farm@kasetpibul
งานฟาร์ม คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ม ราชภัฏพิบูลสงคราม

ระบบการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสาน


ปลูกพืชเลี้ยงปลาแบบเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

การเกษตรวิถีประมง

ระบบการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสาน

(Aquaponics Sytem) 

 
 
 

     อควาโปนิกส์ (Aquaponics) คือ ระบบของการเลี้ยงสัตว์น้ำและการปลูกพืชเข้าด้วยกัน  โดยการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียนร่วมกับการปลูกพืชผักหรือพืชอื่นๆด้วยระบบไฮโดรโปรนิกส์ ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดขั้นสูงอีกระดับหนึ่ง เพื่อให้เกิดต้นแบบการผลิตอาหารแบบยั่งยืนสำหรับผู้บริโภค โดยยึดหลักการดังนี้

               1.การนำผลิตภัณฑ์ของเสียจากระบบชีววิทยาชนิดหนึ่ง สามารถผลิตสารอาหารให้ระบบชีววิทยาอีกชนิดหนึ่งได้อย่างเหมาะสม

               2.การรวมระบบนิเวศแบบเกื้อกูลกัน เพื่อการผลิตพืชและการเลี้ยงปลาให้ได้ผลผลิตแบบหลากหลาย  ซึ่งจะเพิ่มความหลากหลายและได้ผลผลิตอย่างมีภูมิคุ้มกัน

               3.มีกระบวนการนำเอาน้ำผ่านการกรองทางชีวะวิธี แล้วนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำอีก

               4.เป็นการผลิตอาหารที่ปลอดภัยปราศจากสารเคมีสู่ผู้บริโภค ช่วยยกระดับความสมดุลทางธรรมชาติและทางเศรษฐกิจเพิ่มรายได้ให้แก่ท้องถิ่นอีกระดับหนึ่ง

     ระบบอควาโปนิกส์ เป็นการนำเอาน้ำที่ออกจากการเลี้ยงปลาที่มีความอุดมไปด้วยธาตุอาหารพืช ซึ่งได้จากสิ่งปฏิกูลของปลา นำมาใช้เป็นธาตุอาหารร่วมกับระบบการปลูกพืชแบบไฮโดรโปรนิกส์ ซึ่งการปฏิบัติในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ดีสำหรับปลา เพราะรากพืชและจุลินทรีย์ที่อยู่บริเวณรากพืช จะใช้ธาตุอาหารเหล่านี้จากน้ำในถังเลี้ยงปลา ธาตุอาหารเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีการผสมผสานกันที่หลากหลายชนิดจากสิ่งปฏิกูลของปลา เช่นสาหร่ายที่เกิดตามธรรมชาติในกระบวนการและการย่อยสลายของอาหารปลาที่ปลากินไม่หมด ซึ่งสิ่งปนเปื้อนเหล่านี้สามารถปรับความสมดุลจากพิษที่รุนแรงในถังเลี้ยงปลา กลับมีผลย้อนเป็นธาตุอาหารหรับการปลูกพืชแบบไฮโดโปรนิกส์ได้อีก รางปลูกพืชไฮโดรโปรนิกส์ทำหน้าที่เป็นระบบกรองแบบชีวะวิธี ซึ่งจะเปลี่ยนสารประกอบพวกแอมโมเนียให้กลายเป็นสารประกอบพวกไนไตรท์และไนเตรทตามลำดับ รวมถึงสารประกอบในกลุ่มพวกฟอสฟอรัส ทำให้น้ำมีความสะอาดเพียงพอซึ่งจะถูกนำกลับมาใช้ในถังเลี้ยงปลา นอกจากนั้นยังพบว่าบักเตรีบางชนิด เช่น Nitrifying bacteria ที่เปลี่ยนแอมโมเนีย (NH3X) เป็นไนไตร์ (Nitrie) และไนเตรท (Nitrate) ที่อาศัยอยู่ในส่วนอื่นๆรวมถึงรากพืช ซึ่งเป็นวัฎจักรอาหาร ในกลุ่มของไนโตรเจนได้  ถ้าปราศจุลินทรีย์เหล่านี้ระบบทั้งหมดจะหยุดทำงานทันที

               ระบบ Hydroponics ควรมีค่า TDS ที่ 1000- 1500 ส่วนในพัน หรือ EC 1.5 – 3.5 mmho/cm แล้วแต่ชนิดของพืช ส่วนในระบบ Aquaponics ควรมีระดับ TDS 200-400 ส่วนในพัน หรือ EC 0.3-0.6 ความน่าจะเป็นนี้ควรมีอัตราส่วนที่สม่ำเสมอกับจำนวนต้นพืช หากระดับของสารอาหารพืชสะสมในระดับที่เข้มข้นมาก ปลูกพืชน้อยไป หรือไม่ค่อยเปลี่ยนน้ำจะมีค่า TDS มากกว่า 2000 หรือค่า EC มากว่า 3.5 อาจเป็นพิษต่อพืชได้ และก็อาจเป็นพิษต่อปลาได้ 

หมายเหตุ  เรียบเรียงเอกสารเพื่อทดลองทดสอบหาวิธีการต้นแบบภูมิปัญญาเพื่อขยายผล

เอกสารอ้างอิง

ดร.ราเชนทร์ วิสุทธิแพทย์, ฝ่ายเทคโนโลยีชีวภาพสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

                                                                                                                        ณัฐพงษ์ พรดอนก่อ  21/9/2554

หมายเลขบันทึก: 462364เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2011 07:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท