" 29 ส.ค. 2554... สอนเรื่องปฏิกิริยาเคมี ชั้น ม. 4/3


" ปฏิกิริยาเคมี คือ กระบวนการที่สารเกิดการเปลี่ยนแปลงและทำให้สมบัติของสารนั้นเปลี่ยนไปจากเดิม"

             หลังจากที่ปิดโรงเรียนไปนานเป็นสองอาทิตย์ (จะมาโรงเรียนหางดงไม่ถูกอยู่แล้ว)  นักเรียน รด ที่กลับมาจากค่ายหน้าตาแต่ละคนเกือบจะจำไม่ได้ ดำหมดเลย นักเรียนแต่ละคนสดใสกันดี แต่คุยกันมากไปหน่อย สงสัยไม่เจอกันมานาน

             วันนี้มีสอนตั้งแต่เช้าเลย สอนนักเรียนชั้น ม. 4/4 และวันนี้อาจารย์ถาวรก็มานิเทศรอบ 2 ด้วย

             เรื่องที่สอน : ปฏิกิริยาเคมี

เนื้อหา        - การเกิดปฏิกิริยา

                 - พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี

                 - ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมการเรียนการสอน

1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

           -   ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องปฏิกิริยาเคมี 15 ข้อ 20 นาที

           -    ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับความหมายและพลังงานที่เกี่ยวข้องการเกิดปฏิกิริยาเคมี

2. ขั้นสำรวจและค้นหา

           -    ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 8 กลุ่ม ๆ เท่า ๆ กัน

           -    แจกใบความรู้ให้แต่ละกลุ่ม ๆ ละหนึ่งหัวข้อ ดังนี้

                ใบความรู้เรื่อง ปฏิกิริยาการเผาไหม้เชื้อเพลิง
                ใบความรู้เรื่อง ปฏิกิริยาการเกิดฝนกรด
                ใบความรู้เรื่อง ปฏิกิริยาการสลายตัวของแคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) 
                ใบความรู้เรื่อง ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็ก
                ใบความรู้เรื่อง ปฏิกิริยาน้ำอัดลม
                ใบความรู้เรื่อง ปฏิกิริยาของผงฟู
                ใบความรู้เรื่อง ปฏิกิริยาของดอกไม้ไฟ
                ใบความรู้เรื่อง ปฏิกิริยาการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซ์

3. ขั้นอธิบายและสรุปผล

    ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มหรือแต่ละเรื่องออกมานำเสนอผลการศึกษาให้เพื่อนกลุ่มอื่น ๆ ฟัง และมีแบบประเมินให้ผู้เรียนเสนอ

4. ขั้นขยายความรู้

    ให้นักเรียนทำใบกิจกรรมที่ 3.1 เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี และไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

5. ขั้นประเมินผล

    ประเมินนักเรียนโดยการตรวจ ใบกิจกรรมที่ 3.1 เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี

ปัญหาที่พบ : นักเรียนบางกลุ่มไม่ให้ความร่วมมือ และไม่มีความสามัคคีกันภายในกลุ่ม ยังเสียงดัง ไม่ค่อยฟังเพื่อน

วิธีการแก้ไขปัญหา : มีคำถาม ถามนักเรียนเป็นรายบุคคลหลังจากที่เพื่อนนำเสนอเส็จเรียบร้อยแล้ว

คำแนะนำของอาจารย์ถาวร : ให้ยกตัวอย่าง ปฏิกิริยาที่ให้พลังงานไฟฟ้าออกมา เช่น ถ่านไฟฉาย  แบตเตอรี่ เป็นต้น  เขียนกราฟพลังงานการดูดและคายความร้อนแบบใหม่

             ในการนิเทศครั้งนี้ก็ได้รับคำชมจากอาจารย์ว่าการสอนดีขึ้นมาก มีการเขียนกระดานมากขึ้นและกระตุ้นให้นักเรียนสนใจเรียนมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 458630เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2011 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท