โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

แผนการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการให้นักเรียนเกิดความฉลาดทางสุขภาวะ อ.สลิษา เอี้ยงแสนเมือง


การรสอนให้ผู้เรียนเกิดความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับการบริโภค

  ดิฉันสอนวิชาภาษาไทยชั้นป.4-6 ได้ทดลองสอนให้ผู้เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่  4  มีความฉลาดทางสุขภาวะ  health  literacy  : HLเพราะเล็งเห็นว่า  การบริโภคของนักเรียนไม่ค่อยถูกสุขลักษณะ  นักเรียนส่วนมากไม่ชอบทานผัก  บางคนก็ไม่ดื่มนม  กลับชอบรับประทานอาหารฟาสฟู๊ด  นำอัดลม  ขนมหวานต่างๆ เมื่อท่านผู้อำนวยการนำโครงการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะของเด็กและเยาวชนมาอบรมให้คณะครูในโรงเรียนได้รับทราบ ดิฉันจึงได้ทดลองสอน  โดยนำเข้าไปในสาระการอ่าน  การเขียน  การฟังการดูและพูด  โดยปฏิบัติตามขั้นตอนคือ  จัดทำคำอธิบายรายวิชา  เขียนโครงสร้าง จัดทำหน่วยการเรียนรู้  และนำไปสู่แผนการจัดการเรียนรู้  และได้บรรจุแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีความฉลาดทางสุขภาวะลงไปในหน่วยการเรียนรู้ที่  23  ธรรมชาตินี้มีคุณ   มีจำนวนชั่วโมงปกติ  10  ชั่วโมง  สอดแทรกลงไป  4  ชั่วโมง 

        ชั่วโมงที่  1  ให้นักเรียนอ่านบทความเรื่อง  "ระวัง!  อาหารทำให้คุณขาดนำ" (ใจความสำคัญในบทความจะเน้นให้เห็นถึงโทษของการดื่มนำอัดลมเพื่อแก้กระหายว่าเป็นอย่างไร  มีผลเสียอย่างไรต่อสุขภาพ  การกินเนื้อสัตว์ในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้ไตทำงานหนัก ส่วนเครื่องดื่มที่ดีที่สุดก็คือ  นำเปล่า  และการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดคือการออกกำลังกาย) (เป็นการเข้าถึง)  จากนั้นให้ผู้เรียนทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่ม  อันดับแรกคือ  ให้ผู้เรียนในกลุ่มตั้งคำถามและตอบคำถามจากบทความที่อ่าน ทำแบบทดสอบที่ครูเตรียมไว้ (การเข้าใจ) และ(การประเมิน)  และวิพากษ์บทความว่าเป็นจริงมากน้อยเพียงใด(การนำไปใช้) เมื่อวิพากษ์หาข้อสรุปในกลุ่มเสร็จแล้ว  แต่ละกลุ่มนำเสนอข้อสรุปการวิพากษ์บทความเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน(การสื่อสาร) 

        ชั่วโมงที่  2  ศึกษาบทความอีกครั้งหนึ่ง (การเข้าถึง)  ทำ  Mind Map  เพื่อสรุปใจความสำคัญของบทความ  (การเข้าใจ) แต่ละกลุ่มวาดภาพอาหารที่มีประโยชน์  และมีโทษต่อสุขภาพ  แล้วนำไปจัดป้ายนิเทศน์(การประเมิน)จากนั้นให้เขียนเรียงความเล่าประสบการณ์การบริโภคอาหารที่ผ่านมาเป็นรายบุคคล(การนำไปใช้) แล้วนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง (การสื่อสาร)

         ชั่วโมงที่  3  นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม จากผู้ปกครอง  อินเตอร์เน็จ  ผู้รู้  นิตสาร  หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ   (การเข้าถึง)  สรุปความรู้ที่ได้จัดทำเป็นรายงาน  เป็นหนังสือเล่มเล็ก  เป็นแผ่นพับ  หรือเป็นป้ายข้อความ  เพื่อเก็บไว้เป็นหนังสือในห้องเรียน  หรือติดเพื่อเตือนให้ผู้พบเห็นบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเท่านั้น ก็ได้ (การเข้าใจ)  (การประเมินการนำไปใช้และการสื่อสาร)  ทำนอกเวลาเรียนหากทำไม่ทัน

         ชั่วโมงที่  4  จัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการกับทุกกลุ่มสาระในสายชั้นประถมศึกษาปีที่  4  แต่ละห้องเรียนส่งตัวแทนห้องเรียนละ  3  คน  สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนและการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องความฉลาดทางสุขภาวะเรื่องการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ  มาวิพากษ์หาข้อสรุปบนเวทีห้องประชุม  โดยมีครูในสายชั้นเป็นผู้ดูแลและคอยแนะนำ  เลขาของห้องเรียนแต่ละห้องจดบันทึกข้อความที่ได้  แล้วนำมาจัดทำเป็นป้ายนิเทศน์ติดไว้ในสายชั้น

           ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้  จะมีขั้นตอนอยู่ 5 ขั้น  ดังนี้  1.  การเข้าถึง  2.  การเข้าใจ  3.  การประเมิน  4.  การนำไปใช้  และ 5.  การสื่อสาร

 

หมายเลขบันทึก: 461364เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2011 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อธิบายขั้นตอนการสอนได้ละเอียดชัดเจน  เข้าใจง่าย  ขอเป็นกำลังใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท