chacha2907
ฝ่ายอำนวยการ สพจ.ปทุมธานี CDD Pathum thani

บ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือ หมู่ที่ ๒


บ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือ

ประวัติความเป็นมาของชุมชน/อาณาเขต/ขนาดพื้นที่/สภาพภูมิศาสตร์เดิมเป็นชาวมอญที่อพยพมาจากถิ่นอื่นเมื่อร้อยกว่าปี มาตามลำน้ำเจ้าพระยา และมาตั้งถิ่นฐานที่     ปากคลองชื่อว่าคลองบางโพธิ์เหนือเป็นกลุ่มมีบ้านรวมกันหลาย ๆ หลัง ได้ตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือ” ตามชื่อคลองส่งน้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้าน
  บ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือ มีพื้นที่   จำนวน   600   ไร่     อาณาเขตติดต่อ ดังนี้ทิศเหนือ จด หมู่ที่ 1 ตำบลบางโพธิ์เหนือทิศใต้ จด เขตเทศบาลตำบลบางปรอกทิศตะวันออก จด แม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตก จด หมู่ที่  3  ตำบลบางโพธิ์เหนือ
  สภาพภูมิศาสตร์     พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาบลุ่มในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมทุกปี มีน้ำทำการเกษตรตลอดปี จึงเป็นแหล่งน้ำสมบูรณ์เหมาะสำหรับเป็นพื้นที่เกษตรกรรมเพาะปลูก ทำสวน ทำนา สภาพดินร่วนซุย มีคลองและแม่น้ำไหลผ่าน            สภาพดินฟ้าอากาศ เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู และอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไป เศรษฐกิจโดยรวมของหมู่บ้าน เป็นลักษณะเศรษฐกิจพอเพียง  มีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน  ระหว่างการทำนา  การทำสวนผลไม้ การทำสวนผัก  การเลี้ยงปลาในบ่อ  ในร่องสวน  และรับจ้างทั่วไป
1.2 การคมนาคมและระบบสาธารณูปโภค  คมนาคม o ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 1 สายo ถนนลาดยาง จำนวน 1 สายo ถนนลูกรัง จำนวน 1 สายo ถนนดิน จำนวน 1 สาย
  แหล่งน้ำo ประปาหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่งo แม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 1 สายo คลองบางโพธิ์ จำนวน 1 สายo คลองบางนา จำนวน 1 สายo   การไฟฟ้า มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน

1.3 ประชากร/สภาพทางเศรษฐกิจ/รายได้เฉลี่ย
  จำนวนครัวเรือนและประชากร จำนวนครัวเรือน 106 ครัวเรือน จำนวนประชากร 291   คน แยกเป็น ชาย 148   คน หญิง 143 คน   สภาพทางเศรษฐกิจ  ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 88,766.32    บาท
1.4 ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้ตาล/ยางรถยนต์ นายสมร  ร่วมทรัพย์ บ้านเลขที่ 53/2 หมู่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี


การทำเบเกอรี่ นางชิดชนก แป้งนุช บ้านเลขที่ 53/2 หมู่ที่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอ  สามโคก จังหวัดปทุมธานี

การทำขนมไทย นางละเอียด  เปรมปรี  บ้านเลขที่ 50  หมู่ที่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

น้ำพริกรสเด็ด นางนงเยาว์  จั่นทอง บ้านเลขที่ 45/4 หมู่ที่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

การทำปุ๋ยอัดเม็ด ปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพ นายพินิจ  ผุดผ่อง  บ้านเลขที่ 9/1 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี


กลุ่มการคัดแยกขยะ นายบุญรุ้ง  พันสาย  บ้านเลขที่ 23/7 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี


1.5 ศาสนา และประเพณีวัฒนธรรม

ประชาชนในหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ  ประเพณีที่ถือเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น  คือประเพณีทำบุญตักบาตรเข้าพรรษาและออกพรรษา ประเพณีการตักบาตรพระร้อย เป็นเพณีที่ทำในเทศกาลออกพรรษาด้วยการนำอาหารคาว-หวานมาตักบาตร ประเพณีวันสงกรานต์ ร่วมก่อพระทรายและปล่อยนกปล่อยปลา นำน้ำหอมไปสรงน้ำพระขอพรจากพระ ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเพื่อขออวยพรผู้ใหญ่ ตามขนมธรรมเนียมประเพณีที่ได้ยึดถือกระทำกันมา  มีประเพณีและวัฒนธรรมตามเทศกาล ประเพณีวันเด็ก ประเพณีและวัฒนธรรมตามเทศกาลงานสำคัญทางศาสนา และราชพิธีต่าง ๆ ในเดือนมกราคม จะทำบุญขึ้นบ้านใหม่ จะมีการทำบุญตักบาตรที่วัด ปล่อยนก ปล่อยปลา ในเดือน เมษายน จะมีการทำบุญกลางบ้านซึ่งจะทำหลังวันสงกรานต์ของทุก ๆ ปี ตักบาตรในช่วงเช้าและทำบุญศาลเจ้าพ่อในช่วงค่ำ การทำบุญสงกรานต์ จะจัดในวันที่ 16 เมษายน ของทุกปี โดยตอนเย็นจะมีการขนทรายเข้าวัดและก่อกองทราย เช้าทำบุญตักบาตรที่วัดและรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และร่วมฉลองสงกรานต์ด้วยกิจกรรมบันเทิงมากมายและมีการกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาส ขณะกวนก็จะมีการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน
  ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ที่ องค์ความรู้ ชื่อ – สกุล ที่อยู่1 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ นายพินิจ  ผุดผ่อง บ้านเลขที่ 9/1 หมู่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ2 ด้านศาสนา/วัฒนธรรม นายสุดใจ  ผุดผ่อง บ้านเลขที่ 33/6 หมู่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ3 การเลี้ยงกบ นายสำอาง  เปรมปรีดิ์ บ้านเลขที่  50/3 หมู่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ4 การทำน้ำพริก นางนงเยาว์  จั่นทอง บ้านเลขที่ 45/4 หมู่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ5 การทำขนมอบ นางชิดชนก  แป้งนุช บ้านเลขที่ 53/2 หมู่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ6 การแปรรูปยางรถยนต์/ไม้ตาล นายสมร  ร่วมทรัพย์ บ้านเลขที่ 53/2 หมู่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ7 การทำขนมไทย นางละเอียด  เปรมปรี บ้านเลขที่ 50  หมู่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ8 การจักสาน นายสมจิตต์  ผุดผ่อง บ้านเลขที่  9/1 หมู่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ
1.6 อัตลักษณ์  ของบ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ  คือ    การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง   การส่งเสริมอาชีพเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
1.7 ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน
1 นายพินิจ  ผุดผ่อง ตำแหน่ง ประธาน2 นายสุดใจ  ผุดผ่อง ตำแหน่ง รองประธาน3 นายบุญซี  พวงผล ตำแหน่ง รองประธาน4 นายลิ้นจี่  พวงผล ตำแหน่ง เลขานุการ5 นายสัมพันธ์  ผุดผ่อง ตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการ6 นางสมศักดิ์  บัวใบ ตำแหน่ง เหรัญญิก7 นายละเอียด  เปรมปรี ตำแหน่ง ผู้ช่วยเหรัญญิก8 นางสาวประไพ  ขันทอง ตำแหน่ง กรรมการ9 นางสมร  พวงกุหลาบ ตำแหน่ง กรรมการ10 นางศิรประภา  สุขพรแจ่ม ตำแหน่ง กรรมการ11 นายบรรจง  ทับคำหอม ตำแหน่ง กรรมการ12 นางสัมพันธ์  หุ่นดี ตำแหน่ง กรรมการ13 นายบุญรุ้ง  พันสาย ตำแหน่ง กรรมการ14 นางสาวระเบียบ  ทองใบ ตำแหน่ง กรรมการ15 นางรมิตา  พานิชการ ตำแหน่ง กรรมการ16 นายประมวล  ทองประดิษฐ์ ตำแหน่ง กรรมการ17 นางสุรนทร์  ชอบช่าง ตำแหน่ง กรรมการ18 นางสาวละออง  เมืองฉิม ตำแหน่ง กรรมการ19 นายสมพงษ์  บุญพลอย ตำแหน่ง กรรมการ20 นางวรรณา  ชุบศรี ตำแหน่ง กรรมการ21 นางนงเยาว์  จั่นทอง ตำแหน่ง กรรมการ22 นายสมพงษ์  บัวใบ ตำแหน่ง กรรมการ23 นายบุญเลิศ  สงบ ตำแหน่ง กรรมการ24 นายสมศักดิ์  เจริญรอด ตำแหน่ง กรรมการ25 นางสำอาง  ทิมปุ๋ย ตำแหน่ง กรรมการ26 นายสมร  ร่วมทรัพย์ ตำแหน่ง กรรมการ27 นางสำอาง  เปรมปรี ตำแหน่ง กรรมการ28 นางชิดชนก  แป้งนุช ตำแหน่ง กรรมการ

1.8 กองทุนในหมู่บ้าน 1. กองทุนหมู่บ้าน งบประมาณ 1,000,000  บาท 2. กองทุนแม่ของแผ่นดิน งบประมาณ       8,000  บาท 3. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต งบประมาณ   570,000  บาท

ส่วนที่ 2ประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้าน

2.1 ผลการสำรวจข้อมูล จปฐ. และข้อมูล กชช.2ค ในระดับหมู่บ้าน o ผลการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี 2554 ของบ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ปรากฎว่า ไม่มีตัวชี้วัด จปฐ. ที่ไม่บรรลุเป้าหมาย o ผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค) ประจำปี 2554  ของบ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดตามระดับปัญหา เป็นดังนี้  ตัวชี้วัดที่มีปัญหามาก(ระดับคะแนน 1) ตัวชี้วัดที่มีปัญหาปานกลาง(ระดับคะแนน 2) ตัวชี้วัดที่มีปัญหาน้อย(ระดับคะแนน 3)1) ผลผลิตจาการทำนา2) ผลผลิตจาการทำไร่3) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชน 1) การติดต่อสื่อสาร2) การทำงานในสถานประกอบการ3) ผลผลิตจาการทำเกษตรอื่น ๆ 4) การกีฬา5) การปลอดยาเสพติด6) การใช้ประโยชน์ที่ดิน 1) ถนน2) น้ำดื่ม3) น้ำใช้4) น้ำเพื่อการเกษตร5) ไฟฟ้า6) การมีที่ดินทำกิน7) การมีงานทำ8) ความปลอดภัยในการทำงาน9) การป้องกันโรคติดต่อ10) ระดับการศึกษาของประชาชน11) การได้รับการศึกษา12) การเรียนรู้โดยชุมชน13) การได้รับความคุ้มครองทางสังคม14) การมีส่วนร่วมของประชาชน15) การรวมกลุ่มของประชาชน16) คุณภาพดิน17) คุณภาพน้ำ18) การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อม

2.2 สรุปภาพรวมของการพัฒนาหมู่บ้านจากการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี 2554 ของบ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ปรากฎว่า ไม่มีตัวชี้วัด จปฐ. ที่ไม่บรรลุเป้าหมาย ครัวเรือนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีสุข ซึ่งประชาชนดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค) ประจำปี 2554  ของบ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ปรากฎว่า บ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือ เป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาระดับ 3 และมีตัวชี้วัดตามระดับปัญหามาก เป็นดังนี้ ตัวชี้วัด ข้อที่ 10 ผลผลิตจาการทำนา เนื่องจากดินเสื่อมสภาพ ต้นทุนในการผลิตสูงขั้น ขาดการส่งเสริมเรื่องการใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และพัฒนาคุณภาพ รวมทั้งผลผลิตทางเกษตรให้ได้มาตรฐาน ตัวชี้วัด ข้อที่ 11 ผลผลิตจาการทำไร่ เนื่องจากดินเสื่อมสภาพ ต้นทุนในการผลิตสูงขั้น ขาดการส่งเสริมเรื่องการใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และพัฒนาคุณภาพ รวมทั้งผลผลิตทางเกษตรให้ได้มาตรฐาน ตัวชี้วัด ข้อที่ 26 การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชน เนื่องจากบ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือเป็นชุมชนชนบทกึ่งเมืองประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างตามโรงเรียนอุตสาหกรรม จึงไม่ค่อยได้ให้ความสนใจในการทำกิจกรรมของหมู่บ้าน/ชุมชน ไม่รู้ว่าหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเองมีแหล่งเงินทุนของชุมชนด้านใดบ้าง ขาดการประชาสัมพันธ์ และเงินทุนไม่เพียงพอที่จะให้บริการ บางครั้งจึงไปใช้บริการของธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุนมากกว่า

ส่วนที่ 3แนวโน้มทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน

3.1 การวิเคราะห์ศักยภาพของหมู่บ้าน (การวิเคราะห์ SWOT)  จุดแข็งของชุมชน (S=STRENGTH) คือ ปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็งของชุมชน1. มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง2. มีการรวมกลุ่ม เช่น กลุ่มอาชีพ องค์กรสตรี อาสาสมัครต่าง ๆ3. มีการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง4. คนในชุมชนมีความสามัคคี เคารพนับถือซึ่งกันและกัน5. มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ 6. มีการจัดเวรยามโดย อปพร. ในการดูแลความปลอดภัยในหมู่บ้าน7. มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์   จุดอ่อนของชุมชน (W=WEADNESS) คือ ปัจจัยภายในที่เป็นจุดอ่อนของชุมชน1. ประชาชนขาดความรู้ในเรื่องการประกอบอาชีพ2. ประชาชนไม่มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้3. ประชาชนมีรายได้น้อยไม่เพียงพอกับรายจ่าย4. ประชาชนขาดความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกต้อง ไม่ให้ความสำคัญในการออกกำลังกาย 5. มีวัชพืชในแม่น้ำลำคลอง 6 ปัญหายาเสพติด ประชาชนบางส่วนยังเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งที่รู้เรื่องโทษภัยของยาเสพติด                     7. ประชาชนเคยชินกับการพึ่งพาผู้นำและหน่วยงานราชการ8. กองทุนในหมู่บ้านเติบโตช้า และไม่ขยายผลครอบคลุมทั้งหมู่บ้าน ทำให้สมาชิกในหมู่บ้านขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน   โอกาส (O=OPPRTUNTU) คือ ปัจจัยภายนอกที่เป็นจุดแข็งของชุมขน 1. การประสานงานและความร่วมมือที่ดีระหว่างหน่วยงานราชการในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ 2. กระแสการตื่นตัวในการดูแลสุขภาพของประชาชน  3. พื้นที่ตั้งอยู่ในเขตปริมณฑล มีการคมนาคมสะดวกสามารถรองรับและการกระจายความเจริญในทุกด้าน 4. ทิศทางการพัฒนาประเทศและนโยบายของรัฐบาล 5. นโยบายการสงเคราะห์เด็ก สตรี ผู้สูงอายุและ ผู้พิการ 6. กระแสการตื่นตัวในการดูแลสุขภาพของประชาชน 7. พื้นที่ตั้งอยู่ในเขตปริมณฑล มีการคมนาคมสะดวกสามารถรองรับและการกระจายความเจริญในทุกด้าน8. มีหน่วยงานที่ส่งเสริม/สนับสนุนให้มีการคัดแยกขยะก่อนทำลาย  อุปสรรค (T=THREAT) คือ ปัจจัยภายนอกที่เป็นจุดอ่อนของชุมชน 1. ปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม จึงทำให้ประสบปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน2. ไฟทางสาธารณะไม่เพียงพอ การเดินทางสัญจรในเวลากลางคืนไม่สะดวก เนื่องจากยังขาดไฟทางสาธารณะซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายในชีวิตและทรัพย์สิน 3. การขยายตัวของเมืองใหญ่ ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงอาจจะก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา 4. ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ
3.2 แนวทางแก้ไขปัญหา จากการวิเคราะห์ศักยภาพของหมู่บ้าน (การวิเคราะห์ SWOT) ได้กำหนดกิจกรรม/โครงการ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน ดังนี้  ด้านเศรษฐกิจ 1. โครงการตู้ผลิตน้ำดื่มเอนกประสงค์ 2. โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ 3. โครงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร 4. โครงการส่งเสริมครัวเรือนให้ดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ส่งเสริมการออม การจัดทำบัญชีครัวเรือน  5. โครงการส่งเสริมกิจกรรมการประหยัดพลังงาน 6. โครงการฝึกอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ 7. โครงการป้องกัน/กำจัดโรคระบาดของพืชทางการเกษตร  ด้านสังคม 1. โครงการจัดซื้อเครื่องวัดความดัน/เครื่องตรวจเบาหวาน/เครื่องช่างน้ำหนัก/สายวัดรอบเอว 2. โครงการส่งเสริมประเพณีเต้นเจ้าปู่จุ้ย 3. โครงการส่งเสริมการทำนา (กล้าโยน) 4. โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1. โครงการติดตั้งบ่อดักไขมันในครัวเรือน 2. โครงการจัดตั้งธนาคารขยะ 3. โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในหมู่บ้าน เช่น การขุดลอดคูคลอง  ด้านความมั่นคงและสงบเรียบร้อย 1. โครงการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 2. โครงการลด ละ เลิก อบายมุข 3. โครงการส่งเสริมเยาวชนเล่นกีฬาต้านยาเสพติด 4. โครงการเฝ้าระวังและหาข่าวสารการแพร่ระบาดของยาเสพติด  ด้านบริหารจัดการ 1. โครงการก่อสร้างถนน คสล. เลียบคลองบางโพธิ์เหนือ 2. โครงการก่อสร้างท่อระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม 3. โครงการสร้างประตูน้ำกั้นคลองบางโพธิ์ 4. โครงการซ่อมและสร้างถนน/สะพานเข้าหมู่บ้าน 5. โครงการขยายเขตไฟฟ้า/ประปา

ส่วนที่ 4 รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (VDR)

4.1 ภาพรวมผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดกิจกรรมยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2554 โดยมีเป้าหมาย “ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนพึ่งตนเอง และครอบครัวมีคุณภาพชีวิตดีมีความสุข” โดยส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และยกระดับการส่งเสริมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป็นโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิม      พระเกียรติ 84 พรรษา  ซึ่งจากผลการพัฒนาหมู่บ้านในรอบปีที่ผ่านมา บ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือได้รับการประเมินให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับ “มั่งมี ศรีสุข” และได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้  1. โครงการปลูกกล้วยหอมทองเกษตรอินทรีย์ งบประมาณ 250,000  บาท 2. โครงการการฟื้นฟูแกนนำ/การอบรมประชาธิปไตย งบประมาณ  20,000  บาท 3. การฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วม งบประมาณ 380,000  บาท 4. โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ งบประมาณ 130,320  บาท 5. โครงการฝึกอาชีพ งบประมาณ   20,000  บาท 6. โครงการอบรมการทำน้ำยาเอนกประสงค์ งบประมาณ     5,000  บาท 7. โครงการจัดระเบียบชุมชนตามวิถีชีวิตชุมชน งบประมาณ     1,000  บาท4.2 สรุปภาพรวมของหมู่บ้าน/จุดเด่น/จุดด้อย  จุดเด่น บ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือ เป็นหมู่บ้านที่ประชาชนดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงมาตั่งแต่ปี 2550 ได้รับรางวัลเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น ปี 2550 และได้ขยายผลการดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน การบริหารจัดการหมู่บ้านกระทำโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน  ได้รับรางวัลคณะกรรมการหมู่บ้านดีเด่น ปี 2553 ประกอบกับการมีผู้นำที่เข้มแข็ง (นายพินิจ  ผุดผ่อง) มีหัวใจของนักพัฒนา ประชาชนในหมู่บ้านให้การมีส่วนร่วม มีปราชญ์ชุมชนและมีกลุ่มอาชีพที่ทำให้ประชาชนมีรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพหลัก มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือ ซึ่งมีจุดเรียนรู้ที่สามารถศึกษาดูงานได้ เช่น กลุ่มการทำน้ำพริก กลุ่มการผลิตปุ๋ยอินทร์ ชีวภาพ กลุ่มการคัดแยกขยะ กลุ่มการแปรรูปยางรถยนต์/ไม้ตาล และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีของชุมชน จากองค์ประกอบที่กล่าวมาข้างต้น ถือได้ว่า เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ และครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุข ตามวิสัยทัศน์ คือ “ชุมชนเข้มแข็ง มีแหล่งเรียนรู้ เชิดชูวัฒนธรรม/ประเพณี สิ่งแวดล้อมดีและยั่งยืน  ยึดถือวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง”เป้าหมาย ได้แก่1. เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้2. เพื่อให้ประชาชนมีความรัก ความหวงแหน ในวัฒนธรรม ประเพณี ของท้องถิ่น 3. เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเอง ช่วยเหลือตนเอง ในการแก้ไขปัญหาส่วนตัว และส่วนรวมได้4. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีความรัก และความสามัคคี เกิดการรวมกลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนา ได้แก่1. ส่งเสริมและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกครัวเรือน 2. ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในหมู่บ้านให้สะอาด น่าอยู่ 3. ส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4. ส่งเสริม/สนับสนุนการศึกษา การเรียนรู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ  5. ส่งเสริมกิจกรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 6. ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อเป็นรายได้เสริมเพิ่มรายได้ 7. ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนาธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น 8. เสริมสร้างความสามัคคี สมานฉันท์ ในชุมชน  จุดด้อยบ้านปากคลองบางโพธิ์เหนือ มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา จึงทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังเกือบทั้งปี เวลาทำการเกษตรมักจะถูกน้ำท่วมก่อนที่จะได้เก็บผลผลิต

หมายเลขบันทึก: 461583เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2011 18:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาส่งความสุขด้วยปฏิทินชุด "รอยยิ้มของพ่อ" ค่ะ

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/471969

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท