กัมพูชา : สงครามตัวแทนระหว่างฝ่ายเสรีนิยมกับฝ่ายคอมมูนิสต์


ปัญหากัมพูชา คือภาพของสงครามตัวแทนระหว่างฝ่ายเสรีนิยมกับฝ่ายคอมมูนิสต์ในภาวะสงครามเย็น อีกทั้งยังแสดงถึงความสัมพันของสงครามเวียตนามและสงครามภายในเขมรอีกด้วย

              นับจากปี .ศ. 1953 กัมพูชาเป็นประเทศเอกราช จัดรูปแบบการปกครองแบบ กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ โดยมี เจ้านโรดม สีหนุ เป็นผู้นำในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อกัตริย์สิ้นพระชนม์ สีหนุ จึงดำดงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐในปี ค.ศ.1960 เป็นต้นไป

               สีหนุดำเนินนโยบายต่างประเทศเป็นกลาง แต่ก็โน้มเข้าหาฝ่ายคอมมิวนิสต์ เนื่งอจากมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศจีนคอมมูนิสต์ รัฐบาลสีหนุมีความขัดแย้งกับฝ่ายโลกเสรีบ่อยครั้ง เช่นรัฐบาลไทยและอเมริกา

               กลางทศวรรษที่ 1960 ภาวะสงครามเย็นมีความรุนแรงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในเวียดนาม รัฐบาลกัมพูชาถูร้องขอจากฝ่ายเวียดนามเหนือขอให้กองทัพเวียดมินด์และเวียดกงใช้ดินแดนกัมพูชาเป็นเส้นทางลำเรียงยุทธปัจจัย กัมพูชาจึงตกเป็นเป้าที่เวียดนามใต้เข้าโจมตี  สีหนุจึงเจรจากับรีนคอมมูนิตส์และสหประชาชาติให้มีการถอนทหารทั้งเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ออกจากกัมพูชา แต่การเจรจาไม่เป็นผล

                ปี ค.ศ. 1970 นายพลลอนนอลอยู่กลุ่มฝ่ายขวาทำรัฐประหารขับไล่สีหนุออกจากตำแหน่ง รัฐบาลลอนนอลดำเนินนโยบายเป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ เรียกร้องให้เวียดนามเหนือถอนกำลังออกไป เมื่อได้รับการปฏิเสธ สงครามจึงเกิดขึ้น อเมริกาหนุนเวียดนามใต้ทั้งการเงินและการทหาร ส่งกำลังทำลายฐานที่มั่นของเวียดนามเหนือในกัมพูชาอย่างหนัก มีการกวดล้างพวกคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา กรุงพนมเปญเกิดความวุ่นวาย สีหนุหลบหนีจากกัมพูชาไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น โดยได้รับการสนับสนุนจากเขมรแดง ประกาศจัดตั้งแนวร่วมแห่งชาติของกัมพูชาในเดือนตุลาคม ค.ศ.1960  ทำการต่อต้านรัฐบาลของนายพลลอนนอล สร้างความไม่พอใจให้กับเวียนดาม

              มี.ค. 1979 เวียดนามเหนือเข้ายึดกรุงพนมเปญ ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐแห่งประชาชนกัมพูชา โดยมีนายเฮง สัมริน ดำรงตำแหน่งประธานสภาปฏิวัติ เวียดนามเหนือให้เหตุผลว่า เขมรแดงจะสังหารชาวกัมพูชามากกว่าที่เป็นอยู่ และเพื่อช่วยเหลือรัฐบาลเฮง สัมริน และเวียดนามจะถอนทหารจากกัมพูชาเมื่อภัยจากจีนสิ้นสุดลง การที่เวียดนามมีอิทธิพลเหนือกัมพูชานี้เรียกว่า “ปัญหากัมพูชา”  รัฐบาลเฮง สัมริน ถูกต่อต้านจากชาวกัมพูชาหลายกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มเขมรแดง ซึ่งได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้น โดยสีหนุเป็นประธานาธิบดี เขียว สัมพัน เป็นรองประธานาธิบดี และซอนซาน เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีอเมริกาแลประเทศฝ่ายโลกเสรีให้การสนับสนุน และให้มีที่นั่งในองค์การสหประชาชาติอีกด้วย การสู้รบของรัฐบาลพลัดถิ่นกับรัฐบาลของเฮง สัมริน มีมาตลอด เป็นปัญหากระทบกับหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศไทย มีการแก้ปัญหาในระดับนานาชาติ

 

แนวทางการแก้ไขปัญหาของสหประชาชาติ 

              ความคลี่คลายของปัญหากัมพูชาเกิดขึ้นเมื่อรัสเซียฟื้นความสัมพันธ์กับจีน รัสเซียดำเนินตามการเรียกร้องของจีน คือการถอนทหารออกจากอาฟกันนิสถาน ลดกำลังทหารที่ประชิดชายแดนจีน จีนจะมาสนับสนุนเวียดนามเหนือ

               การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของอเมริกาที่มีต่อกัมพูชาในปี 1990  เจมส์ เบเกอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศของอเมริกาได้แถลงที่กรุงปารีสว่า อเมริกาเตรียมพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับที่นั่งของกัมพูชาในองค์กรสหประชาชาติ และจะเจรจากับเวียดนามเพื่อยุติสงครามในกัมพูชา

              ผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยคือ มีผู้อพยพเพื่อหนีเหตุการณ์ความไม่สงบในกัมพูชาเข้ามาในประเทศไทยมากมาย เกิดปัญหาเช่น ไทยต้องความช่วยเหลือ ให้ที่พักพิง และเกิดความขัดแย้งระหว่างชายแดนตลอดเวลาที่เกิดสงคราม

 

วาทิน ศานติ์ สัีนติ : เรียบเรียง

 

หนังสือประกอบการเขียน

น้ำเงิน บุญเปี่ยม. โลกร่วมสมัย = Contemporary world : HI 405. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542.

ศิวพร ชัยประสิทธิกุล. เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังการเข้ามาของชาติตะวันตกถึงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 = History of Southeast Asia from the coming of the west to the end of World War II : HI 334. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2530.

หมายเลขบันทึก: 458412เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท