม่ครบชุดเข้าไป

ติดตั้งให้ในห้องนอนลูก  พอเย็นมาลูกกลับจากที่ทำงานไม่ได้ขอบคุณพ่อ.....

แค่นี่เองน้อยอกน้อยใจจนต้องรีบทำหน้าที่เป็นคนกลางที่ดี เฮ้อ...


แม่...คือผู้ให้ไม่สิ้นสุด           ไม่เคยหยุดการให้จิตใจสูง

แม่ประคับประคองป้องพยุง    แม่ผดุงอุ้มชูลูกทุกเวลา

สวัสดีค่ะพี่ครูอ้อย หนูไม่ได้เข้ามาเสียนาน พี่ครูอ้อยสบายดีนะคะ

อ่านบันทึกพี่ครูอ้อยแล้วเห็นภาพ คุณแม่ นอกจากจะเป็นผู้ให้ ผู้ดูแล ยังต้องเป็นนักจิตวิทยาประจำครอบครัว ที่รู้ว่าใครต้องการอะไร และทำอย่างไรให้ทุกคนพอใจอีกด้วย

ขอบคุณน้องมากๆๆ ขออภัย ที่ตอบช้า

Ico48

สวัสดีค่ะ ครูกีร์ เพื่อนรัก

Ico48

ครูอ้อย ก็เคยรู้สึกแบบนี้ แต่เดี๋ยวนี้  ไม่แล้ว  ทำใจได้ตั้งมากแล้ว ขอบคุณมากค่ะ

+ สวัสดีค่ะ...พี่ครูอ้อย

"จึงจะบอกกันว่า....สมควร ทำอย่างไร จึงจะน่ารัก"

+ นี่ละค่ะ คือ ภาระใหญ่ของพ่อแม่ในยุคนี้เลยค่ะ

ใช่ค่ะ  น้อง 

Ico48

สบายดีนะคะ  ขอบคุณมากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท