ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร


ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารและระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารและระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

             บทบาทของการศึกษาที่จะนำไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืนนั้น จะเห็นได้ว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาคนและคนก็จะเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการเมือง  การพัฒนาทั้ง  4  ประการนี้จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศได้

                สารสนเทศ  (Information)  หมายถึง  ข่าวสารที่ได้จากการนำ  ข้อมูลดิบ  (raw data)  มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามาถนำไปใช้งานได้ทันที

                เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information Technology)   หมายถึงกระบวนการต่าง ๆและระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง

                  1.  เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ หมายถึง  เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่าง ๆ  รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน

                    2.  กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ  ข้างต้นมาใช้งาน รวมทั้งข้อมูลจัดเก็บประมวลผล  และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ  ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

                เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบันประกอบด้วย

  • ระบบประมวลผลข้อมูล  (Data Processing System)
  • ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management  Information  System)
  • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  (Decision  Support  System)
  • ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive  Information  System)
  • ระบบผู้เชี่ยวชาญ  (Expert  Systems)

 

สารสนเทศกับการตัดสินใจ 

                ในองค์การต่าง ๆ สามารถแบ่งการทำงานของผู้บริหารได้  4  ระดับด้วยกันคือ

                  1.  ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว  (strartegic  planning)

                  2.  ระดับวางแผนการบริหาร  (tactical  planning)

                  3.  ระดับวางแผนปฏิบัติการ  (operation  planning)

                  4.  ระดับปฏิบัติการ  (Operation)

 บทบาท  ICT  กับการวางแผนการบริหาร

                 ระดับการวางแผนการบริหารงาน บุคลากรในระดับนี้จะเป็นผู้บริหารระดับกลาง  ซึ่งทำหน้าที่วางแผนให้บรรลุเป้าหมายต่าง ๆ  เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จตามแผนงานระยะยาวตามที่กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง  มักจะเป็นสารสนเทศตามคาบเวลาซึ่งมีระยะเวลานานกว่าผู้บริหารขั้นต้น  และจะเป็นสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เช่น  คู่แข่งหรือของตลาดโดยรวมเป็นต้น  นอกจากนี้แล้ว  ผู้บริหารระดับนี้ยังต้องการระบบที่ให้รายงานการวิเคราะห์แบบ ถ้า – แล้ว (What –IF)  นั่นคือสามารถทดสอบได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว ตัวเลขหรือสารสนเทศต่าง ๆ  จะเปลี่ยนเป็นเช่นไร เพื่อให้จำลองสถานการณ์  ต่าง ๆ ที่ต้องการได้  ตัวอย่างเช่น  ผู้จัดการฝ่ายขายอาจต้องการทราบผลการขายประจำปีของบริษัทเทียบคู่แข่งต่าง ๆ  รวมทั้งอาจจะต้องทดสอบว่าถ้าเพิ่มหรือลดลงโฆษณาในสื่อต่าง ๆ จะมีผลกระทบต่อยอดขายหรือไม่อย่างไรบ้าง

บทบาท ICT  กับการบริหาร

                 สารสนเทศเพื่อการบริหาร  (Management Information System ) หรือ MIS คือระบบบริหารที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ  เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้งสารสนเทศจากภายในและภายนอก  สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรในอดีตและปัจจุบัน  รวมทั้งคาดว่าจะเป็นอนาคตนอกจากนี้ระบบ  MIS  จะต้องให้สารสนเทศภายในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์เพื่อให้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม  และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

                แม้ว่าผู้บริหารที่ได้รับประโยชน์จากระบบ MIS  สูงสุดคือ ผู้บริหารระดับกลาง  แต่โดยพื้นฐานของระบบ  MIS  แล้ว จะเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารทั้ง  3 ระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น  ผู้บริหารระดับกลาง  และผู้บริหารระดับสูง  โดยระบบ  MIS  จะให้รายงานที่สรุปสารนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท  จุดประสงค์ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้มและภาพรวมขององค์กรในปัจจุบัน  รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบผลงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี  ขอบเขตของรายงานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของสารสนเทศและจุดประสงค์ในการใช้งาน  โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา  รายงายตัวตามต้องการ  หรือรายงานตามสภาวการณ์หรือเหตุปกติ  ตัวอย่างรายงานที่ออกโดยระบบ  MIS  เช่น  การวิเคราะห์การขายแยกตามพื้นที่  การวิเคราะห์ต้นทุน  งบประมาณประจำปี  การวิเคราะห์การลงทุน  และตารางการผลิตเป็นต้น

 บทบาท ICT  เพื่อการบริหารให้ประโยชน์อะไร

          ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารเอื้อต่อการบริหารสถานศึกษา และการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา  คือ

              1.  ทำให้การบริหารจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

              2.  ประหยัดเวลาที่ต้องใช้ในการคัดลอก หรือกรอกข้อมูลลงในแบบสอบถาม หรือจัดทำเป็นเอกสารเพื่อการนำเสนอ  ซึ่งมิใช่งานสอน  ช่วยให้ครู อาจารย์มีเวลาเตรียมการสอนและพัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

              3.  บุคลากรที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลทำงานในส่วนที่รับผิดชอบเท่าเดิม

              4.  ช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากการคำนวณ  เช่น การวัดประเมินผลการเรียนของนักเรียน  งานการเงิน  พัสดุ  เป็นต้น

              5.  ได้ข้อมูลที่มีความเป็นปัจจุบันสูงโดยไม่ตอ้งเพิ่มบุคลากรหรือส่วนงาน

              6.  ทำให้การตรวจสอบติดตาม  และประเมินผล  ทำได้ทั้งในระดับผู้บริหารในโรงเรียนและผู้บริหารระดับสูง ทังในส่วนท้องถิ่นและส่วนกลาง

 โดยสรุป

                 การจัดการศึกษายุดของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ใหม่และเปลี่ยนแปลงความต้องการในการศึกษาในอนาคต  สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศแบบใหม่เข้ามามีบทบาทและแทนทีสื่อแบบเก่า  แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้จะเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษาแบบใหม่  ซึ่งก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้น  ปรับปรุงโครงสร้างทั้งระบบใหม่โดยเฉพาะการบริหารการบริการการพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา  ซึ่งจากเดิมสถาบันการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบมาเป็นสังคมและชุมชนร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้นในปัจจุบันนี้

หมายเลขบันทึก: 459712เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2011 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หายไปนานครับ ไม่เห็นเพิ่มเติม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท