KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 139. ทำ KM แบบหกคะเมนตีลังกา


ทำ KM ไม่มีพลัง เพราะยึดมั่นถือมั่นในรูปแบบ KM

         พอมีประสบการณ์ได้ระยะหนึ่ง      สคส. เราพบว่าหน่วยงานที่ตั้งอกตั้งใจทำ KM แบบสุดสุด กลับทำ KM ไม่ถึงไหน     คล้ายๆ กับโดนรูปแบบ KM มันตรึงเอาไว้    เดินไม่ออก     ติดรูปแบบ ว่างั้นเถอะ

         ทำ KM ไม่มีพลัง  เพราะยึดมั่นถือมั่นในรูปแบบ KM

         เมื่อ พศ. ๒๕๐๓ ท่านพุทธทาสมาปาฐกถาที่จุฬา ว่าคนเข้าไม่ถึงธรรมะ  เพราะยึดติดพระพุทธเจ้า     เป็นที่ฮือฮากันทั่วเมืองไทย      แต่จริงๆ แล้วนี่คือสัจจธรรมนะครับ     เรายึดมั่นถือมั่นสิ่งใด หรือคนใด  เราจะเข้าไม่ถึงสิ่งนั้น หรือคนนั้น     ย้ำคำว่า "เข้าถึง" ว่าเป็นการเข้าถึงในมิติที่ลึกนะครับ

         ไม่ว่าทำอะไร  เราตกอยู่ในภพภูมิของความผิวเผินกันทั้งโลก    มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่คน แล้วแต่กรณี (ตัวผมก็ไม่เว้น)     สาเหตุของความผิวเผิน มีมากมาย     สาเหตุหนึ่งคือยึดมั่นในรูปแบบมากเกินไป

         ในประสบการณ์ของเรา     หน่วยงานที่ทำ KM ได้ผลดีมาก มักทำแบบ "หกคะเมนตีลังกา"     คือไม่ยึดติดรูปแบบมากเกินไป

         รูปแบบการจัด Workshop KM โดยทั่วไปเราเริ่มจากเรื่องเล่า     สกัด KA จากเรื่องเล่า     เอา KA มาสังเคราะห์เป็น Core Competence (ในการทำงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง)     แต่บางหน่วยงานเขาเก่ง     ทีมแกนนำเขากำหนด Core Competence ของการทำงานหลักของหน่วยงานไว้เลย      แล้วจัดเวทีให้คนมาเล่าเรื่องความสำเร็จตามแต่ละ Competence     วิธีนี้ทำให้ KM แนบแน่นเข้าไปในงานประจำทันที โดยไม่ต้องเอ่ยเรื่อง "KM ต้องเนียนอยู่ในเนื้องาน" เลย

        ใครมีประสบการณ์ทำ KM แบบหกคะเมนตีลังกา      โปรดนำมา ลปรร. ด้วยครับ

วิจารณ์ พานิช
๙ สค. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 45975เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2006 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ผมก็เคยทำอยู่หลายครั้งเหมือนกันครับ แต่ไม่รู้จะเรียกว่าหกคะเมนตีลังกาหรือเปล่าครับอาจารย์หมอ
  • จากสาเหตุที่ต้องทำแบบนี้ก็เพราะว่า ปัญหาเดิม ๆ ของข้าราชการไทยครับ ที่อบรมอะไรแล้วก็ชอบลงชื่อแล้วหาย โดยเฉพาะถ้าอบรมในสำนักงาน
  • บางหน่วยงานก็เลยต้องไปจัดไกล ๆ ซึ่งเปลืองเงินเปลืองงบประมาณมาก ๆ ครับ
  • ผมก็เลยวางแผนการณ์กับท่านสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์คนก่อน (คุณจารุวรรณ นันทพงษ์) ว่าจะแก้ไขแบบที่ประชิดตัวเลยครับ
  • ก็คือ หลังจากที่ที่มงานส่งเสริมสหกรณ์ไปทำงานกับชุมชนเรื่องต่าง ๆ มาแล้ว ผมก็จะให้มีการจัดการสรุปงานและสังเคราะห์ความรู้ที่ได้ทุกครั้ง
  • โดยให้ทีมงานที่ออกมานั่งคุยกันในห้องทำงานเขาเลยครับ ยกบอร์ดขึ้นไป เตรียมกระดาษขึ้นไปบนตึก บนห้องทำงาน แล้วก็ทำการจัดการความรู้ที่ได้กันเลย
  • คนที่ทำงานในนั้นก็แรกก็งง ๆ ครับ
  • แต่ลองสังเกตดู เขาก็ฟังไปกับเราด้วย
  • พอซักพักนึงเขาก็เริ่มเข้ามาในเวทีกับเราทำให้เวทีใหญ่ขึ้น ๆ ครับ โดยเฉพาะผู้บริหารหรือหัวหน้าฝ่ายที่นั่งอยู่ในห้องนั้น
  • เป็นเทคนิคที่ไม่ต้องลงทุนค่าเช่าห้อง ไม่มีค่าเบรคครับ เสียค่ากระดาษสามสี่แผ่น ก็ประมาณสิบบาทถึงยี่สิบบาทครับ
  • ทำกันประจำครั้งละ ครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วครับ หลังจากออกไปชุมชนกันมาแล้วครับ
  • ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
  • ขออภัยครับ มีเพิ่มเติมนิดหน่อยครับ
  • คือ ส่วนแรกที่ผมเน้นให้ทำกันมาก ๆ ก็คือเรื่องของ "การวางแผนก่อนลงชุมชน"
  • โดยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์มาประชุมวางแผนกันก่อนครับ
  • หลักที่สำคัญก็คือจัดการความรู้เรื่องเวทีก่อน ๆ ว่ามีปัญหาอะไรบ้างแล้วก็จะแก้ไขกันในเวทีหน้าอย่างไร
  • เช่นเรื่องเล็ก ๆ เรื่องของการถ่ายรูป บางครั้งก็ไม่ได้บอกกันไว้ก่อนว่าต้องการได้รูปอย่างไร พอกลับมาถึงสำนักงาน ก็บ่นกันว่าอยากได้รูปแบบนั้นแบบนี้ ก็เลยต้องมีการวางแผนกันก่อนครับว่าต้องการรูปแบบไหน เพื่อจะไปทำอะไรบ้าง
  • โดยใช้เทคนิคเดิมครับ จัดประชุมกันในห้องทำงานเลย คนอื่นจะได้รับรู้ ได้ฟังได้ยินด้วยครับ
  • ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท