ศีลธรรม คือ กฎที่ "อนุโลมตามค่านิยม" ของสังคม ณ เวลา นั้น และสถานที่นั้น เพื่อทำให้สังคม ณ เวลานั้นและสถานที่นั้นอยูกันได้อย่างสงบสันติ ไม่ต้องรบกัน ..ดังนั้นสังคมมี"จริต" อย่างไร สังคมก็อนุโลมตามนั้น
ศีลธรรมและจริยธรรม มีความหมายคล้ายกัน มักกำหนดเป็น "ข้อห้าม" เช่น ศีลห้า ก็ห้ามห้าข้อ
เช่น บางสังคมมีค่านิยมว่า กินข้าวเสร็จห้ามเรอ ใครเรอ ถือว่าเสียมารยาท แต่อีกสังคมนิยมว่าถ้าใครออกเสียงเรอ แสดงว่าเป็นการให้การคารวะต่อผู้ปรุงอาหาร (กินอิ่มเพราะอร่อยจนเรอ)
บางสังคมบอกว่า ห้ามเดินเสียงดัง (มารยาทผู้ดีของสังคมตะวันออก) บางสังคมบอกว่านั่นเป็นการแอบ ต้องเดินเสียงดังสิ จึงจะดี เพื่อแสดงตนว่า"มาแล้ว"อย่างโปร่งใส ไม่ต้องแอบ (สังคมฝรั่งส่วนใหญ่เป็นเช่นนี)
บางสังคมผู้ชายมีเมียได้หลายคน (เช่น มุสลิม และไทยในอดีต) แต่บางสังคมตรงข้ามกลับอนุญาตให้ผู้หญิงมีผัวได้หลายคน (เช่น ลาดัค ..ชาวพุทธ เทือกเขาหิมาลัย)
ศีละธรรม มันบ่ แน่ดอกหนา
เปลียนตามค่า นิยม แห่งกระแส
เกิดแก่เจ็บ และตาย นี่สิแน่
ทุกข์ของแท้ แม้เว ลาล่วงเลยฯ
..คนถางทาง (๒๕๕๔)
--
--------------------------------------------
ใฝ่รู้ ใฝ่คิด ใฝ่ดี คือวิถีของปัญญาชน
--------------------------------------------ทวิช จิตรสมบูรณ์