ชื่นชมทีมงาน


ผลงานของคุณอาฬสาอยู่ในระดับ excellence

คุณตุ๊ก อาฬสา หุตะเจริญ ทีมงานหลักคนหนึ่งของเครือข่ายเบาหวาน นอกจากจะมีความสามารถคิดสร้างสรรค์และนำการทำกิจกรรมใน KM workshop แล้ว ยังมีความสามารถสูงในการถอดเทปคำบรรยาย ได้เนื้อหาอย่างละเอียด ใครอยากจะรู้เทคนิคลองถามได้ที่ [email protected]

ดิฉันเคยเล่าเรื่องปัญหาการถอดเทปการประชุมวิชาการของสมาคมวิจัยสถาบันและพัฒนาอุดมศึกษามาแล้ว (อ่านที่นี่) เพื่อให้ทำการบ้านได้เสร็จทันเวลา ดิฉันจึงได้ขอความช่วยเหลือจากคุณอาฬสา และพบว่าผลงานของคุณอาฬสาอยู่ในระดับ excellence ดิฉันสามารถนำเนื้อหามา edit และจัดทำต้นฉบับ นำส่งไปลง CD เสร็จทันเวลา (แบบจวนเจียน) 

จากประสบการณ์ของตนเอง ดิฉันพบว่าการถอดเทปเป็นการฝึกการฟังอย่างลึกวิธีหนึ่ง เพราะเราต้องมุ่งสมาธิทั้งหมดอยู่กับเนื้อหาที่ได้ยิน ทำความเข้าใจ คิดตามและนึกภาพเหตุการณ์ในขณะนั้นไปด้วย คุณอาฬสามีทักษะการฟังดีเยี่ยม แถมพิมพ์งานได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 46016เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2006 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอขอบพระคุณอย่างสูงในคำชมของอาจารย์วัลลาค่ะ ส่วนเรื่องเทคนิคที่ใช้ในการถอดเทปนั้น - ดิฉันจะเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อม รับประทานอาหาร และพักผ่อนให้พอเพียง เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถถอดเทปได้อย่างมีสมาธิ ไม่วอกแวก และนั่งทำงานได้ยาวนอนพอ - ที่สำคัญจะต้องมี "ดิกชั่นเนอรี่" ฉบับภาษาอังกฤษ-ไทย และฉบับภาษาอังกฤษ-อังกฤษ ไว้ข้างกาย - ขณะถอดเทป ก็ระลึกเสมอว่า สิ่งที่เราฟังและเข้าใจ อาจไม่เหมือนคนอื่นฟังและเข้าใจ การถอดเทปที่ดีคือการถ่ายทอดจากเสียงไปสู่ตัวอักษรบนแผ่นกระดาษ ไม่สรุปตีความด้วยตนเอง - ทุกครั้งที่ได้ยินคำภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ที่ไม่แน่ใจได้ 100% ก็เปิดเทปทวนฟังซ้ำหลายๆ รอบ แล้วเปิด "ดิกชั่นเนอรี่" หากคำใน "ดิกชั่นเนอรี่" ไม่สามารถทำให้แน่ใจได้ 100% ก็ทำสัญญลักษณ์ไว้ที่คำนั้นๆ เช่นทำอักษรสีแดง เพื่อให้ผู้อ่านได้ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือสอบถามผู้พูดได้โดยตรง ไม่คิดเอาเอง หรือเดาคำโดยเด็ดขาด - เมื่อหมดม้วนเทป หรือกลับหน้าเทป มักจะพบว่าบางท่อนของคำพูดนั้นขาดหายไป ซึ่งไม่อาจรู้ได้ว่าคำที่ขาดหายไปมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด แม้ก่อนจะหมดม้วน หรือก่อนจะหมดหน้าเทป อาจเป็นเรื่องที่ฟังแล้วรู้สึกว่าคงไม่สำคัญ ก็ห้ามข้ามคำเหล่านั้นไปโดยไม่ทำเครื่องหมาย โดยพิมพ์ให้ได้จนถึงคำสุดท้าย แล้วทำสัญญลักษณ์ไว้ ด้วยอักษรสีแดง ระบุ "หมดม้วน, หมดหน้าเทป, ฯลฯ" เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้ว่า ยังมีคำพูดบางท่อนที่ขาดหายไป - ดิฉันมีหลักการทำงานว่า learning by doing เป็นหนึ่งในหลายๆ รูปแบบของกระบวนการเรียนรู้ จึงรู้สึกว่างานชิ้นนี้เป็นการพัฒนาการทำงานถอดเทปค่ะ - สุดท้ายก็คือ การประเมินตนเอง ทั้งจากความรู้สึกของตนเอง และจาก "เจ้าของงาน" เพราะ "เจ้าของงาน" เหมือนเป็นกระจกส่อง เพื่อทำให้เรารู้จักผลงานของตนเองมากยิ่งขึ้น ดิฉันจึงเรียนถามอาจารย์วัลลาถึงผลงานด้วย ซึ่งสิ่งที่ต้องปรับปรุงในครั้งต่อไปของดิฉันก็คือ การส่งงานให้ตรงต่อเวลา เพราะครั้งนี้ดิฉันส่งงานล่าช้ามากค่ะ เลยกำหนดนัดส่งมอบงานไปเกือบ 1 สัปดาห์ ขอขอบพระคุณอาจารย์วัลลาที่ให้โอกาสอาฬสาได้ฝึกปฏิบัติสะสมถอดเทปได้มากยิ่งขึ้นค่ะ ด้วยความเคารพอย่างสูง อาฬสา (ตุ๊ก)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท