"การนวดน้ำมัน.. สำหรับเด็กสมองพิการ"


ข้อมูลที่ได้มาจาก โครงการอบรมทักษะการนวดน้ำมันสำหรับเด็กสมองพิการ ที่จัดที่รพ.สูงเนินเมื่อ ๑๕-๑๗ ส.ค.๕๔

ตำแหน่งจุดและแนวนวดส่วนลำตัว


ด้านหลังมีข้างละ ๒ แนว
แนวที่ ๑ อยู่ห่างกระดูกสันหลัง ๑ นิ้วมือ เริ่มที่กระเบนเหน็บสิ้นสุดระดับกลางสะบัก
แนวที่ ๒ อยู่ห่างแนว ๑ ประมาณ ๑ นิ้วมือ เริ่มที่กระเบนเหน็บสิ้นสุดระดับกลางสะบักแนวเกลียวข้าง อยู่ห่างขอบกระดูกเชิงกรานด้านหลังของลำตัว เริ่มต้นจากเอวไปตามข้างขอบกระดูกเชิงกราน สิ้นสุดห่างกระดูกสันหลัง ๒ นิ้วมือ

ด้านหน้า
แนวร่องระหว่างซี่โครงช่องอกมีประมาณ ๓ แนว
- จุดรากขวัญ
- แนวข้างขอบกระดูกเชิงกรานด้านหน้า บริเวณท้องส่วนล่าง
วิธีนวด
นวดส่วนลำตัว (ด้านหลัง) เด็กอยู่ในท่านอนตะแคง
1. นวดแนวข้างกระดูกสันหลัง ๑ โดยผู้นวดนั่งอยู่ด้านหลังของเด็กและหันหน้าเข้าหาเด็ก ผู้นวดเอามือวางลงบนด้านข้างลำตัวของเด็ก ใช้นิ้วชี้ผู้นวดอยู่ระดับเอวเด็ก และนิ้วโป้งผู้นวดอยู่ที่จุดเริ่มต้นของแนว ๑ แล้วกดลงน้ำหนักเล็กน้อยไปตามแนวหลัง ๑
2. นวดแนวข้างกระดูกสันหลัง ๒ วิธีเช่นเดียวกับแนวหลัง ๑
3. นวดแนวเกลียวข้าง ผู้นวดหันหน้าเฉียงลงในทางปลายเท้าเด็กเล็กน้อย ผู้นวดใช้นิ้วโป้งของมือด้านนอกวางที่จุดเริ่มต้น แนวเกลียวข้าง แล้วใช้นิ้วโป้งของมือที่อยู่ด้านใน วางซ้อนแล้วกดลงน้ำหนักเล็กน้อย ตามแนวเกลียวข้าง
จากนั้นผู้นวดใช้นิ้วมือทั้ง ๕ ลูบหลังให้ทั่วๆในท่าเด็กนอนคว่ำ ผู้นวดนั่งด้านข้างของเด็ก หันหน้าขึ้นทางศีรษะของเด็ก
4. ส่วงลูบส่วนลำตัว (ด้านหลัง)
ขั้นที่ ๑ ใช้นิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย ของมือทั้ง ๒ ข้างลูบบนแนวข้างของกระดูกสันหลัง ๑ และ ๒ ในคราวเดียว ในทิศทางลูบจากเอวขึ้นไปข้างสะบักโดย ลูบหลังด้านข้างซ้ายและขวาพร้อมกัน
ขั้นที่ ๒ ผู้นวดเอามือทั้ง ๒ ข้างวางจับข้างลำตัวเด็กให้นิ้วโป้งซ้ายและขวา วางบนแนวหลังทั้งข้างซ้ายและขวาของเด็ก แล้วใช้นิ้วโป้งทั้ง ๒ ข้างลูบแยกออกจากกันในแนวขวางลำตัว ลูบจนทั่วหลังของเด็ก

ในเด็กที่ลำตัวมีอาการอ่อน

ให้นวดส่วนลำตัวด้านหลัง โดยใช้การลูบ ๒ วิธีหลังนี้

นวดส่วนลำตัว (ด้านหน้า) เด็กอยู่ในท่านอนหงาย กางแขนออกประมาณ 70-80 องศา นวดแนวร่องกระดูกซี่โครงช่องอก ผู้นวดนั่งด้านข้างของเด็กหันหน้าไปทางศีรษะของเด็ก ใช้นิ้วที่ไม่ใหญ่กว่าร่องซี่โครงของเด็ก วางที่แนวร่องซี่โครงของเด็กแล้วค่อยๆลงน้ำหนักช้าๆเพียงเล็กน้อย จนครบทุกแนว จากนั้นผู้นวดใช้นิ้วทั้ง ๕ ลูบลำตัวด้านหน้าให้ทั่วๆโดยใช้วิธีเช่นเดียวกับการลูบส่วนหลังที่ ๒ ขั้นตอน

กดจุดรากขวัญ โดยเด็กนอนหงายกางแขน 80-90 องศา ผู้นวดนั่งคุกเข่าอยู่ด้านข้างศีรษะของเด็ก หันหน้าลงไปทางปลายเท้า มือหนึ่งจับแขนหรือข้อมือเด็กไว้ (เพื่อให้ปลอดภัยจากการเปลี่ยนท่าของเด็กอย่างกระทันหัน) นิ้วโป้งของมืออีกข้างวางที่ตำแหน่งจุดรากขวัญ แล้วกดลงน้ำหนัก ทิศทางของแรงที่กด (แขน) ทำมุม 90 องศากับลำตัวของเด็ก ต้องกดโดยระมัดระวัง เพราะอยู่ใกล้กระดูกไหปลาร้า กระดูกข้อไหล่ และกระดูกซี่โครง

กดแนวขอบกระดูกเชิงกรานด้านหน้า เด็กอยู่ในท่านอนหงาย
ผู้นวดนั่งด้านข้างลำตัวเด็ก หันหน้าเฉียงขึ้นทางศีรษะเด็กประมาณ 45 องศา ผู้นวดใช้มือที่อยู่ด้านใน (ข้างที่ใกล้ลำตัวเด็ก) เป็นตัววางมือที่อยู่ด้านนอกเป็นตัวกด ค่อยๆลงน้ำหนักอย่างนุ่มนวลไปตามแนวขอบกระดูกเชิงกรานด้านหน้า แนวนี้ต้องไม่กดบนกระดูกเชิงกราน หรือชิดกระดูกเชิงกรานมากเกินไป ลงน้ำหนักต้องค่อยๆลงน้ำหนักอย่างนุ่มนวลจริงๆ เพราะอาจทำให้เด็กเกร็งขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำใก้เด็กไม่ไว้วางใ

ลองแวะเข้าไปดูบรรยากาศวันอบรมค่ะ

http://www.gotoknow.org/blog/kunrapee/457312

หมายเลขบันทึก: 458709เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2011 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

พร้อมกับมาเรียนรู้ในบันทึกนี้นะคะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

มาเร็วจนตั้งตัวไม่ติดเลยค่ะ

น้อง "ต้นเฟิร์น" ขอบคุณมากค่าาาา

มาตามเก็บไว้ในแฟ้มความรู้คะ

ตอนนี้ยังไม่มีเด็กให้นวด ;-)

รบกวนถาม

ในเด็กปกติ การนวดแบบนี้จะให้ผลดีอะไรบ้างไหมคะ

เด็กจะไม่รู้สึกเจ็บค่ะ ช่วยผ่อนคลาย..

ไม่เหมือนการนวดทั่วไป.. หลังนวดจะระบม..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท